“Robinhood Ride” บริการใหม่จากแอปฯ เพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน ชูคอนเซ็ปต์บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ


เกือบ 3 ปีที่แอปฯ “Robinhood” เริ่มต้นจากบริการเดลิเวอรี วันนี้แอปฯ เติบโตจนมีฐานผู้ใช้ทะลุ 3.7 ล้านคน พร้อมไปต่อกับบริการใหม่ “Robinhood Ride” ที่ยังคงวางเป้าหมายทำเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยคอนเซ็ปต์ “บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ” สร้างตัวเลือกบริการเรียกรถราคายุติธรรมกับทั้งผู้โดยสารและคนขับ

ย้อนไปเกือบ 3 ปีก่อน ประเทศไทยเกิดสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารเล็กๆ ยากลำบาก ต้องเน้นการขายสินค้าผ่านระบบเดลิเวอรีทดแทนยอดขายหน้าร้านที่ลดลง แต่ด้วยแอปฯ เดลิเวอรีส่วนใหญ่มีการเก็บค่า GP หรือค่าคอมมิชชันจากราคาขาย ทำให้ร้านอาหารขนาดเล็กขาดทุนหรือจำต้องขึ้นราคาสินค้าซึ่งกระทบกับผู้บริโภคปลายทาง

แอปพลิเคชัน Robinhood จึงก่อตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ “ช่วยคนตัวเล็ก” เป็นระบบเดลิเวอรีที่ “ไม่เก็บค่า GP” เพื่อให้ร้านอาหารเล็กๆ ยังอยู่ได้ และเมื่อร้านอาหารขายผ่านเดลิเวอรีได้ ไรเดอร์คนขับรถส่งอาหารก็จะยังมีงานทำเช่นกัน

(ซ้าย) “กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด และ (ขวา) “สุชานัน ตันติวัฒนวัลลภ” Head of Ride Business บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

“กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ระบุว่าหลังจากแอปฯ Robinhood ก่อตั้งมา 2 ปี 8 เดือน ปัจจุบันระบบมีฐานผู้ใช้รวม 3.7 ล้านคน มีร้านอาหารในระบบ 3 แสนร้านค้า และมีไรเดอร์ร่วม 3 หมื่นคน

ที่ผ่านมาแอปฯ ช่วยเชื่อมโยงสร้างมูลค่าการขายให้ร้านค้าสะสม 17,200 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้ไรเดอร์รวม 3,600 ล้านบาท ช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจให้กับคนตัวเล็กดังที่ตั้งใจไว้เมื่อเกือบ 3 ปีก่อน

มูลค่าที่ Robinhood ช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่มร้านค้าและไรเดอร์

ต่อมาในปี 2565 แอปฯ Robinhood ยังขยายฟีเจอร์บริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น คือ Robinhood Travel บริการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน, Robinhood Mart บริการเดลิเวอรีสินค้าจากร้านค้า และ Robinhood Express บริการเรียกรับ-ส่งพัสดุ มาช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค มีทางเลือกในการใช้งานเพิ่มขึ้น


บริการ “เรียกรถ” ที่แฟร์และแคร์คุณ

กวีวุฒิกล่าวต่อว่า เป้าหมายของ Robinhood ในปี 2566 คือมุ่งมั่นสานต่อการสร้างโอกาสและสนับสนุนคนตัวเล็กภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “แอปเพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน” ความหมายคือ Robinhood จะต้องยั่งยืนด้วยตนเองไปพร้อมๆ กับการสร้างงานให้คนตัวเล็ก ดังนั้น แอปฯ จะมีบริการใหม่เพิ่มขึ้นที่คาดว่าจะทำให้บริษัทเริ่มทำกำไรด้วยตนเองได้ใน 1-2 ปี

เริ่มจากการออกบริการใหม่คือ “Robinhood Ride” บริการ “เรียกรถ” ซึ่งบริษัทมองว่าจะเป็นธุรกิจที่สำคัญมาก เพราะปัจจุบันบริการเรียกรถทั่วไปเรียกเก็บค่าโดยสารในราคาค่อนข้างสูง จึงมองว่าการเข้ามาเป็นอีกผู้เล่นหนึ่งในตลาดและทำราคาให้ “แฟร์” ยุติธรรมกับผู้บริโภค ช่วยเรื่องค่าครองชีพให้กับคนกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง

ขณะที่ปลายปี 2566 จะมีบริการใหม่เพิ่มอีก 2 ประเภท คือ “Robinhood Finance” บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ดิจิทัลที่จะเริ่มจากให้กับกลุ่มไรเดอร์และร้านค้าก่อน และ “Robinhood EV” บริการให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยคาดว่าจะมีรถเข้าระบบได้ 1,000 คัน


Robinhood Ride ตัวเลือกใหม่เพื่อคนตัวเล็ก

“สุชานัน ตันติวัฒนวัลลภ” Head of Ride Business บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายต่อถึงสภาวะตลาดบริการเรียกรถรับส่งปัจจุบันมีขนาดตลาดใหญ่ถึง 7 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตไปถึง 1.5 แสนล้านบาทได้ในปี 2571

สาเหตุที่บริการเรียกรถจะเติบโต เนื่องจากปัจจุบันตลาดรับรับส่งยังมีการเรียกรถแบบโบกมืออยู่ 35% และเรียกผ่านแอปฯ 65% แต่แนวโน้มการเรียกผ่านแอปฯ จะเติบโตขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์แล้วบริษัทพบว่าตลาดนี้ยังมี ‘pain point’ ทั้งในฝั่งผู้โดยสารและคนขับ 3 ปัญหาใหญ่ คือ

1. ผู้โดยสารถูกเรียกเก็บค่าโดยสารสูงมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน (peak time) อาจถูกเรียกเก็บสูงกว่าปกติ 2-3 เท่า

2. คนขับรถถูกหักค่าคอมมิชชันสูง ค่าเฉลี่ยในตลาดหักค่าคอมมิชชัน 25-30% ซึ่งทำให้คนขับอาจไม่เหลือกำไรจากการขับรถ

3. ระบบ Call Center ไม่เพียงพอในการช่วยเหลือทั้งผู้โดยสารและคนขับ ติดต่อได้ยาก

จากปัญหาทั้งหมดนี้ Robinhood Ride จึงต้องการเข้ามาแก้ไขเพื่อเป็นตัวเลือกที่แฟร์และแคร์คุณมากกว่า ไม่ว่าจะทั้งฝั่งผู้โดยสารหรือคนขับ โดยนำเสนอจุดเด่น 6 ด้าน ได้แก่

1. ราคาเป็นธรรม โดยมีลิมิตเพดานค่าโดยสารที่เรียกเก็บอยู่ในกรอบที่กรมขนส่งทางบกกำหนด

2. คนขับบริการดีมีมาตรฐาน โดยมีการเทรนนิ่งด้านมารยาทการให้บริการ เหมือนกับที่มีการเทรนนิ่งไรเดอร์ขนส่งอาหาร

3. เก็บค่าคอมมิชชันจากคนขับน้อยกว่า โดยกำหนดเพดานเรียกเก็บไม่เกิน 20%

4. คนขับเริ่มงานง่ายไม่ต้องเติมเครดิตก่อนเริ่มงาน ต่างจากแอปฯ อื่นที่ต้องเติมเครดิตไว้ให้เพียงพอสำหรับการหักค่าคอมมิชชันก่อน

5. ประกันเหตุร้ายในช่วง 22:00-04:00 น. ทำให้ทั้งผู้โดยสารและคนขับอุ่นใจในยามค่ำคืน

6. Call Center 24 ชั่วโมง ไม่ใช้ระบบอัตโนมัติ ใช้มนุษย์เป็นผู้สื่อสาร โดยเตรียมบุคลากรไว้อย่างเพียงพอและผ่านการเทรนนิ่ง

ระบบ Robinhood Ride ยังมีจุดเด่นด้านอื่นๆ ถือเป็นส่วนเสริมที่น่าสนใจเช่น ตัวเลือกรถยนต์มีให้เลือก 8 รูปแบบ และหนึ่งในแบบที่เลือกได้คือเรียก “รถยนต์ไฟฟ้า (EV)” ในราคาที่เท่ากับรถบ้านปกติ เพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ปลอดมลพิษ

รวมถึงมีฟังก์ชันให้เลือก “ห้ามรบกวนขณะโดยสาร” (Silent Mode) มาจากอินไซต์ของคนกรุงเทพฯ ที่บางครั้งต้องการสมาธิทำงานระหว่างนั่งรถโดยสาร หรือต้องการความเป็นส่วนตัวขณะโดยสาร

ตั้งเป้าขึ้นเป็น Top 3 ภายใน 3 ปี

ปัจจุบันบริการ Robinhood Ride เริ่มให้บริการครอบคลุมทั้งเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยเริ่มต้นมีรถบริการ 4,500 คัน แต่จะเร่งขยายจำนวนคนขับให้มากขึ้นโดยมีเป้าขยายจำนวนรถในระบบเป็น 10,000 คัน และเป้าให้บริการเฉลี่ย 12,000 ครั้งต่อวันให้ได้ภายในสิ้นปีนี้

สุชานันกล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าระยะกลางภายใน 3 ปีจะขึ้นสู่ “Top 3” ของตลาดแอปฯ เรียกรถ และมีส่วนแบ่งตลาดราว 20%

ส่วนแผนงานการขยายตัวไปให้บริการในต่างจังหวัดนั้นเป็นไปได้ แต่จะรอดูผลตอบรับจากผู้โดยสารในกรุงเทพฯ ก่อน และต้องวิเคราะห์ตลาดต่างจังหวัดในแต่ละหัวเมืองด้วยว่ามีดีมานด์เพียงพอหรือไม่

ทั้งนี้ ในช่วงเปิดตัว Robinhood Ride บริษัทมีสิทธิพิเศษมอบให้ผู้โดยสารเพื่อทดลองใช้งานบริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ เพียงกรอกรหัส “CARE” รับส่วนลดทันที 50 บาท เมื่อเรียกรถค่าโดยสารขั้นต่ำ 100 บาท ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566

#Robinhood #แอปเพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน #RobinhoodRide #บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ