ถ้าพูดถึงตลาดแป้งฝุ่นโดยรวมแล้ว จะเห็นว่ามูลค่าตลาดกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ไม่ได้เป็นตัวเลขที่น้อยเลย แม้แต่แป้งเย็นบางยี่ห้ออย่างเช่น แป้งเย็นตรางูซึ่งอยู่ในตลาดนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 60 ปี ยังต้องมีการทำกลยุทธ์ Brand Revitalization เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อให้แบรนด์ของตนเองสามารถจับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดรุ่นใหม่ๆ ได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งในตลาดนี้ได้อย่างสมศักดิ์ศรี หรืออย่างบางแบรนด์ก็เลือกที่จะวางตลาดด้วยแป้งสูตรใหม่ๆ หรือแม้แต่การปรับภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ไปด้วยในตัว
จากตัวเลขในภาพรวมซึ่งแป้งเด็กจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดถึง 2,000 ล้านบาท ในขณะที่แป้งเย็นจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 1,200 ล้านบาท และสุดท้ายก็คือแป้งหอมที่มีตัวเลขอยู่ที่ 600 ล้านบาท หลายๆ ท่านอาจจะเดาเอาว่าผู้ที่ใช้แป้งเด็กส่วนใหญ่คงจะเป็นประชากรเด็กเล็กหรือคุณลูกๆของบรรดาคุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตาม อาจจะมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์แป้งเด็กด้วย เช่น ผู้บริโภคกลุ่มผู้หญิง ที่เราอาจจะเข้าใจว่าเธอเหล่านั้นชอบที่จะใช้แป้งหอมเป็นส่วนใหญ่
ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18 – 30 ปี จำนวนทั้งหมด 200 คน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อแป้งฝุ่นสำหรับทาตัว โดยทำการศึกษาผ่านทาง Insights Springboard ซึ่งเป็นเครื่องมือการศึกษาเบื้องลึกของผู้บริโภคที่สามารถทำให้เข้าใจเกี่ยวกับทัศนคติ และความต้องการของผู้บริโภคและสังคมแวดล้อมได้อย่างลึกซึ้ง
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18-22
ปี
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>23-25
ปี
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>26-30
ปี
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ธุรกิจส่วนตัว
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>นักศึกษา
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>พนักงานบริษัท
ไม่ใช่แต่เด็กๆ ที่ใช้แป้งเด็ก
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
จากการสอบถามกับบรรดาสาวๆ เหล่านี้ พบว่า 95% ของกลุ่มตัวอย่างมีการใช้แป้งฝุ่นสำหรับทาตัวอยู่ในปัจจุบันในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เหลืออีก 5% ไม่ได้ใช้แป้งฝุ่น ซึ่งส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้จะให้เหตุผลที่ไม่ใช้ว่า การใช้แป้งฝุ่นจะทำให้รู้สึกเหนียวตัวหรือไม่สบายตัว โดยเฉพาะเวลาที่เหงื่อออก นอกนั้นก็จะเป็นเหตุผลของการเป็นภูมิแพ้และทัศนคติในลักษณะที่ว่าแป้งฝุ่นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
และที่น่าสนใจก็คือในบรรดาแป้งฝุ่นที่กลุ่มตัวอย่างใช้อยู่นั้น เป็นแป้งเด็กถึง 88% ส่วนที่เหลือก็จะเป็นแป้งเย็นและแป้งหอม และนี่ก็ยิ่งเป็นข้อมูลที่ช่วยตอกย้ำตัวเลขมูลค่าทางการตลาดของแป้งฝุ่นเด็กดังกล่าวข้างต้น
ประเด็นที่อยากจะฝากเอาไว้ช่วยกันขบคิดก็คือ อะไรบ้างที่เป็นมูลเหตุจูงใจหรือ Motivation ที่ทำให้สาวๆ หันมาเลือกใช้แป้งเด็กมากกว่าแป้งชนิดอื่นๆ แล้วทำไมสาวๆ เหล่านี้จึงคิดเช่นนั้น งานนี้คงจะต้องพึ่งงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งอาจจะช่วยให้เราค้นพบความน่าสนใจหรือสมมุติฐานที่แปลกประหลาดโดยที่เราๆ ท่านๆ ไม่เคยตระหนักหรือนึกถึงมาก่อนเลยก็ได้ เหมือนกับที่นักวิจัยด้านแรงจูงใจในเมืองนอกเคยพบว่า ผู้บริโภคหลายรายที่ต่อต้านการกินลูกพรุนก็มีสาเหตุเนื่องมาจากการที่ลูกพรุนมีลักษณะเหี่ยวย่นและมองดูแล้วทำให้ระลึกนึกถึงคนชรา
สาวๆ คำนึงถึงเรื่องอะไรกันบ้าง
นอกจากนั้นทางทีมงานยังให้โอกาสสาวๆ กลุ่มตัวอย่างได้จัดอันดับความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อแป้งฝุ่นอีกด้วย เพื่อช่วยให้นักการตลาดได้เข้าใจถึงกลไกในสมองของบรรดาสาวกแป้งฝุ่นเหล่านี้ ซึ่งในภาพรวมแล้ว จะพบว่า ยี่ห้อและบริษัทผู้ผลิต รวมถึงราคาของตัวสินค้าได้รับการจัดเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ในความคิดของบรรดาสาวๆ เหล่านี้
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
“แป้งฝุ่นสำหรับทาตัว”
(ส่วนลด/ของแถม)
คำนวณคะแนนจากลำดับความสำคัญสูงสุด 5 อันดันแรก
เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อดูความแตกต่างระหว่างกลุ่มสาวๆ เหล่านี้ ก็คงพอจะเห็นภาพว่า สาวๆ ที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยนักศึกษานั้นค่อนข้างจะให้ความสำคัญในเรื่องของการที่สินค้าแป้งฝุ่นต้องมีความหลากหลายของกลิ่นมากกว่ากลุ่มสาวๆ รุ่นพี่ ดังแสดงในตารางเปรียบเทียบด้านล่าง
cellspacing=”2″>
5 อันดับแรกของปัจจัยที่สำคัญ ในการเลือกซื้อ “แป้งฝุ่นทาตัว”
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18-22
ปี
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>23-25
ปี
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>26-30
ปี
มาใกล้ชิดกับเนื้อตัวเธอให้มากกว่านี้…
จะว่าไปแล้ว แป้งฝุ่นสำหรับทาตัวก็จัดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สาวๆ หลายท่านมักจะใช้ดูแลและประทินผิวกายของตนเอง และสาวๆ เหล่านี้ก็คงไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าวเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องใช้หลายๆ ขนานประกอบกัน ดังนั้น นอกจากแป้งฝุ่นที่สาวๆ ใช้กับผิวกายของเธอแล้ว เรามาดูเพิ่มเติมกันอีกว่า เธอเหล่านั้นใช้ผลิตภัณฑ์ใดสำหรับผิวกายของเธอกันอีกบ้าง บางทีนักการตลาดอาจจะต้องหันกลับมาใช้กลยุทธ์ในลักษณะ Cross-selling ซึ่งเป็นเครื่องมือที่หลายๆ แบรนด์เชื่อมั่นและนิยมใช้ในการเพิ่มยอดขายรวมถึงผลกำไร พร้อมๆ ไปกับสร้างความพึงพอใจมากขึ้นให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายด้วย ส่วนจะเลือกผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใดมา Cross-sell หรือนำเสนอขายร่วมกับแป้งฝุ่นนั้น ก็คงต้องปล่อยเป็นเรื่องของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการมีอยู่เองในตลาด รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการนั้นมีอยู่ในปัจจุบัน
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายที่สุดนี้ เรามาดูกันว่า สาวๆ เหล่านี้เขามีความคาดหวังอะไรจากแป้งฝุ่นบ้าง
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
(จากแบคทีเรีย)
(รังสียูวี)
สำหรับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใดๆ ก็ตาม Consumer Benefits หรือคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการซื้อหรือใช้สินค้านั้นๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการและนักการตลาดต้องให้ความสำคัญและมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างไรก็ตาม ในการอ่านและใช้ประโยชน์จากงานวิจัย หลายๆ ครั้งเรามักจะพบว่านักการตลาดหลายๆ ท่านมักจะให้ความสำคัญและความสนใจกับคะแนนหรือตัวเลขสูงๆ โดยอาจจะมองข้ามการใช้ประโยชน์จากตัวเลขที่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อต่อยอดทางความคิด
เกริ่นนำมาซะขนาดนี้แล้ว ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการ คุณจะพยายามผลิตแป้งฝุ่นที่ “ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง” หรือจะลองระดมสมองเพื่อคิดค้นแป้งฝุ่นที่ “มีส่วนผสมที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ” ซึ่งในปัจจุบันนี้มีทางเลือกของส่วนผสมอยู่มากมาย (เช่น สารสกัดจากเมล็ดองุ่น สารสกัดจากใบ Olive เป็นต้น) และยังสามารถแปลงให้เป็นคุณประโยชน์สำหรับผู้บริโภคได้อีกหลากหลายแนวทาง เช่น ชะลอการเสื่อมโทรมของสภาพผิวหนังที่อาจจะแก่ก่อนวัยได้ เป็นต้น แต่นั่นคงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของวิชาการในลำดับต่อไป