TrueGS Home Shopping โอ้ พระเจ้า! คิมกำลังมาแทนจอร์จ

โอ้ พระเจ้า! จอร์จ มันยอดมาก ประโยคที่ถูกนำมาหยอกล้อและใช้งานกันแพร่หลาย และเป็นที่รับรู้กันว่า กำลังสื่อถึงความหมายว่า สิ่งเหล่านั้นสุดยอด เป็นเลิศประมาณนั้น

ประโยคนี้หยิบยืมมาจากรายการโฮมช้อปปิ้งทางโทรทัศน์ ถ้าถามว่าแพร่หลายหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่าคนสนใจดูมาก แต่ด้วยการฉายวนซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ทำคนดูจดจำได้ แต่ซื้อสินค้าหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

รายการโฮมช้อปปิ้งที่ดูกันในบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นรายการที่ผลิตในสหรัฐฯ หรือฝั่งยุโรป ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกตลาดด้านนี้ จนภายหลังมีรายการลักษณะเดียวกันจากเอเชีย มีทั้งจากจีน ฮ่องกง และเกาหลี

บริษัททรูวิชั่นส์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก หรือเคเบิลทีวีรายใหญ่ ก็มีช่องรายการโฮมช้อปปิ้งแบบนี้มาฉายให้ดูอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกับฟรีทีวีทั่วไป

ทรูวิชั่นส์ไปเจอความใหม่ในรูปแบบการนำเสนอรายการโฮมช้อปปิ้งของเกาหลี จนสุดท้ายเจรจาร่วมทุนกันเรียบร้อยกับกลุ่ม GS Shop ของเกาหลี ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อทำช่องโฮมช้อปปิ้ง สไตล์เกาหลี ตามเทรนด์ยอดนิยม ในช่อง 11 ของ UBC 

ไพบูลย์ ผู้พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททรู จีเอส จำกัด บอกว่า การเจรจาร่วมทุนกับจีเอสมีการคุยกันมาตั้งแต่  7 ปีที่แล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการต่อ จนถึงเวลานี้ เป็นช่วงที่เหมาะสม ซึ่งทางจีเอสกำลังขยายตลาดในเอเชียมากขึ้น อีกทั้งตลาดโฮมช้อปปิ้งในบ้านเราก็ขยายตัว

เขาบอกว่า ตั้งความหวังไว้ว่าตั้งแต่เปิดช่องโฮมช้อปปิ้งตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงธันวาคม จะมีรายได้ 100 ล้านบาท และในปี 2555 คาดว่าจะสร้างรายได้ 800 ล้านบาท 

จะอธิบายรูปแบบของช่องโฮม ช้อปปิ้งของเกาหลี ด้วยการเปิดเทปรายการก็คงไม่ลึกซึ้ง และไม่ได้ความแปลกตา  ทรูวิชั่นส์เลยพาไปดูและรู้จักกับ จีเอส โฮมช้อปปิ้ง ที่เกาหลี  เพื่อให้ดูระบบการทำงาน และความแตกต่างของรายการประเภทนี้

จีเอส ช้อป เป็นบริษัทในเครือของ LG ที่เดิมทำธุรกิจเรื่องพลังงาน โดยเน้นหนักในเรื่องของน้ำมัน มีธุรกิจปั๊มน้ำมันกระจายอยู่ทั่วเกาหลีและเป็น 1 ใน 3 รายใหญ่ของเกาหลี  

นอกจากนี้ยังมีร้านสะดวกซื้อ GS 25, GS Supermarket Watson  กระจายอยู่ทั่วกรุงโซล เหมือนกับร้าน 7-11 ของซีพีในกรุงเทพฯ  

จีเอส โฮมช้อปปิ้ง เป็นผู้ขายสินค้าในรูปแบบโฮมช้อปปิ้งอันดับหนึ่งของเกาหลี และกำลังขยายออกไปต่างประเทศเช่นจีน อินเดีย และไทย

การผลิตรายการของจีเอสเน้นที่รายการสด โดยออกอากาศสดวันละ 20 ชั่วโมง ที่เหลือ 4 ชั่วโมงเป็นเทป และช่วงเวลาการเปลี่ยนฉาก มีสตูดิโอขนาดใหญ่ 3 ห้อง ใช้เวลาการเปลี่ยนฉากแต่ละช่วงรายการเพียง 1 ชั่วโมง

การขายสินค้าผ่นหน้าจอโทรทัศน์ของเกาหลีนิยมรายการสด เพราะรูปแบบที่ผลิตคือการทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในรายการ

เช่นการขายรองเท้าส้นสูง จะมีพิธีกรที่เป็นกูรูด้านรองเท้า ก็จะมาบรรยายสรรพคุณรองเท้าว่าสุดยอดขนาดไหน และมีคำแนะนำว่ารองเท้าที่กำลังเสนอขายนั้น เข้ากับสไตล์การแต่งตัวแบบไหน ใส่กับอะไรถึงสวย พร้อมๆ กับมีนางแบบขาสวย ยืนโฟสท่าให้เห็นเป็นระยะ

ผู้ชมที่สนใจจะมีส่วนร่วมด้วยการส่ง SMS เข้ามาในรายการ  ซึ่งคำถามจะขึ้นหน้าจอให้ผู้ชม และพิธีกรได้เห็นพร้อมกัน และพิธีกรก็จะตอบคำถามที่ส่งเข้มาอย่างละเอียด  แบบว่าเป็นที่ปรึกษาด้านการแต่งตัวให้กับผู้ซื้อโดยตรง

SMS ที่เข้ามาจึงเป็นการส่งข้อความที่สนใจจริงๆ ของผู้ซื้อ จะไม่มีข้อความประเภท

ลำปาง หนาวมาก หรือ วันนี้พิธีกรยิ้มน้อยไป หรือนางแบบขาสวย ที่นั่นเขาไม่นิยม หรือไม่ก็ถูกทีมงานตัดออกไปก็ได้ 

ความแปลกใหม่ที่ถูกนำมาใส่เข้าไปในรายการก็คือ ยอดการสั่งซื้อ จะมีแถบด้านล่างของจอที่แสดงผลการตอบรับของผู้ชมว่ามีกี่รายที่สนใจสินค้าที่กำลังขายอยู่ และการสั่งซื้อเป็นอย่างไร

นี่เป็นเหตุผลที่ต้องทำเป็นรายการสด เพราะสามารถให้พิธีกรช่วยเชียร์สินค้าได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น หากเห็นสินค้ายอดขายไม่วิ่ง ก็ต้องเร่งปฏิกิริยา หรือใส่ลูกเล่นเพิ่มเข้าไปให้หนัก และอาจจะเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคที่ลังเล ตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น เมื่อเห็นยอดซื้อที่โชว์อยู่บนหน้าจอ

สินค้าที่ถูกนำมาเสนอขายในรายการ ไม่เน้นสินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างแว่นดา อีเกิลอายส์ หรือพวกแอปโดมิไนเซอร์ แต่เป็นสินค้าในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้า เครื่องแต่งการ เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป และแม้แต่อาหารก็มีมาขาย ถ่ายทำรายการออกมาได้ชวนน้ำลายไหลเป็นอย่างมาก 

การขายสินค้าของที่นี่พัฒนาไปถึงขั้นขายประกันผ่านหน้าจอ และล่าสุดก็มีการทดลองขายที่พักอาศัยอย่างคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ 

การออกอากาศของช่อง จีเอส โฮมช้อปปิ้งที่เกาหลีเป็นฟรีทีวี 3 ช่อง และเป็น IPTV อีก 2 ช่อง เรียกว่าขายกันตั้งแต่ลืมตาตื่น จนหลับตานอนเลยทีเดียว 

นอกจากนี้ยังขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และแค็ตตาล็อก ในอนาคตกำลังพัฒนาขายสินค้าผ่าน Smart Phone ตามกระแสใหม่ที่เกิดขึ้นด้วย 

เมื่อสินค้าขายได้ ระบบการจัดส่งก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย ช่องนี้รับประกันส่งให้ถึงบ้านภายใน 2 วัน และฟรี 

จีเอสโฮมช้อปปิ้งวางระบบคลังสินค้าและจัดส่งอย่างเป็นระเบียบ โดยคลังสินค้ขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองอินชอน เป็นคลังสินค้าจากคู่ค้าต่างๆ และการนำส่งถึงบ้านผู้ซื้อ หน้าตาของคลังสินค้าเป็นโกดังขนาดใหญ่มีพื้นที่เก็บสินค้า จัดแพคลงกล่อง คัดแยกก่อนส่งไปแต่ละพื้นที่ตามคำสั่งซื้อ 

หากโฮมช้อปปิ้ง จะไม่มี Call Center คอยรับคำสั่งซื้อ หรือตอบปัญหาก็ถือว่าไม่ครบวงจร จีเอส ช้อป มีพนักงานคอลล์เซ็นเตอร์จำนวน 1,000 คน ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด 

คอลเซ็นเตอร์นี้ทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่ตอบคำถาม ขานสินค้า แก้ปัญหา รับคำชม และคำด่า 

อาคารคอลเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่ในกรุงโซล พนักงานจะนั่งตามล็อกของตัวเอง ด้านหน้าคือหน้าจอคอมพิวเตอร์ สวมหูฟัง ปากก็พูดตลอดเวลา

ที่นี่เป็นคอลเซ็นเตอร์ที่ไม่ได้ยินเสียงกริ่งโทรศัพท์ดังสักครั้งเดียว แต่พนักงานทุกคนทำงานตลอดเวลา และเป็นการพูดอธิบายความ ขายสินค้าที่เงียบมาก มีเสียงพูดค่อยๆ เบาๆ เหมือนกับว่าพื้นที่ตรงนั้นมีคนอยู่ไม่ถึง 10 คน แต่ในความเป็นจริงพนักงานแต่ละชั้นไม่น้อยกว่า 200 คน 

สิ่งที่ทรูวิชั่นส์ต้องการให้เห็นก็คือ การทำรายการสไตล์เกาหลีจะเกิดขึ้นใน UBC เพราะได้ส่งทีมงานตั้งแต่โปรดิวเซอร์ ผู้ควบคุมรายการ ช่างภาพ พิธีกร มาอบรวม และเรียนที่สตูดิโอของจีเอส โฮมช้อปปิ้ง และช่วงแรกของการออกอากาศทางเกาหลีจะไปช่วยดูแลให้ด้วย

ทรูซื้อ Know-how ของเกาหลีมาต่อยอดในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้ว เช่นช่องสัญญาณ ระบบการจัดส่ง ผ่าน 7-11 คลังสินค้า คอลเซ็นเตอร์ และสินค้าเครือซีพี แต่ขาดการนำเสนอที่น่าสนใจเท่านั้น 

ต่อไป จอร์จ  ก็คงถูกอารยะธรรม K-Pop กลืนหายไป 

ประโยคที่จะใช้ต่อไปอาจต้องพูดดังๆ ว่า

“โอ้ พระเจ้า ! คิม มันยอดมาก” 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งช่องโฮมช้อปปิ้งในเกาหลีปี
2010

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>บริษัท

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ยอดขาย
(พันล้านวอน)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ส่วนแบ่งตลาด
(%)
GS Shop 7,992 27.4 CJO Shopping 7,110 24.3 Hyundai Home
Shopping 5,765 19.7 Lotte Home
Shopping 5,498 18.8 NS Home
Shopping 2,854 9.8

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

สินค้าที่ขายผ่าน
GS Shop ปี 2010

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ประเภท

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>โฮมช้อปปิ้ง
(%)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> อินเทอร์เน็ต
(%)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> แค็ตตาล็อก
(%)
เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

20 19 27 5 เครื่องครัว 14 15 11 17 เครื่องสำอาง 12 4 12 16 เสื้อผ้า 11 8 7 10 เฟอร์นิเจอร์ 8 7 8 7 เครื่องประดับ 7 5 2 7 การศึกษา 5 3 3 5 ประกัน 4 2 5 2 ชุดชั้นใน 4 5 6 2 เครื่องนอน 3 15 10 6 บริการต่างๆ 3 11 8 25

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

กลุ่มลูกค้าหลักที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทาง
GS Shop ปี 1996-2010

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ช่องทางการซื้อ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> เพศ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> ระดับอายุ
(ปี)
โฮมช้อปปิ้ง หญิง 30-40 อินเตอร์เน็ต หญิง 20-30 แค็ตตาล็อก หญิง  40-50

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ผู้ถือหุ้นบริษัททรูจีเอส

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>บริษัท

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)
ทรูวิชั่นส์ 45 จีเอส ช้อป
เกาหลี 35 เดอะมอลล์
กรุ๊ป 10 ซีพี
ออลล์  10 ***
ทุนจดทะเบียน
240 ล้านบาท