“ญี่ปุ่น” วางแผนสร้างระบบขนส่งสินค้าอัตโนมัติ แก้ปัญหาการขาดแคลนคนขับรถบรรทุก

ญี่ปุ่น กําลังวางแผนที่จะสร้างทางเดินขนส่งสินค้าอัตโนมัติ ระหว่างโตเกียวและโอซาก้า แก้ปัญหาการขาดแคลนคนงานในการขับรถบรรทุก เนื่องจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีการบังคับใช้กฎหมายแรงงานใหม่ที่จํากัดจํานวนพนักงานขับรถล่วงเวลาที่สามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและการทํางานมากเกินไป 

โดยประเทศญี่ปุ่นมีการใช้รถบรรทุกในการขนส่งกว่า 90% และประมาณ 60% เป็นการขนส่งผลิตผลของสด เช่น ผักและผลไม้ มาจากสถานที่ห่างไกลที่ต้องใช้รถบรรทุก ภายใต้กฎหมายดังกล่าว ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่า ความสามารถในการขนส่งโดยรวมของญี่ปุ่นจะลดลง 34% ภายในปี 2030 และความสามารถในการขนส่งภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 4.3 พันล้านเมตริกตัน 

แผนโครงการสร้างระบบขนส่งอัตโนมัตินี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ได้กําหนดจํานวนเงินทุน แต่โครงการนี้ถูกมองว่าเป็นวิธีสําคัญวิธีหนึ่งในการช่วยให้ประเทศรับมือกับปริมาณการขนส่งที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการในการจัดส่งจากการช้อปปิ้งออนไลน์พุ่งสูงขึ้นในช่วงโควิด ตามข้อมูลของรัฐบาล ระบุว่า มีผู้ใช้งานการจัดส่งออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% ของครัวเรือนญี่ปุ่น แม้ว่าประชากรโดยรวมจะลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากอัตราการเกิดลดลงก็ตาม

อีกทั้งงานขับรถบรรทุกส่งของในญี่ปุ่นเป็นมีงานที่ลําบาก เพราะในการส่งของแต่ละครั้ง คนขับจะต้องอยู่บนถนนเป็นเวลาหลายวัน และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตราการเสียชีวิตประจําปีจากการขับขี่รถบรรทุกในการส่งของ ที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจนทำให้มีผู้เสียชีวิต มีประมาณ 1,000 ราย ซึ่งดีขึ้นจากในปี 2010 ที่มีผู้เสียชีวิตเกือบ 2,000 ราย ทำให้คนหางานไม่ค่อยอยากทำงานขับรถบรรทุกส่งของกันเท่าใดนัก

Yuri Endo รองผู้อํานวยการอาวุโสที่ดูแลความพยายามที่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว กล่าวว่า ญี่ปุ่นจําเป็นต้องมีนวัตกรรมเหล่านี้มาช่วยแก้ปัญหากําลังแรงงานที่ขาดแคลน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งจะใช้ระบบการขนส่งอัตโนมัติและไร้คนขับตลอด 24 ชั่วโมง และช่วยลดภาระงานที่ไม่จำเป็นออกไป นอกจากนั้นระบบขนส่งสินค้าอัตโนมัตินี้ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนอีกด้วย 

รัฐบาลได้เผย VDO กราฟิกที่แสดงให้เห็นกล่องที่มีล้อเคลื่อนขนาดใหญ่เคลื่อนที่ไปตามถนนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นทาง 3 เลนกลางทางหลวงขนาดใหญ่ของประเทศ รัฐบาลยังระบุอีกว่า ระบบทดลองดังกล่าว จะเริ่มมีการทดสอบในปี 2027 หรือต้นปี 2028 โดยตั้งเป้าดําเนินการเต็มรูปแบบภายในปี 2030

เบื้องต้น ระบบขนส่งสินค้าอัตโนมัตินี้มีไว้สําหรับการจัดส่งทางธุรกิจระหว่างโตเกียวและโอซาก้า และอาจขยายไปยังเส้นทางอื่นๆ หากการทดสอบทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี แต่ก็ยังต้องอาศัยแรงงานมนุษย์ในขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นการจัดส่งสินค้าตามบ้านอยู่

ที่มา : Japan Today