กางแผน ‘AIS Business’ 2023 กับการเป็นดิจิทัลพาร์ทเนอร์ ‘ตัวช่วย’ ให้องค์กร “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน”


ในช่วง 3 ปีที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายองค์กรเริ่มจะทำ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อสร้างการเติบโตและโอกาสทางการแข่งขันของธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ AIS โดยกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรอย่าง AIS Business ได้พิสูจน์ตัวเอง จนได้รับการยอมรับเป็นอันดับ 1 ในการให้บริการด้าน IT Solution & System Integrator (SI) ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่าย

ทำให้ที่ผ่านมา AIS Business ได้เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญให้หลายองค์กรในการวางระบบดิจิทัลเทคโนโลยี การทำทรานฟอร์มเมชันองค์กรต่างๆ จนกระทั่งหลายธุรกิจเริ่มเห็นภาพและเปิดใจที่จะนำความสามารถของดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าไปช่วยยกระดับกระบวนการทำงาน

และในปีนี้ AIS Business ก็ได้ออกมาฉายเทรนด์ และแนวทางการทำงานซึ่งเป็น Post Covid ที่องค์กรต่างมองหาโอกาสในการกลับมาเติบโตอีกครั้ง


ความไว้ใจ คือสิ่งที่ลูกค้ามองหา

แม้การระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันจะไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมาแล้ว แต่การทำงานที่ยืดหยุ่น สามารถทำงานที่ไหนก็ได้กลายเป็นเรื่องพื้นฐานของหลายองค์กร ดังนั้น สิ่งที่ เอไอเอส เห็นก็คือ องค์กรต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่มีความพร้อม เพราะองค์กรตระหนักถึง ความปลอดภัย มากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงเรื่องข้อมูลรั่วไหลที่มีมากตามมา

ดังนั้น วิสัยทัศน์ของเอไอเอสยังไม่เปลี่ยนแปลงคือเป็น Most Trusted ให้กับลูกค้า และต้อง ไปด้วยกัน หรือเป็น Partnership เพื่อสร้างการเติบโตภายใต้แนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” (Growth-Trust-Sustainability) ผ่าน 5 กลยุทธ์ ในการสร้าง Digital Business Ecosystem ให้มีความสมบูรณ์แบบ ได้แก่

  • เชื่อมต่อ5G Ecosystem เพื่อการทำงานของภาคธุรกิจอย่างรอบด้าน
  • ยกระดับการทำงานของโครงข่ายด้วยIntelligent Network
  • มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม
  • เสริมอาวุธด้านการตลาดและเพิ่มโอกาสการเติบโตData-driven Business
  • ส่งมอบบริการด้วยทีมงานมืออาชีพที่ไว้วางใจได้

หนึ่งในจุดแข็งของเอไอเอสที่ใช้สร้างความเชื่อใจ คือ บริการโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นโครงข่าย Data Center, Intelligent Network, Cloud X Platforms, และ Cyber Security ที่สอดรับกับกฎระเบียบของการใช้งานและเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงข้อบังคับของประเทศไทยด้วย

“Position เราคือพาร์ทเนอร์ช่วยเรื่องดิจิทัลทรานซ์ฟอร์มของลูกค้า ไม่ใช่ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ดังนั้น เราจะมีการคุยกับลูกค้าตั้งแต่ต้นว่าอยากได้อะไร แล้วเราจะไปทำการบ้านเพื่อสร้างโซลูชั่นมารองรับ แต่การจะเป็นพาร์ทเนอร์กับใคร ความเชื่อใจเป็นสิ่งสำคัญ เรายังเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูล” นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ย้ำ

 

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS


พร้อมเป็น One Stop Service ให้พาร์ทเนอร์

ปัจจุบัน องค์กรต้องการบริการแบบ One Stop Service ซึ่งสอดคล้องกับเอไอเอสที่เชื่อว่า ไม่มี One size fits all แต่ต้องพร้อมช่วยสร้างโซลูชันใหม่ ๆ เฉพาะอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น Smart Manufacturing, Smart Transportation & Logistics, Smart City & Building, และ Smart Retail ซึ่งเอไอเอสก็สามารถตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าด้วยการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ Data Insight & Lifestyle as a Service ซึ่งเอไอเอสช่วยวางแผนตั้งแต่เริ่ม

นอกจากนี้ 5G ก็ถือเป็นอีกโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการแข่งขัน เพราะปัจจุบันเรื่อง Data, AI กลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่ลูกค้าต้องการใช้งาน และโจทย์ของลูกค้ามีแต่ยากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสิ่งที่สร้างความแตกต่างของเอไอเอสก็คือ 5G ที่ไม่ใช่เน็ตเวิร์กแต่เป็นแพลตฟอร์ม AIS 5G NEXTGen ที่เอไอเอสพัฒนาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งลูกค้าสามารถจะลงแอปพลิเคชั่นได้เลย

“เราไม่ได้เล่นในระดับแอปพลิเคชั่น แต่เล่นในระดับ Infrastructure ดังนั้น 5G ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้คุยกันเรื่องครอบคลุมไม่ครอบคลุมอีกต่อไป แต่วัดกันที่เรื่องคุณภาพ เนื่องจากองค์กรต้องการความเสถียร ความยืดหยุ่น และต้องเรียลไทม์ เพราะตอนนี้การแข่งขันเฉือนกันที่ข้อมูล”


Sustainability อีกเทรนด์ที่หลายองค์กรต้องการไป

เรื่อง ความยั่งยืน (Sustainability) กลายเป็นสิ่งที่เอนเตอร์ไพรซ์ให้ความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น ส่วนนี้จะเป็นอีกสิ่งที่เอไอเอสจะให้ความสำคัญครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยสามารถพัฒนาโซลูชั่นตั้งแต่ระดับ เก็บข้อมูล, รีพอร์ต และบริหารจัดการพลังงาน

“ที่ผ่านมาเราเคยทำงานร่วมกับ SCG ในการนำ 5G มาใช้คุมรถอีวีในเหมืองโดยไม่ใช้คน ดังนั้น นี่ไม่ใช่แค่ช่วยเรื่องความยั่งยืนแต่ช่วยเรื่องความปลอดภัย และยังเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างให้กับ SCG ในการดำเนินธุรกิจด้วย”


มั่นใจเติบโตกว่าตลาด พร้อมลงทุนต่อเนื่อง

ธนพงษ์ ย้ำว่า เอไอเอสต้องการเป็นผู้ให้บริการ Sustainable Digital Economy ของประเทศไทย ดังนั้น ในแต่ละปีเอไอเอสมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเฉลี่ยนไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท และสำหรับเป้าหมายปีนี้ เอไอเอส บิสซิเนสมั่นใจว่าจะเติบโตได้สูงกว่าตลาด และรักษาตำแหน่งเบอร์ 1 ในตลาด

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่เอไอเอสจะเน้นทำตลาดในปีนี้ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีก (Retail), การผลิต (Manufacturing), โลจิสติกส์ (Transportation & Logistics) และ Smart City แต่อีกอุตสาหกรรมที่เอไอเอสเห็นการเติบโตก็คือ การท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นอีกอุตสาหกรรมที่เอไอเอสจะให้ความสำคัญในปีนี้ นอกจากนี้ กลุ่ม SME ก็เป็นอีกกลุ่มที่เอไอเอสให้ความสนใจที่จะช่วยให้ฟื้นตัวจากผลกระทบในช่วงโควิด

“ที่ลูกค้าเลือกเราเพราะเขามั่นใจและคุยกับเราแล้วจบ นอกจากนี้ เรายังมีฐานลูกค้าคอนซูมเมอร์และพาร์ทเนอร์คอมเมอร์เชียลในมือ เราก็ช่วยจับคู่ให้เขาได้ ทำให้เกิดเป็นอีโคซิสเต็มส์ ดังนั้น เขาเลยรู้สึกว่าการทำงานกับเอไอเอสไม่ใช่การขายของแต่มันเติบโตไปด้วยกัน” ธนพงษ์ ทิ้งท้าย