‘ไต้หวัน’ ตั้งเป้าดึงแรงงานต่างชาติกว่า ‘4 แสนคน’ เข้าประเทศภายในปี 2573 หลังเจอปัญหาอัตราเกิดต่ำ

ไต้หวัน ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจสำหรับตลาดแรงงานต่างชาติเนื่องจากปัจจุบัน ไต้หวันมีรายได้เฉลี่ยที่สูงกว่าเกาหลี เนื่อจากเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เศรษฐกิจไต้หวันจะเติบโตดี ในขณะที่ประชากรประมาณ 23.4 ล้านคน ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอัตราการเกิดที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้รัฐบาลพยายามจะดึงดูดแรงงานต่างชาติเข้ามามากขึ้น

เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา ไต้หวัน ได้เปิดเผยว่า ต้องการดึงดูดแรงงานต่างชาติ 400,000 คนภายในปี 2573 โดยไต้หวันมองหาแรงงานสำหรับทำงานในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ บล็อกเชน การเงิน และพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยไต้หวันต้องการดึงดูดแรงงานที่มีทักษะในหลายระดับ ตั้งแต่ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับสูง, คนงานด้านเทคนิค รวมถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ 

“การดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูงให้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมของไต้หวันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม”

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยถึงมาตรการดึงดูดว่าจะออกมาในลักษณะใด แต่เมื่อเดือนที่แล้วคณะรัฐมนตรีของไต้หวันได้ อนุมัติร่างแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง 52 ฉบับ เพื่อให้แรงงานต่างชาติสามารถพำนักอาศัยได้ง่ายขึ้น ที่ผ่านมา ไต้หวันค่อนข้าง เข้มงวดกับแรงงานต่างชาติเป็นพิเศษ ขณะที่เหล่านักกศึกษาต่างชาติก็หวังว่าจะทำงานในไต้หวันหลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในไต้หวัน

ปัจจุบัน ไต้หวันมีชาวต่างชาติมากกว่า 5,300 คน ที่จัดอยู่ในประเภทผู้มีความสามารถระดับมืออาชีพมีคุณสมบัติภายใต้วีซ่า 3 ปีและโครงการใบอนุญาตทำงานแบบเปิดที่สร้างขึ้นในปี 2561

หนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ไต้หวัน พยายามจะดึงดูดแรงงานต่างชาตินั้นมาจาก จำนวนประชากรของประเทศลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้แรงงานในประเทศจะเริ่มหดตัว โดยจำนวนประชากรโดยรวมของเกาะ ลดลง 110,674 คนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนการเกิดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์และการเสียชีวิตมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ขณะที่วัยเจริญพันธุ์ของไต้หวันคาดว่าจะ ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในโลกภายในปี 2578 ตามที่สภาพัฒนาแห่งชาติระบุเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ภายในปี 2588 ก็ตาม

ไม่ใช่แค่ไต้หวันที่เจอปัญหาด้านแรงงาน แต่ยังมี ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ซึ่งต่างก็ประสบปัญหาแรงงานในท้องถิ่นหดตัวเนื่องจากอัตราการเกิดต่ำ โดยฮ่องกงเองเพิ่งจะขยายเวลาการพำนักสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเป็น 2 ปี พร้อมเสนอวีซ่าใหม่ 2 ปีแก่ผู้ที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านเหรียญฮ่องกง (318,000 เหรียญสหรัฐ) ต่อปี

“ฉันคิดว่าทุกคนกำลังแข่งขันเพื่อสิ่งเดียวกัน” อลิเซีย การ์เซีย-เฮอร์เรโร หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Natixis Corporate & Investment Banking ในฮ่องกง กล่าว