หลังจากประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 – 2564 จนการบินไทยมีส่วนทุนติดลบ 7 หมื่นล้านบาท หนี้ 1.3 แสนล้านบาท และเจ้าหนี้ 1.3 หมื่นราย จนท้ายที่สุดต้องยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2563 ก่อนที่ศาลล้มละลายกลางจะเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ วันที่ 20 ต.ค. 2565 ในที่สุด การบินไทยก็เตรียมออกจากแผนฯ ภายในไตรมาส 2/2568 พร้อมกับเผยแผนที่จะชิงแชร์กลับมาเป็น 35% ใน 5 ปี
ธุรกิจการบินยังสดใส
รายได้รวมของสายการบินทั่วโลกในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 119% ของรายได้รวมก่อน COVID-19 หรือ 996,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 9.7% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยมาจากการเพิ่มขึ้นของผู้โดยสาร และผลตอบแทนต่อผู้โดยสาร
ที่น่าสนใจคือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำในการเติบโต โดยในเดือนกันยายน 2567 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีส่วนล่าคัญต่อการเดิบโตของ ปริมาณการขนส่งด้านผู้โดยสาร (Revenue Passenger-Kilometer: RPK) ทั่วโลn โดยคิดเป็นสัดส่วน มากกว่าครึ่งหนึ่ง ของการเพิ่มขึ้นของการเดินทางของผู้โดยสาร (TreMfie) ในอุตสาหกรรม
โดยภายในปี 2568 คาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะเติบโต 2.1 เท่า คิดเป็นจำนวน 8,600 ล้านคน และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของการเติบโตนี้ โดยระหว่างปี 2566-2586 คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยที่ 5.3% ต่อปี ซึ่งถือว่าเติบโตสูงที่สุด แปลว่าการเติบโตยังมีแน่นอน และไทยถือเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคที่มีการเติบโตมากที่สุด
ให้บริการแบบเครือข่าย และเน้นขายตรง
เพื่อจะฉกฉวยโอกาสดังกล่าว ชาย เอี่ยมศิริ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงแผนของ การบินไทย ในการสร้างการเติบโต โดยมีเป้าหมาย เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 35% ภายใน 5 ปี (2572) จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดที่ 26% ขณะที่เคยทำได้สูงสุดในปี 2556 ที่มีส่วนแบ่งตลาด 42%
เริ่มจากการเป็น Network Airline โดยเน้นการเชื่อมต่อเที่ยวบินจากไทยไปภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารทั่วโลก จากที่ในอดีต การบินไทยจะเน้นที่การขายตั๋วแบบ จุดต่อจุด
ในส่วนของ ช่องทางจัดจำหน่าย ก็เป็นส่วนสำคัญ เพราะช่วยให้บริษัททำ กำไร ได้ดีขึ้น โดยบริษัทมีแผนจะปรับปรุงช่องทางจัดจำหน่ายโดยจะเน้น ขายตรง มากขึ้น โดยปัจจุบันสัดส่วนการขายตั๋วตรงอยู่ที่ 33% เพิ่มขึ้น +8% โดยในปีหน้าจะปรับปรุงเว็บไซต์ และ ปรับปรุงแอปพลิเคชันใหม่ ให้เป็นโมบายแพลตฟอร์มจากที่ผ่านมาเป็นกึ่งเว็บเบส โดยวางเป้าเพิ่มสัดส่วนเป็น 35% ในปีหน้า
เพิ่มฝูงบิน พร้อมลดประเภทเครื่องบิน
อีกส่วนที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดก็คือ การเพิ่มฝูงบินเพื่อเพิ่มคาปาซิตี้ จากปัจจุบันการบินไทยมีฝูงบิน 77 ลำ เพิ่มเป็น 143 ลำ ภายในปี 2576 โดยที่ ประเภทของเครื่องบิน ต้องลดลงเหลือ 4 ประเภท เพื่อให้บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากที่ก่อนฟื้นฟูกิจการ บริษัทมีเครื่องบินถึง 8 ประเภท
โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้เจรจาและเข้าทำข้อตทลงทับ Boeing และ GE Aerospace เพื่อจัดหาเครืองบินลําใหม่จํานวน 45 ลำ พร้อมกับสิทธิในการจัดหาเพิ่มอีก 35 ลํา
โปร่งใสในการซื้อ และหาราคาที่คุ้มสุด
สำหรับการจัดซื้อเครื่องบิน การบินไทยตั้งเป้าจัดซื้อ 150 ลำภายในปี 2576 ซึ่งกระบวนการจัดซื้อจากนี้จะ ดีลตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ ไม่มีค่าคอมมิชชั่น โดยได้ออกเอกสารยื่นเสนอราคา (REP) รวมถึงเจรจาต่อราคาโดยตรงกับผู้ผลิตเครื่องบินทั้งหมด อีกทั้งจะคำนวณราคาในมุม Total Cost ไม่ว่าจะเป็นราคาเครื่อง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เพื่อหาราคาคุ้มที่สุด
“ตอนเป็นรัฐวิสาหกิจ เราใช้เวลา 3-4 ปี กว่าจะจัดซื้อเครื่องบิน ซึ่งระยะเวลาที่นานทำให้เราพลาดที่จะได้เทคโนโลยีล่าสุด แต่ตอนนี้เราใช้ระยะเวลาเพียง 9 เดือนในการเซ็นสัญญา”
ลดต้นทุนให้แข่งขันได้
ส่วนต้นทุนอื่น ๆ บริษัทจะใช้เกณฑ์วัดของอุตสาหกรรมคือ ต้นทุนต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (Cost per Available Seat Kilometer : CASK) เป็นตัวชี้วัด โดยในช่วงแรกของการฟื้นฟูธุรกิจ สิ่งที่การบินไทยปรับปรุงมากที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร โดยลดจาก 30,000 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 23% จนเหลือ 14,000 คน ขณะที่ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นเป็น 17,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Font line โดยเป้าหมายระยะยาวบริษัทต้องลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรให้เหลือ 13% จากปัจจุบันทำได้เหลือประมาณ 10%
“อะไรที่ใช้คนซ้ำ ๆ เราก็ใช้ระบบออโตเมชั่น ให้คนไปทำงานอื่น ๆ แทน หรือการเช็กอินเราใช้ระบบได้หมด ความเสี่ยงลดลง ประสิทธิภาพดีขึ้น”
เดินหน้าออกแผนฟื้นฟูในกลางปีหน้า
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีเจ้าหนี้แสดงเจตนาแปลงหนี้เป็นทุนเพิ่มเติมเป็นจำนวนมากในระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และได้มีเจ้าหนี้จำนวนมากแสดงเจตนารวมกันเกินกว่า 3 เท่าของจำนวนหุ้นที่มีรองรับตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ล่าสุด การบินไทยได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822.5 ล้านหุ้น มูลค่าไม่เกิน 44,004.7 ล้านบาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของการบินไทยก่อนการปรับโครงสร้างทุน และพนักงานของการบินไทย ตามลำดับ ในราคา 4.48 บาทต่อหุ้น โดยสามารถจองซื้อและชำระเงินระหว่างวันที่ 6 – 12 ธันวาคม 2567
โดยกระบวนการปรับโครงสร้างทุนเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 จากนั้น การบินไทยจะจัดการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่ ตามเงื่อนไขในแผนฟื้นฟูกิจการ และยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ เพื่อนำหุ้น THAI กลับมาเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในไตรมาส 2/68
สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2567 การบินไทยมีจำนวนผู้โดยสารกว่า 11.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 14.7% เมื่อเทียบกับงวด 9 เดือนของปี 2566 นอกจากนี้ ยังมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) 47,778 ล้าน ASK เพิ่มขึ้น 19.2% และในส่วนของกำไร (ขาดทุน) อยู่ที่ 24,191 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 29,330 ล้านบาท และ EBITDA อยู่ที่ 33,742 ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 37,590 ล้านบาท