ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) รายงานผลสำรวจความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ช่วงครึ่งปีหลัง 2567 ว่า ภาพรวมผู้บริโภคมีความต้องการซื้อบ้านสูง 50% ภายใน 1 ปีนี้ แต่หากเจาะลึกความพร้อมทางการเงิน พบว่า
- กลุ่มมีเงินเก็บพอซื้อบ้าน มีเพียง 33%
- กลุ่มเก็บเงินซื้อบ้านได้ครึ่งทาง 48%
- กลุ่มไร้แผนเก็บเงินซื้อบ้าน 18%
“คนวางแผนซื้อบ้านไม่มีความพร้อม ส่วนกลุ่มผ่อนบ้านคอนโดก็เริ่มมีปัญหาการผ่อนชำระ ปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคจึงเลือกเก็บออมเงินเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต”
สอดคล้องกับข้อมูลจากเครดิตบูโร ระบุ ไตรมาส 3 ปี 2567 หนี้ครัวเรือนไทยในฐานข้อมูลเครดิตบูโรมีมูลค่า 13.6 ล้านล้านบาท (จากหนี้ครัวเรือนทั้งระบบ 16.3 ล้านล้านบาท) เติบโต 0.5% (YoY) ในจำนวนนี้เป็นหนี้เสีย (NPL) มูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท ครองสัดส่วน 8.8% ของหนี้รวมทั้งหมด เพิ่มขึ้น 14.1% (YoY) สูงสุดในรอบ 12 ปี (นับแต่ไตรมาส 4 ปี 2555)
“ความต้องการซื้อ” ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ โต 10-19% บ้านหรูพุ่ง
1.คอนโด +19%
- ระดับราคายอดฮิต 1-2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% (YoY)
2.บ้านเดี่ยว +10%
- ระดับราคายอดฮิต 3-4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% (YoY)
- ราคา 10-20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% (YoY)
3.ทาวน์เฮ้าส์ +10%
- ระดับราคายอดฮิต 1-2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% (YoY)
“ความต้องการเช่า” ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ โต 12-25%
1.คอนโด +12%
- ระดับราคาที่นิยม 7,5001-10,000 บาท/เดือน ลดลง 12% (YoY)
2.บ้านเดี่ยว +25%
- ระดับราคายอดนิยม 12,501-15,000 บาท/เดือน เพิ่มขึ้น 8% (YoY)
3.ทาวน์เฮ้าส์ +10%
- ระดับราคายอดนิยม 12,501-15,000 บาท/เดือน เพิ่มขึ้น 5% (YoY)
ตลาดเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ยังคงมีแนวโน้มเติบโตเช่นกัน
- คอนโด เพิ่มขึ้น 10% ระดับค่าเช่าที่คนสนใจมากสุด 7,501-10,000 บาท/เดือน ลดลง 18% (YoY)
- บ้านเดี่ยว เพิ่มขึ้น 30% ระดับค่าเช่าสุดฮิต 100,001-200,000 บาท/เดือน เพิ่มขึ้น 38% (YoY)
- ทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 23% ระดับค่าเช่าฮิตสุด 12,501-15,000 บาท/เดือน ลดลง 11% (YoY)
“การตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพยังเป็นอีกปัจจัยที่ผลักดันให้ระดับค่าเช่าบ้านเดี่ยวปรับสูงขึ้น ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริโภคระดับบนที่ไม่ต้องการย้ายถิ่นฐานถาวรหรือชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในไทย (Expat)”
อสังหาปี 68 ฟื้นตัวแบบ K-Shaped
โดยสรุป อสังหากลุ่มบนขยายตัวได้ดี ส่วนกลุ่มกลาง-ล่างยังลำบาก เนื่องจากผู้บริโภคขาดสภาพคล่องการเงิน
สะท้อนจากข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ระบุว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ช่วง 9 เดือนแรกปี 2567 มีมูลค่า 419,812 ล้านบาท ลดลง 16.2% (YoY) ส่วนอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) ในปีนี้ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50%
ปัจจัยที่น่าจับตา ได้แก่
- คนหาบ้านยังไม่หลุดพ้น “กับดักหนี้” อุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้าน มาจาก หน้าที่การงานที่ไม่มั่นคง (56%) และประวัติหนี้เสียในเครดิตบูโร (41%)
- การผิดนัดชำระหนี้บ้านมีอัตราเร่งตัว (อ้างอิง สศช.) ในไตรมาส 3 ปี 2567 มูลค่าหนี้เสียที่สูงถึง 23.2% จาก 18.2% (QoQ) และสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 4.34% จาก 3.98% (QoQ) “ส่วนใหญ่เป็นบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท“
- ดีมานด์ที่อยู่อาศัย Upper Class ราคา 7-15 ล้านบาท ชะลอตัว สวนทางซัพพลายเพิ่มขึ้น 17-24%