สูตรชิงแชร์ 3D TV ของ LG

“แอลจีเปิดประสบการณ์ความบันเทิงแห่งโลก 3 มิติ และ Smart TV ครั้งแรกด้วยมหกรรมเกม 3 มิติ ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย พร้อมเปิดตัวคอนเทนต์ใหม่ K-Pop Zone” นี่คือประโยคที่กล่าวถึงงานกิจกรรมของแอลจีเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2554 

เมื่อนำมาถอดรหัส จะพบองค์ประกอบสำคัญ ที่แอลจีใช้ชิงส่วนแบ่งตลาดทีวี 3 มิติ อยู่ในประโยค

“แอลจีมองว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้ตลาดทีวี 3 มิติเกิดได้ จะต้องมี 2 องค์ประกอบสำคัญคือเทคโนโลยีภาพสามมิติ และคอนเทนต์ เพื่อตอบสนองความต้องการหลากหลายของผู้บริโภคสำหรับสมาร์ททีวี” ธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เฉลย

ดังนั้นกิจกรรมที่ลานเวิร์คแอนด์เพลย์ ณ เซ็นทรัลพลาซ่า แกรนด์ พระรามเก้า ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2554 จึงประกอบด้วย 2 เรื่องสำคัญที่แอลจีต้องการนำเสนอ คือภาพยนตร์สามมิติ กับคอนเทนต์เคป็อป ซึ่งเป็น 2 กิจกรรมไฮไลต์ แต่แอลจีกลับใช้ชื่องานว่า LG CINEMA 3D Game Festival

“เกมคือองค์ประกอบที่ทำให้ดึงคนมารวมกันได้ เด็กมาดูเกม พ่อแม่ดูของ ซึ่งเรามี Full HD ที่ใหญ่สุดในโลกมาโชว์เรียกเสียงฮือฮา”

เป้าหมายของเกมมีเพียงเท่านั้น แม้ว่าความจริงแล้วเกมจะเป็นหนึ่งในตัวโชว์เทคโนโลยีสามมิติในงานด้วยก็ตาม แต่เป้าหมายจริงๆ ที่แอลจีต้องการเน้นมาก คือการสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคได้ประสบการณ์สามมิติที่เหนือกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม 

ธันญเชษฐ์ เล่าว่า เทคโนโลยีการสร้างภาพสามมิติตัวล่าสุดของแอลจีเปิดตัวและได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาดมาแล้วตั้งเดือนเมษายน วัดได้จากส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มทีวีสามมิติของแอลจีที่เพิ่มขึ้นจาก 10% กว่า เป็น 40% กว่า แอลจีเลยตัดสินใจจัดงานนี้ขึ้นเพื่อตอกย้ำและสร้างกระแสการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีทีวีสามมิติ โดยตั้งเป้าว่าจะทำให้ส่วนแบ่งของสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มถึง 50% ในปี 2555

“เราเคยจ้างบริษัทวิจัยสำรวจกลุ่มผู้บริโภคในอเมริกาผลปรากฏว่าคนอเมริกัน 80% เลือกแอลจี จากการทดลองดูด้วยตัวเอง แล้วเราก็เคยทำ Blind Test กับกลุ่มนักข่าวในเมืองไทยผลที่ได้ก็ใกล้เคียงกัน ดังนั้นในงานเราจึงจัดโชว์โดยเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นให้เห็นกันชัดๆ โดยไม่เปิดเผยแบรนด์ด้วย”

ธันยเชษฐ์ให้ข้อมูลว่า เทคโนโลยี Cinema 3D ของแอลจี มีจุดต่างอยู่ที่ ดูแล้วสบายตาภาพไม่กะพริบ และแว่นตาเป็นแบบธรรมดาราคาถูกไม่มีเทคนิคซับซ้อนเหมือนของเดิม

“ภาพไม่กะพริบเพราะการสร้างภาพอยู่ที่ตัวทีวี ถ้าเป็นเทคโนโลยีเดิมจะมีการสื่อสารระหว่างทีวีกับแว่นเลยมีจังหวะกะพริบทำให้คนดูรู้สึกปวดหัว นี่คือเบเนฟิตแรกที่คนตอบรับ สอง – เมื่อแว่นไม่ต้องสื่อสารกับจอภาพ ระบบที่ใช้ก็ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีการชาร์จแบตเตอรี่ เป็นแค่แว่นธรรมดาใส่กันแดดยังได้ ราคาถูก ลูกค้าซื้อทีวีเราจะแถมแว่นกี่อันก็ได้ หรือซื้อเพิ่มก็ได้ ขณะที่แว่นเก่าราคา 3 พันบาทขึ้น ซึ่งส่งผลต่อประโยชน์ข้อที่สาม – ลูกค้าซื้อทีวีไปดูกันได้หลายคน ซึ่งตรงกับลักษณะทีวีที่ต้องเอ็นจอยกับครอบครัว มีแว่นแค่สองอันไม่พอ นี่คือปัญหาทีวีสามมิติที่ผ่านมา ส่วนเรื่องสุดท้ายคือการที่เราเพิ่มคอนเทนต์ให้ผู้บริโภค ซึ่งเมื่อเปิดกับทีวีสามมิติก็จะมีฟีเจอร์แปลงภาพธรรมดาเป็นสามมิติ ทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบที่ทำให้แอลจีได้รับการตอบรับ”

เพราะประโยชน์หลายอย่างที่ผู้บริโภคจะได้จากทีวีสามมิติ แอลจีจึงตัดสินใจจัดงานนี้ก่อนงานบีโอไอแฟร์จะเริ่มขึ้น เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคสับสน เพราะในงานบีโอไอจะรวมทุกผลิตภัณฑ์มาจัดแสดง

ส่วนของฟีเจอร์สมาร์ททีวี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของทีวีสามมิติ ได้รับการตอกย้ำในงานนี้ด้วยกิจกรรมการเปิดตัวคอนเทนต์จากสถานีโทรทัศน์ SBS จากเกาหลีใต้  

“ทีวีสามมติรุ่นท็อปทุกแบรนด์จะมีทั้งสามมิติและสมาร์ททีวี มุมมองของแอลจีคือสมาร์ททีวีไม่ได้ใช้งานเหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ต้องนั่งตัวตรง คำว่าทีวีต้องรีแล็กซ์และใช้งานง่ายที่สุด และต้องมีคอนเทนต์ที่มากพอให้เลือกดู”

แอลจีจึงให้ความสำคัญเรื่องคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องมาตลอด จนถึงวันนี้ธันยเชษฐ์มั่นใจว่าแอลจีเป็นแบรนด์ที่มีโลคอลคอนเทนต์มากที่สุดนอกเหนือจากโกลบอลคอนเทนต์อย่างยูทูบ เฟซบุ๊ก โดยมีทั้งส่วนที่เป็นคลิปข่าว บันเทิง ช้อปปิ้ง ภาพยนตร์ เกม ร่วมไปถึงการจับมือกับเว็บไซต์ด้านวิชาการ ซึ่งเขายืนยันว่าจากนี้ไปแอลจีก็ยังคงใช้คอนเทนต์เป็นตัวผลัดดันยอดขายสมาร์ททีวีอย่างต่อเนื่องไปควบคู่กับการโฟกัสเรื่องทีวีสามมิติ

“ครั้งนี้ที่เลือก K-Pop ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเลือกกลุ่มเป้าหมายแค่แฟนเคป็อป แต่เรามองการเพิ่มคอนเทนต์เซอร์วิสเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและบริการให้ลูกค้า แต่เคป็อปก็เป็นกลุ่มที่มีคนติดตามจำนวนมากในไทยและเป็นคอนเทนต์ที่สร้างความแตกต่างให้เรา ซึ่งการเข้าถึงคอนเทนต์พวกนี้เราดีลกับสถานีโทรทัศน์ในเกาหลีทั้งมิวสิกวิดีโอ และเบื้องหลังที่หลากหลายและเป็นสามมิติที่ตอบโจทย์ทีวีสามมิติอีกที”

ธันยเชษฐ์มั่นใจว่า กลยุทธ์การตลาดสำหรับทีวีสามมิติที่แอลจีเลือกทำมาถูกทางแล้ว อย่างน้อยก็ยืนยันได้จากส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นแนวทางนี้จะยังเป็นเทรนด์ที่แอลจีเลือกใช้ขับเคลื่อนตลาดต่อไปในปีนี้ด้วย   

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

LG
CINEMA 3D TV กลุ่มเป้าหมาย First Jobber, กลุ่มคนที่มี
Modern Lifestyle Key Benefit เป็นทีวีสามมิติที่ดูแล้วสบายตา
ด้วยเทคโนโลยี FPR (Film Patterned Retarder) ลิขสิทธิ์ของแอลจี
แก้ปัญหาเทคโนโลยีที่มีข้อจำกัดเรื่องแว่นตาซึ่งเป็นอุปกรณ์การดูที่มีราคาแพงให้ถูกลง
มีคอนเทนต์หลากหลายทั้งโลคอลและโกลบอลคอนเทนต์เพื่อสนับสนุนการใช้งานสมาร์ททีวีซึ่งเป็นฟีเจอร์หลัก กลยุทธ์การตลาด เน้นให้ลูกค้ามีประสบการณ์ตรงหรือทดลองสัมผัสกับสินค้าด้วยตัวเอง
พร้อมๆ
กับตอกย้ำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีทีวีสามมิติในระดับโลก รูปแบบกิจกรรมเปิดตัว จัดเป็นการแข่งเกมในชื่องาน LG
CINEMA 3D Game Festival โดยมีเป้าหมายใช้เกมเป็นตัวดึงคนร่วมงาน
เพื่อให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์กับเทคโนโลยีของสินค้าภายในงาน