แคมเปญออนไลน์หลังความตาย

ใครก็หนีความตายไม่พ้น ในโลกออนไลน์ก็เช่นกัน ด้วยสถิติทุกๆ 1 นาที จะมีสมาชิกเฟสบุ๊ก เสียชีวิต 3 คน และมีสมาชิกเฟสบุ๊ก 1.78 ล้านคน เสียชีวิตในปี 2011 เห็นข้อมูลนี้แล้วก็อย่าเพิ่งตกใจไป ว่าเฟสบุ๊กไปทำให้ใครตายรึเปล่า? เพราะจากสถิตินี้กำลังจะบอกว่าสมาชิกเฟสบุ๊กจากทั่วโลกมีเเนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งในอนาคตพวกเขาก็ต้องตาย  และเมื่อเขาตายข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ของพวกเขาจะถูกเก็บไปไว้ไหน? 

Lifeinsurancefinder.com เวปไซต์ประกันชีวิตของออสเตรเลียได้ออกมาทำให้คนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการมี “พินัยกรรมข้อมูลดิจิตอล” เพื่อให้เเน่ใจว่าหลังจากเราตายแล้วข้อมูลจะไม่ถูกละเมิด  นำไปเผยแพร่ หรือใช้ในเชิงพาณิชย์  ทั้งยังกระตุ้นให้เวปไซต์โซเชียลมีเดียทั้งหลายมีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลข้อมูลหลังการตายของสมาชิกอีกด้วย

ไม่เพียงแต่ Lifeinsurancefinder สนใจประเด็นชีวิตหลังความตายบนโลกออนไลน์  ยังมีองค์กรและหลายบริษัทออกมาทำธุรกิจเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายนี้ เช่น

 

if i die ชวนคนฝากข้อความสุดท้ายของชีวิตไว้ในเวปไซต์  เพื่อรอเวลาเมื่อเราตาย  ข้อความนี้จะถูกส่งไปยังเพื่อนของเราที่ถูกเลือกไว้  ดูเป็นไอเดียที่เหมือนจะเเช่งตัวเองอยู่ซักหน่อย แต่ก็มีคนกดไลค์ในเฟสบุ๊กกว่าหมื่นคนแล้ว

Book of Fame หนังสือที่จะรวบรวมทุกเรื่องราวในเฟสบุ๊กของคุณไม่ว่าใครจะมาโพสมาแชร์อะไร  ทุกเรื่องจะถูกเก็บไว้หมด  เรียกว่าเป็นอัตชีวประวัติที่ไว้แจกให้ผู้คนในวันสุดท้ายของชีวิตคุณได้เลย

 

แคมเปญ Digital Death ที่ให้เหล่าเซเลบต้องตายจากชีวิตโซเชียลมีเดียไปชั่วคราวเพื่อให้เหล่าแฟนๆFollowers ร่วมบริจาคเงินไถ่ชีวิตคืน ซึ่งเมื่อถึงเป้าหมายหนึ่งล้านดอลลาร์  ทุกๆคนจะกลับมามีชีวิตอีกครั้ง  ส่วนเงินที่ได้จะนำไปช่วยเหลือผู้ติดเชื้อHIVในแอฟริกาและอินเดีย  ถือเป็นการสละชีวิตเพื่อ “ให้” อีกชีวิตอย่างคุ้มค่าเดียว

เห็นได้ว่าชีวิตหลังความตายบนโลกออนไลน์ยังเอามาทำประโยชน์ได้อีกเยอะ  แต่หากจะเอามาใช้กับคนไทยคงต้องหาวิธีพูดเบาๆกว่านี้หน่อย…ก็อาจจะเข้าท่า