เมื่ออยากแชตกับเพื่อนที่ถือไอโฟน หรือสมาร์ทโฟนแพงๆ แต่มีงบน้อย “ซัมซุง” ทะลุความต้องการนี้ด้วย “แอพพลิเคชั่น” ล่าสุด “ ChatON” ที่ใส่ไว้กับฟีเจอร์โฟน ที่ราคา 2 พันกว่าบาทก็คุยกับสมาร์ทโฟนเป็นหมื่นได้ เหมือนเป็นการทลายกำแพงการแบ่งชั้นการแชตยังไงอย่างนั้น
“ซัมซุง” เปิดให้ลูกค้าที่ใช้สมาร์ทโฟนดาวน์โหลด ChatON มาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งจากบนแอนดรอยด์ และซัมซุงแอพสโตร์ และยังส่ง ChatON เข้าไปสู่ตลาดอื่นของค่ายมือถือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอพสโตร์ แบล็คเบอร์รี่ เพื่อให้เป็นแอพฯ แชตข้ามค่ายกันได้ แต่ต้องยอมรับว่าแอพฯ แชตมีคนที่มาแรงกว่า นับตั้งแต่ WhatsApp จนมาถึง Line ChatON จึงยังไม่ดัง
ล่าสุดซัมซุงเดินเกมใหม่ พา ChatON ใส่เข้าไปในฟีเจอร์โฟนของซัมซุงเอง เริ่มจากรุ่นแชมป์ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจหลักว่าด้วยเรื่องการขายเครื่อง ที่ “วิชัย พรพระตั้ง” รองประธานธุรกิจโทรคมนาคม บริษัทไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด บอกว่าตลาดฟีเจอร์โฟนยังเป็นตลาดใหญ่ และครั้งนี้ ChatOn จะทำให้ลูกค้าได้ในสิ่งที่ต้องการนั่นคือการแชตกับเพื่อนที่เป็นสมาร์ทโฟนได้
ยอดขายโทรศัพท์มือถือรวมมีประมาณ 10 ล้านเครื่อง ฟีเจอร์โฟนยังมีความต้องการถึง 70% ของตลาดรวม เพราะลูกค้ากลุ่มใหญ่มีกำลังซื้อหรือพึงพอใจซื้อโทรศัพท์ในราคาที่ไม่สูงนัก แม้ฟีเจอร์จะไม่เติบโตแรงเหมือนสมาร์ทโฟน แต่ 70% ของตลาดก็มีความหมายสำหรับซัมซุง
สิ่งที่ได้มากกว่านั้นคือประสบการณ์แชตกับเพื่อนสมาร์ทโฟนผ่านแอพฯ ตัวเดียวกันนี้ ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแอพฯ มากขึ้นและในที่สุดยังทำให้มีโอกาสตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนในอนาคตได้ง่ายและเร็วขึ้น
นอกจากนี้ความพร้อมในการให้บริการยังเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปัจจุบันพบว่ามีลูกค้า 80% ที่เปิดเครื่องไม่เป็น ไม่รู้แน่ชัดในการใช้แอพฯ ดาวน์โหลดแอพฯ สิ่งที่พบกว่าความต้องการมี เพียงแต่จะจัดบริการให้เข้าถึงง่ายและเร็วที่สุดได้อย่างไร ChatON บนฟีเจอร์โฟนคือการตอบโจทย์นี้เช่นกัน
แต่ทำแล้วไม่โปรโมตแอพฯ ก็คงไม่เกิด ตามสูตรอยากให้แอพฯ ดังก็ต้องมีกระบวนการสื่อสาร ChatON บนฟีเจอร์โฟนรอบนี้ ซัมซุงจึงจัดแคมเปญเต็มที่ด้วยทีวีซีและอีเวนต์เปิดตัวที่ให้ “ณเดชน์ คูกิมิยะ” เป็นพระเอกมาขี่ม้าขาว กลางลานเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อให้ภาพเป็นข่าวได้ฟรีมีเดียอย่างเต็มที่
“วิชัย” บอกว่าแอพฯ เปรียบเสมือนทุกอย่างในบ้าน และโลกอนาคตแอพฯ จะสำคัญกว่าโทรศัพท์ ที่ค่ายมือถืออย่างซัมซุงต้องนำเสนอให้ลูกค้า อย่างตัวเขาเองได้คุยกับนักพัฒนาเพื่อนำเสนอแอพฯ ที่เหมาะกับเซกเมนต์ต่างๆ ได้ เช่น แอพฯ สำหรับกลุ่มแม่ กลุ่มวัยรุ่น
ปัจจุบันสมาร์ทโฟนซัมซุงรันบนแอนดรอยด์ และบาดาที่เป็นโอเอสของซัมซุงเอง ที่ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอพฯ ได้จากทั้งสองตลาด และยังมีซัมซุงแอพสโตร์เองที่ซัมซุงสร้างขึ้นเป็นทางเลือกบนหน้าจอลูกค้าในปัจจุบัน
นี่คือความสำคัญที่ “วิชัย” บอกว่าเมื่อลูกค้าซื้อโทรศัพท์มือถือ ลูกค้าจะถามว่าจะให้อะไรเขาบ้าง การมีแอพฯ ที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า “เราอยากบอกลูกค้านี่เป็นแอพฯ ของซัมซุง ที่เราทำให้ เพื่อให้รู้ค้ารู้สึกแฮปปี้