“ทุกโรงพยาบาลสนใจการทำธุรกิจที่ไม่ใช่โรงพยาบาล (non-hospital) กันหมด เพราะการมีรายได้ทางเดียวจะเสี่ยงมาก ยกตัวอย่างช่วงโควิด-19 เห็นผลชัด เพราะคนไม่กล้ามาโรงพยาบาล แต่เราได้ธุรกิจที่ไม่ใช่โรงพยาบาลมาชดเชย เช่น อาหารเสริม น้ำวิตามิน” – นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลยันฮี
——————
1.โรงพยาบาลยันฮี
ก่อตั้งมานาน 37 ปี ทำเลที่ตั้งบนถนนจรัญสนิทวงศ์ มีชื่อเสียงด้านการศัลยกรรมความงาม
“แหล่งรายได้”
70% ศัลยกรรมความงาม
30% รักษาโรคอื่นๆ
“3 อันดับการศัลยกรรมที่ให้บริการมากที่สุด”
1) เสริมจมูก
2) ทำตา
3) เสริมหน้าอก
“สัดส่วนลูกค้า”
85-90% ชาวไทย
10-15% ชาวต่างชาติ
“5 อันดับชาวต่างชาติที่ใช้บริการมากที่สุด”
1) เมียนมา
2) เวียดนาม
3) จีน
4) กัมพูชา
5) อื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น UAE
(Tips: ลูกค้าต่างชาติเกิน 90% มาใช้บริการศัลยกรรมความงาม)
——————
2.โซลาร์ฟาร์ม
ถือเป็นอีกหนึ่งรายได้ที่มั่นคงของบริษัท โดยเริ่มก่อตั้ง บริษัท ยันฮี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด มาตั้งแต่ปี 2553 และมีการร่วมทุนกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจพลังงานต่างๆ เช่น บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
——————
3.ยาและเครื่องสำอาง
ดำเนินการภายใต้ บริษัท ยาอินไทย จำกัด มานานกว่า 2 ทศวรรษ ผลิตยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง เพื่อจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดและอีคอมเมิร์ซ
——————
4.เครื่องดื่ม
ภายใต้ บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และมีการร่วมทุนกับ บมจ.โอสถสภา ใน บริษัท โอสถสภา ยันฮี เบเวอเรจ จำกัด เน้นสินค้าเครื่องดื่มที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เช่น ยันฮี วิตามิน บี วอเตอร์, ยันฮี วิตามิน ซี วอเตอร์, ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์
บริษัทมีโรงงานผลิตเครื่องดื่มของตนเอง กำลังการผลิตสูงสุด 300 ล้านขวดต่อปี
——————
#ยันฮี #โรงพยาบาลยันฮี #โมเดลธุรกิจ #Positioningmag