Super Brand CSR

กลายเป็นเวทีใหญ่ในการโชว์พลัง CSR จากเหตุน้ำท่วมใหญ่ ที่แต่ละองค์กรก็มุ่งเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งมีทั้งที่เข้าไปแบบมีระเบียบแบบแผน หรือเข้าไปแบบเร่งด่วน แต่ทั้งสองส่วนนี้ก็มองไปที่การหยิบยื่นและผ่อนคลายความเดือดร้อนกับผู้ประสบภัยเป็นหลัก

การช่วงชิงพื้นที่การทำ CSRก็เกิดขึ้น ความได้เปรียบของแต่ละองค์กรก็คือ การทำ CSR แล้วได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณ แม้จะเล็กน้อยก็ยังดี แต่ที่ผ่านมาการเผยแพร่อย่างนี้ มักจะถูกตีคลุมไปกับการทำงานของสื่อมากกว่า  

ช่อง 3 ก็ครอบแบรนด์ ครอบครัวข่าว 3 เข้าไปในการทำ CSR 

แม้ว่าภายในถุงยังชีพ หรือการให้ความช่วยเหลือจะมาจากหลายๆ หน่วยงานก็ตาม แต่ผู้ประสบภัยและคนทั่วไปจะเห็นแบรนด์ของช่อง 3 เป็นหลัก ผู้สนับสนุนรายอื่นก็ลดความสำคัญลงไป  

การแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าในเหตุน้ำท่วมก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ แต่ในความคิดของ ฐาปน สิริวัฒนภักดีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มองถึงภาวะหลังน้ำท่วมมากกว่าที่ต้องการความร่วมมือ ร่วมแรงในการฟื้นฟู ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ และคงไม่รอมาตรการหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาล

เขาจึงเริ่มชักชวนบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่เป็นทั้งคู่ค้า และเพื่อนร่วมธุรกิจมาร่วมกันโครงการ อภิมหาCSR ของภาคเอกชนที่น่าจะใหญ่ที่สุดในประเทศขณะนี้ และสามารถชักชวนกลุ่มผู้ริเริ่มได้ 12 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทคือบริษัทแถวหน้าในแต่ละธุรกิจ

แคมเปญอภิมหา CSR ครั้งนี้จึงเกิดขึ้นในชื่อโครงการ พลังน้ำใจไทย (Power of Thai) 

“หากแต่ละบริษัทต่างคนต่างทำ จะได้รับผลน้อย แต่เมื่อบริษัทขนาดใหญ่ร่วมมือกัน ก็จะขับเคลื่อนการฟื้นฟูประเทศได้มากขึ้น” ฐาปนให้เหตุผลและบอกถึงความเป็นมา

การฟื้นฟูประเทศตามแนวคิดของภาคีพลังน้ำใจไทย จะมุ่งไปที่การศึกษา โรงเรียน ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อทำให้โรงเรียนกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปรกติ โดยแนวคิดเริ่มต้นคือการซ่อม สร้าง โรงเรียนที่เสียหายด้วยงบประมาณของภาคเอกชนที่จะระดมทุนกันมาเองจากการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ พลังน้ำใจไทย เพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายส่วนนี้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้เงินเริ่มต้นในโครงการประมาณ 100 ล้านบาท

วิธีการหาทุนก็คือ การทำสายรัดข้อมือจำนวน 1 ล้านเส้น  จำหน่ายราคาเส้นละ 100 บาท เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียน จากนั้นบริษัทที่เข้าร่วมก็จะผลิตสินค้า บริการ ตามที่ตัวเองถนัดหารายได้เข้าโครงการ และเริ่มหาทุนตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2554 ถึง 30 มิ.ย. 2555 จากนั้นจะศึกษาข้อมูลเพื่อจัดรูปแบบการฟื้นฟูลงไปในพื้นที่อีกครั้ง 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

12 ภาคี
พลังน้ำใจไทย – ธนาคารกรุงเทพ – บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง – บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ – กลุ่มน้ำตาลมิตรผล – บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล – บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
กรุ๊ป – บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น – บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต – บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ – บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส – บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น
โปรดักส์ – บริษัท ไอซีซี
อินเตอร์เนชั่นแนล

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

แคมเปญ
CSR พลังน้ำใจไทย ที่มา : – การรวมตัวของ 12
บริษัทเอกชนรายใหญ่ และจะขยายเพิ่มในอนาคต วัตถุประสงค์ – ฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม
โดยเจาะจงไปในด้านการศึกษา

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>

เงินทุน :

– เงินกองทุนเริ่มต้น 100 ล้านบาท

– ทำสายรัดข้อมือสีธงชาติไทยจำนวน
1 ล้านชิ้น ขายชิ้นละ 100 บาท – ผลิตสินค้าพิเศษในแบรนด์
พลังน้ำใจไทย นำรายได้ส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดเข้ากองทุน – จัดกิจกรรมพิเศษเช่นคอนเสิร์ต
ภาพยนตร์ ภายใต้โครงการเพื่อระดมทุน – ระยะเวลาการระดมทุน 15 พ.ย.
2554 ถึง 30 มิ.ย. 2555