ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ออกแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ โดยผู้บริหารสูงสุดของธนาคารได้กล่าวว่า แผนดังกล่าวไม่ใช่แค่แผนระยะ 3 ปี แต่เป็นพิมพ์เขียวในทศวรรศที่ 2 ของความร่วมมือระหว่างกรุงศรี และ MUFG โดยโฟกัสไปที่ ความยั่งยืน การบุกต่างประเทศ หรือแม้แต่การเน้นจุดแข็งของธนาคารที่มีอยู่
เคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาถือเป็นวาระสำคัญครบรอบ 10 ปีของความร่วมมือระหว่างกรุงศรี และ MUFG และยังเป็นปีสุดท้ายของแผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่สาม
ในปี 2023 ที่ผ่านมาธนาคารมีรายได้รวม 138,948 ล้านบาท มีกำไรทั้งสิ้น 32,929 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตของสินเชื่ออยู่ที่ 3.5% มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 3.91% อัตราส่วนตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 9.3% ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มธนาคารไทย
ทางด้านเศรษฐกิจไทยในปี 2024 เคนอิจิ ได้อ้างอิงข้อมูลของศูนย์วิจัยกรุงศรี โดยมองว่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แม้ภาพรวมจะฟื้นตัว สาเหตุมาจาก เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูง หรือแม้แต่การสนับสนุนของรัฐบาลที่ลดลง ขณะที่ไทยฟื้นตัวช้าๆ จากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น การท่องเที่ยว การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
สำหรับในปี 2024 กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ว่าไม่ใช่แค่แผนระยะ 3 ปีเท่านั้น แต่ยังเป็นพิมพ์เขียวในทศวรรศที่ 2 ของความร่วมมือระหว่างกรุงศรี และ MUFG ด้วย
แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ จะเน้นไปยัง 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่
เรื่องของความยั่งยืน
กรุงศรีฯ ได้วางเป้าหมายในการเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนที่ 100,000 ล้านบาทภายในปี 2573 และให้การสนับสนุนลูกค้าในการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา กรุงศรีมียอดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้น 71,000 ล้านบาทจากฐานปี 2564
โดยแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่นี้ กรุงศรีจะมุ่งขยายบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนเพื่อเข้าถึงฐานลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าธุรกิจ และ SME ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ
ยังลุยต่างประเทศต่อ
ปัจจุบันเครือข่ายของกรุงศรี และ MUFG ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน โดยกรุงศรีมีบริษัทในเครือ กระจายอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว และมีลูกค้าใช้บริการมากถึง 17 ล้านคน
เคนอิจิ ยังได้ยกถึงผลดีของการเข้าซื้อกิจการของ Home Credit ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
เขายังกล่าวถึงการผสานเครือข่ายของ MUFG นั้นทำให้เกิดการเชื่อมโยง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไทยไปลงทุนในต่างประเทศ บริษัทต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในไทย หรือแม้แต่การจับคู่ระหว่างบริษัทไทยกับบริษัทในอาเซียน โดยกรุงศรีคาดว่าธุรกิจปล่อยสินเชื่อในต่างประเทศจะเติบโตถึง 13-15% ในปีนี้
ตอกย้ำจุดแข็งของธนาคาร
เคนอิจิ ยังกล่าวว่ากรุงศรียังคงเดินหน้ากลยุทธ์ One Retail โดยการใช้ดาต้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ นอกจากนี้กรุงศรีจะขยายขีดความสามารถด้านธุรกรรมการเงินทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบ Banking as a Service โดยพัฒนาร่วมกับพันธมิตรจากทั้งในไทยและต่างประเทศ
สำหรับในด้าน IT และ Digital กรุงศรีจะเดินหน้าลงทุนในดิจิทัลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่ยึดความต้องการลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงการใช้ AI และ Machine Learning เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และการให้บริการกับลูกค้า และยังรวมถึงโครงการ Jupiter ที่ลงทุนในระบบ Core Banking ซึ่งเป็นระบบไอทีที่สำคัญสุดของระบบธนาคาร
กรุงศรีคาดการณ์เป้าหมายทางการเงินในปี 2567 โดยเงินให้สินเชื่อจะเติบโตที่ 3-5% ส่วนต่างอั