อิซเซย์ มิยาเกะ (Issey Miyake) เคยประกาศไว้แบบเท่มาก ๆ ว่า “การออกแบบจำเป็นต้องแสดงถึ งความหวัง” คำพูดที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งนี้ สะท้อนตัวตนและความเชื่อที่น่ าสนใจของผู้ชายชาวญี่ปุ่นคนนี้ ผู้ที่มีวัยเด็กสุดเจ็บปวด แต่สามารถพาตัวเองไปสู่การยอมรั บของคนทั่วโลก
มีคนไม่มากที่รู้จริงเกี่ยวกั บวัยเด็กที่รวดร้าวของอิซเซย์ มิยาเกะ เนื่องจากมิยาเกะเองก็ไม่ได้พู ดถึงเรื่องนี้จนกระทั่งช่วงปี หลังของชีวิต เป็นเพราะมิยาเกะเคยบอกไว้เมื่ อปี 2009 ว่าเขาไม่ต้องการถูกเรียกว่า “นักออกแบบที่รอดชีวิตจากระเบิ ดปรมาณู” ซึ่งแม้มิยาเกะได้เลือกที่จะไม่ พูดถึงเรื่องนี้เป็นเวลานาน แต่นักออกแบบสัญชาติญี่ปุ่ นรายนี้ได้จากโลกไป 1 วันก่อนวันครบรอบ 77 ปีของเหตุระเบิดที่บ้านเกิด
Issey Miyake นักออกแบบเสื้อผ้าชื่อดังระดั บโลกได้เสียชีวิตวันที่ 5 สิงหาคม 2022 ด้วยโรคมะเร็งตับในวัย 84 ปี สิ่งที่โลกจดจำเกี่ยวกับมิ ยาเกะไม่ใช่ชีวิตที่ผ่านช่ วงเวลาการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิ โรชิม่า ซึ่งคนที่ใกล้ชิดบอกว่านี่ อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ตั ดสินใจมาทำงานด้านการออกแบบเท่ านั้น แต่โลกยังปรบมือให้มุมมองต่ อบทบาทของงานออกแบบของมิยาเกะ ที่มองว่ าการออกแบบควรตอบคำถามการใช้ชี วิตของมนุษย์ ให้ได้มากกว่าการทำเงินได้สูงๆ
ทิ้งความฝันนักเต้น ลงมือทำเสื้อผ้าที่ใครใส่ก็เต้ นได้อิสระ
อิซเซย์ มิยาเกะ มีชื่อเสียงจากการออกแบบเสื้อผ้ าสไตล์ “จับจีบ” ที่ไม่เคยมีรอยย่น และเป็นผู้ผลิตเสื้อคอเต่าสี ดำอันเป็นเอกลักษณ์ให้สตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งแอปเปิล (Apple Inc) สวมคู่กับกางเกงยีนส์ลี วายส์และรองเท้านิวบาลานซ์ โดยในช่วงแรกของชีวิต เด็กชายมิยาเกะมีความฝันอยากเป็ นนักเต้นหรือนักกีฬา ก่อนที่จะอ่านนิตยสารแฟชั่ นของน้องสาว จนเป็นแรงบันดาลใจให้เปลี่ยนทิ ศทางชีวิต ซึ่งความสนใจดั้งเดิมเหล่านี้ เองที่เชื่อกันว่าเป็นเบื้องหลั งการเพิ่ม “เสรีภาพในการเคลื่อนไหว” ให้กับผู้สวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์ มิยาเกะ
(Photo by Daniel SIMON/Gamma-Rapho via Getty Images)
มิยาเกะนั้นเกิดที่ฮิโรชิม่า ปี 1938 ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 พ่อของเด็กชายมิยาเกะเป็ นทหารในแมนจูเรีย ทำให้คุณแม่เป็นผู้รับผิดชอบทุ กอย่างในการเลี้ยงดู
เมื่อมีงานเทศกาล แม่ของมิ ยาเกะเคยทำกางเกงจากธงชาวประมง ซึ่งมิยาเกะชื่นชมแม่อย่างมากว่ าเป็นคนมีสไตล์เรียบง่าย จิตใจงาม และห่วงใยลูกสุดๆ
ตอนอายุ 7 ขวบ มิยาเกะอยู่ในช่วงเวลาอันน่ าสยดสยองของประวัติศาสตร์มนุ ษยชาติ มีการมองว่าประสบการณ์จากเหตุ ระเบิดกลายเป็นแรงผลักดันให้กั บวิสัยทัศน์ของเขาในฐานะนั กออกแบบ และเมื่อการมีชีวิตอยู่เป็นสิ่ งมหัศจรรย์ แก่นแท้ของมิยาเกะจึงมี ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ จะเกิดสันติภาพ และได้เทสันติ ภาพลงในงานออกแบบของตัวเองด้วย
ตรงนี้มีการแก้ข่าวตามมาว่าแม้ จะเกิดที่ฮิโรชิม่า แต่ไม่ใช่ว่าตัวมิยาเกะจะอยู่ ในพื้นที่ตอนที่ระเบิดปรมาณูถู กทิ้ง เวลานั้น มิยาเกะอยู่ที่โรงเรียน ซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์ กลางระเบิดไป 5 กิโลเมตร และมิยาเกะได้ออกตามหาแม่และเดิ นเข้าหาแนวระเบิด
ในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุเมื่ อมิยาเกะอายุ 74 ปี มิยาเกะได้ลงรายละเอี ยดประสบการณ์ส่วนนี้ว่าครึ่งหนึ่ งของร่างกายแม่นั้นเต็มไปด้ วยแผลเป็นคีลอยด์ ถึงอย่างนั้น แม่ก็มีพลัง อย่างน้อยก็ในช่วงสั้นๆ และการบาดเจ็บจากเหตุระเบิ ดทำให้แม่ของมิยาเกะเสียชีวิ ตในอีก 3 ปีต่อมา
หนุ่มน้อยมิยาเกะต้องอดทนสู งมากเนื่องจากผลกระทบของเหตุ ระเบิด แต่การวาดภาพได้เปิดโลกใหม่ ซึ่งแม้จะยากจน แต่มิยาเกะก็ยังทุ่มเทให้กั บงานศิลปะ ผลจากครูในโรงเรียนประถมที่เป็ นอดีตทหารผู้หลงใหลในการวาดภาพ มักจะมาเปิดกลุ่มวาดรูปถึงก่ อนเวลาสอน 1 ชั่วโมง ซึ่งสำหรับมิยาเกะแล้ว นั่นคือจุดเริ่มต้น
Photo : Shutterstock
มิยาเกะจึงเข้าร่วมชมรมศิลปะที่ โรงเรียนมัธยมโคคุไตจิ ท่ามกลางเพื่อนฝูงมากมาย กิจกรรมเดินป่า ถ่ายรูป และสเก็ตช์ภาพล้วนเป็นสภาพแวดล้ อมที่ดีมาก มิยาเกะเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติ มอย่างกระตือรือร้นด้วยตนเอง และ 7 ปีหลังจากสิ้นสุดสงคราม การออกแบบที่มีเอกลักษณ์ก็ ปรากฏขึ้นในเมืองฮิโรชิม่าที่ถู กทำลายล้าง ซึ่งมิยาเกะยกให้สะพานนี้ เป็นการ “เผชิญหน้ากับการออกแบบ” ครั้งแรกในชีวิต
“มันเรียกว่าสะพานสันติภาพ ผมเคยขี่จักรยานข้ามถนนแล้วคิ ดว่า ‘นี่คือการออกแบบ’ ผมรู้เลยว่าผมอยากเป็นนั กออกแบบ” อิซเซย์เคยเล่าไว้ ตามข้อมูลจากรายการ NHK World
สะพานนี้ได้รั บการออกแบบโดยประติมากรชื่อดัง อิซามุ โนกุจิ โดยการออกแบบนี้มีจุดมุ่ งหมายเพื่อสื่อถึงการสร้างฮิ โรชิม่าขึ้นใหม่ ซึ่งแม้บางครั้งมิ ยาเกะจะเคยสงสัยว่า “การมาจากฮิโรชิม่า” มีหมายความอย่างไรต่อชีวิ ตของเขา แต่มิยาเกะก็ยืนยันว่าสามารถพู ดได้เต็มที่ถึงการเกิดและโตที่ ฮิโรชิม่านั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม
ทำงานหนัก ไม่ยอมแพ้ใคร
ในขณะที่บ้านเกิดเริ่มฟื้นคืนชี พ มิยาเกะก็ออกจากเมืองไปเข้าเรี ยนมหาวิทยาลัยศิลปะในโตเกียว ตลอดเวลาในมหาวิทยาลัย มิยาเกะจะทำงานหนักเพราะไม่ อยากแพ้ใคร และได้เริ่มไล่ตามเส้ นทางในฐานะนักออกแบบ ด้วยพรสวรรค์ที่โดดเด่นตั้งแต่ ยังเป็นนักศึกษา
หลังจากสำเร็จการศึกษา มิยาเกะก็มีการแสดงผลงานที่ดึ งดูดความสนใจเป็นอย่างมาก จนในปี 1965 มิยาเกะย้ายไปปารีส และทำงานในวงการโอต์กูตูร์หรื อเสื้อผ้าหรูหราประมาณ 2 ปี จนได้ตระหนักว่ามีบางอย่างที่ สำคัญมากกว่าแฟชั่นโอต์กูตูร์
“แฟชั่นคือการทำเสื้อผ้าให้ เหมาะกับผู้หญิง แต่ผมอยากจะทำเสื้อผ้าให้เข้ากั บยุคสมัย”
Photo : Shutterstock
เมื่อตัดสินใจเดินทางกลับญี่ปุ่ น มิยาเกะได้สร้างการออกแบบที่ เปลี่ยนชีวิตไปตลอดกาล โดยเสื้อผ้าชิ้นแรกที่มิ ยาเกะออกแบบ คือสิ่งที่พับได้เหมือนโอริกามิ ก่อนจะตั้งชื่อว่าเสื้อ A-POC ซึ่งเป็นเสื้อที่สามารถผลิตได้ โดยไม่ก่อให้เกิดขยะ สร้างความฮือฮาและนำไปสู่อิ มแพคอย่างมากในโลกแฟชั่น โดยงานของมิยาเกะไม่ได้จำกัดอยู่ แค่เสื้อผ้าเท่านั้น แต่ชื่อมิยาเกะกลายเป็นที่รู้จั กจากการใช้สิ่งทอและวัสดุอย่ างสร้างสรรค์ด้วย
ความที่เสื้อผ้าของมิ ยาเกะสวมใส่สบายและปรับเปลี่ ยนได้ สินค้าจึงได้รับความสนใจไปทั่ วโลก จนในปี 1989 มิยาเกะหันมาสนใจการจับจีบ และผลลัพธ์ที่ได้ล้วนน่ าประหลาดใจ นั่นคือคอลเลกชัน Pleats Please ที่ทำให้มิยาเกะกลายเป็นที่ฮื อฮาในทันที โดยได้รับการยกย่องเป็ นการออกแบบที่ปฏิวัติวงการซึ่ งแตกต่างไปจากแนวคิดที่ว่าเสื้ อผ้ามีไว้เพื่อสวมใส่เท่านั้น การออกแบบของมิยาเกะมีความน่าตื่ นเต้นมากขึ้นเรื่อยๆ และมีบางสิ่งที่ลึกซึ้งกว่านั้ นอยู่ใต้พื้นผิวของงาน
“ผมพยายามไม่ถูกกำหนดโดยอดี ตของตัวเอง ผมรู้ว่าผมกำลังทำอะไรบางอย่ างอยู่”
อยู่เหนือกาลเวลา ด้วยคอนเซ็ปต์ใหม่สำหรับเสื้อผ้ า
มิยาเกะได้ก้าวข้ามขีดจำกั ดของเสื้อผ้าที่สามารถเป็นได้ โดยสร้างไลน์เสื้อผ้าที่ได้รั บแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ สินค้านี้ถูกเรียกว่า ‘A-POC Inside’ เป็นการสร้างชุดเดรสจากด้ายเส้ นเดียวโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เรียกว่าสร้างคอนเซ็ปต์ใหม่ สำหรับเสื้อผ้าขึ้นมา เพื่อแสดงออกถึงมุมมองของตั วเองผ่านการออกแบบ
“ผมเชื่อว่าการออกแบบให้ความหวั ง การออกแบบสร้ างความประหลาดใจและความสุขให้กั บผู้คน”
Photo : Shutterstock
ถึงบรรทัดนี้ เราสามารถสรุปได้จากภาพรวมชีวิ ตและอาชีพของ Issey Miyake คือประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และการมีส่วนร่วมของตัวเอง ล้วนหล่อหลอมมิยาเกะในโลกแห่ งการออกแบบเสื้อผ้า โดยเฉพาะการมูฟออนจากสิ่งที่ ปวดร้าวในชีวิต สู่พลังใจในการลุกขึ้นมาสร้ างความสุข
“เมื่อผมหลับตา ผมยังคงเห็นสิ่งที่ไม่มี ใครควรได้สัมผัส” มิยาเกะเคยเล่าถึงการเสียชีวิ ตจากการสัมผัสรังสีของคุณแม่ ภายในสามปีหลังเหตุระเบิด “ผมพยายามลืม แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จที่จะทิ้ งทุกอย่างไว้ข้างหลัง แต่ผมเลือกที่จะคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถสร้าง ไม่ใช่สิ่งที่มุ่งทำลาย และนำมาซึ่งความสวยงามและความสุ ข ผมเลือกที่จะมุ่งสู่ สาขาการออกแบบเสื้อผ้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นรูปแบบที่ สร้างสรรค์ ทันสมัย และมองโลกในแง่ดี”.
ที่มา : NHK , BBC , Reuters , The Guardian , Harpersbazaar
Related