Yamaha บิดสองล้อบนสนามบอลไทย

แทนที่จะใช้ทีมฟุตบอลระดับอินเตอร์เหมือนแบรนด์อื่นๆ   “ยามาฮ่า” เลือกฟุตบอลลีกของไทย เป็นสูตรในการปั้นแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ   

ช่วงเวลาหลายปีมานี้ ยามาฮ่าเดินกลยุทธ์  Sport Marketing ชัดเจนผ่านฟุตบอลไทย โดยสร้างชื่อพร้อม ๆ กับความดังของไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ด้วยการเป็น Naming Sponsor  สนาม “ยามาฮ่า สเตเดี้ยม” สนามเหย้าของทีมเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด  จนกระทั่งเมืองทองฯ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น และมี SCG มาแทนที่ยามาฮ่า

ความพยายามต่อไปของยามาฮ่า คือการเป็น Title Sponsor ของการแข่งขันฟุตบอล ดิวิชั่น 1 หรือ ลีค 1 จนกลายเป็น “ยามาฮ่า ลีค วัน”  ด้วยงบ 60 ล้านบาท ในเวลา 3 ปี ที่ทำให้แบรนด์ของยามาฮ่า ยังคงอยู่ในวงการคอบอลที่ชื่นชอบบอลไทย เช่นเดียวกับที่เครื่องดื่มสปอนเซอร์ และเอไอเอส ที่สนับสนุน ฟุตบอลไทย พรีเมียร์ ลีก และ การแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น ลีค 2 

 

ป้ายเกม โชว์รถจยย. จัดเต็มนอกสนาม

ลีค 1 เป็นลีกที่อยู่ตรงกลางระหว่างความสนใจของแฟนบอลในระดับภูมิภาคกับทั่วประเทศในวงกว้าง  “ประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์”  รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ให้เหตุผลที่เลือกลีค 1 ว่า  “มาตรฐานของทีมในลีค 1 ก็มีมาตรฐานเดียวกับทีมในไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก เพราะเป็นทีมที่เตรียมตัวเลื่อนชั้นขึ้นลีกสูงสุด”  

“นอกจากยามาฮ่า ลีค 1 แล้ว  เรายังสนับสนุนทีมอย่างเมืองทอง, บุรีรัมย์, ชลบุรี (ในระดับไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก) ซึ่งทีมเหล่านี้ไม่ต้องพูดถึงความนิยมแล้วเพราะเป็นระดับท็อป แต่ยังมีทีมอย่างภูเก็ต ลำพูน ซึ่งเราส่งคนไปดูแล้ว วัดจากบรรยากาศในสนามของทีมเหล่านี้ พบว่าแฟนบอลเต็มความจุ มีความเป็นท้องถิ่นสูง คนในจังหวัดเขาเข้าไปเชียร์กัน เพราะกระแสของฟุตบอลมาไกลแล้ว ไม่ใช่จำกัดแค่ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีกแล้ว”

“ประพันธ์” บอกว่ามีการสำรวจว่ากีฬาอะไรคือกีฬที่วัยรุ่นไทยชอบมากที่สุด ผลปรากฏว่าเป็น ฟุตบอลมากกว่า  90% อันดับ 2 แบดมินตัน ตัวเลขห่างกันประมาณ 40 %

อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับสิทธิของการเป็นผู้สนับสนุนแล้ว ส่วนที่จะทำให้คุ้มกับการจ่ายเงินลงไป ต้องอาศัยกิจกรรมในสนามเป็นหลัก ถึงแม้ว่าในปีนี้จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันทั้งทางทรูวิชั่นส์และสทท. 11 แล้ว แต่จำนวนผู้ชมยังไม่มากเท่าไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก

ด้วยประสบการณ์ของยามาฮ่า พบกว่า กิจกรรมภายในสนามที่แฟนบอลชื่นชอบต้องสร้างประสบการณ์กับภาพจำที่ดีของแบรนด์ อย่างเช่น มินิ เกมส์ ให้เตะฟุตบอลเข้าประตู  ส่วนเรื่องของการสร้างเชื่อมโยงกับสินค้า กับแบรนด์ ต้องเข้าไปทุกสนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมตช์ใหญ่จะต้องมีทีม Activation ของยามาฮ่าเอารถจักรยานตัวจริงไปให้แฟนบอลได้สัมผัส ขณะที่ประโยชน์พวกสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายข้างสนามจะช่วยในเรื่องของการถ่ายทอด และสร้างการรับรู้ 

 

ดึง”เจลีก” ย้ำภาพแบรนด์ “ญี่ปุ่น”ดีกว่า

นอกเหนือจากเรื่องการทำกิจกรรมระดับ Local เพื่อความใกล้ชิดกับฐานลูกค้าของยามาฮ่า การกระดับแบรนด์ในเรื่องของคุณภาพและไลฟ์สไตล์ก็เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินไปคู่กัน ในเมื่อยามาฮ่าเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่น ที่คนไทยให้การยอมรับอยู่แล้ว การโยงภาพกลับไปสู่ Japanese Brand ก็ทำให้ได้ความเชื่อถือ

ขณะนี้เตรียมเจรจาจัดแม็ตช์พิเศษระหว่างแชมป์ ยามาฮ่า ลีค 1 กับ ทีม จูบิโล อิวาตะ จากเจลีก ซึ่งเป็นทีมที่ยามาฮ่าให้การสนับสนุน เพราะเป็นทีมที่อยู่ในเมืองที่ตั้งสำนักงานใหญ่ยามาฮ่า งกิจกรรมนี้ก็ทำให้ภาพลักษณ์สมรรถนะของแบรนด์ญี่ปุ่นชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีความตั้งใจที่จะเปิดโอกาสให้แชมป์บอลจากดิวิชั่นรองลงมาได้สัมผัสกับเกมส์ระดับนานาชาติ ซึ่งแมตช์แบบนี้จะได้รับความสนใจในระดับแมส รวมทั้งแฟนบอลตัวจริงก็เห็นถึงระดับการพัฒนาของบอลไทย 

จากการใช้สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งของยามาฮ่าตลอดมา บวกกับกิจกรรมอื่น ทำให้การวัดผลด้าน Brand Equity Index ของยามาฮ่าในกลุ่มวัยรุ่นอยู่ในเกณฑ์สูง

“ฟุตบอลเป็นกิจกรรมที่ให้ผล 2 ด้าน 1.CSR เราทำธุรกิจในประเทศไทยมา 40 กว่าปี เรื่องกีฬาก็เป็นส่วนที่บริษัทให้การสนับสนุน 2.ในเชิงการตลาดเมื่อทีมฟุตบอลมีแฟนบอลมากขึ้น ก็ทำให้แบรนด์ยามาฮ่าถูกพบเห็นไปด้วย ซึ่งมันไม่ใช่แค่เรื่องยอดขาย แต่ต้องเน้นด้านแบรนด์ดิ้งก่อน” 

สำหรับคู่แข่งรายสำคัญของยามาฮ่าอย่างฮอนด้า ที่ชัดเจนว่าไปกับลีกอินเตอร์อย่างทั้ง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด  และลิเวอร์พูล และยังเป็นสปอนเซอร์ถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร ในไทย แต่งานนี้ยามาฮ่าชัดว่าไม่ Me too และไม่ชน ย้ำชัด ๆ ว่าขอเเน้นที่บอลลีคของไทยตามแนวทางของตัวเองมากกว่า 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

วิธีการที่แบรนด์ต่างชาติเข้าสู่สนามบอลไทยยังมีวิธีการที่น่าสนใจอีกมากมาย
ผ่านดีลการเป็นสปอนเซอร์ด้วยวิธีการใหม่ๆ  เช่น

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>แบรนด์

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>งบประมาณ

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>สัญญาร่วมกับ

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>สิทธิประโยชน์

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>สินค้า/
บริการ

แอร์ เอเชีย

10 ล้านบาท

TPL – โลโก้ แอร์ เอเชีย
ที่แขนเสื้อด้านขวาของผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินในไทยแลนด์
พรีเมียร์ ลีค เดินทางด้วยสายการบินแอร์ เอเชีย
เพื่อตัดสินเกมส์ในต่างจังหวัดฟรี –
การใช้ชื่อการแข่งขันฟุตบอลลีคในการประชาสัมพันธ์โฆษณา – ป้ายข้างสนาม TPL เอไอเอ ทุนประกัน 2,000 ล้านบาท 29 สโมสรจาก TPL, ลีค 1,ลีค 2 – การใช้ชื่อสโมสรทั้ง 29
แห่งที่มอบกรมธรรม์ให้มาทำสื่อประชาสัมพันธ์ มอบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับนักฟุตอบล
1,170 กรมธรรม์ แฟนบอลอีก 3,200 กรรมธรรม์