“CLIC TGV” ( คลิ๊กทีจีวี ) เป็นบริการใหม่ที่ให้ผู้โดยสารสามารถเข้าชมข้อมูลต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย WiFi(1) ขณะโดยสารรถไฟความเร็วสูงทีจีวีของประเทศฝรั่งเศส โดยข้อมูลดังกล่าวมีหลากหลายหัวข้อ ซึ่งรวมถึง รายการบันเทิงต่างๆ CLIC TGV นี้อยู่ในระยะทดลอง โดยเริ่มมีขึ้นเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา โดยจะทำการทดลองเป็นระยะเวลา 6 เดือน เฉพาะเส้นทางระหว่างเมืองปารีส – บอร์โดซ์ – โป
ข้อมูลที่ให้เลือกชมมีหลายหัวข้อไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วๆ ไป ได้แก่ พยากรณ์อากาศประจำวัน ข่าวสาร สาระ น่ารู้ต่างๆ เป็นต้น หรือข้อมูลเกี่ยวกับทีจีวี TGV ได้แก่ ตารางเวลา ผังสถานี ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในเส้นทางเดินรถ หรือข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์และเกมส์ต่างๆ ซึ่งผู้โดยสารสามารถเลือกเล่นได้ นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังสามารถรับส่งอีเมล์ ผ่านเมล์บ็อกซ์ของตนได้
ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้บริการ Clic TGV ได้โดยการเช่าคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง WiFi จากบู๊ทของ Cin?train บริเวณสถานี หรือหากผู้โดยสารนำคอมพิวเตอร์ส่วนตัวซึ่งได้ติดตั้ง WiFi และหูฟังมาเองก็ไม่ต้องเสียค่าบริการ โดยผู้โดยสารจะต้องทำการใส่รหัสเพื่อเข้าชมข้อมูลจากเครือข่าย(2)
ในขั้นทดลองนี้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ประสิทธิภาพการทำงานของ WiFi ในการรับส่งข้อมูลระหว่างภาคพื้นดินและบน รถไฟทีจีวีซึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยอาจมีการขยายบริการไปยังเส้นทางอื่นขึ้นอยู่กับการตอบรับของ ผู้โดยสาร
สถาปัตยกรรมของอุปกรณ์ประเภทต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้บริการต่างๆ ของ Clic TGV ได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานที่เข้ากันได้กับเทคโนโลยี WiFi (หรือ RLAN) โปรแกรมการเข้าใช้บริการ Clic TGV ซึ่งติดตั้ง ไว้ในเครื่องแม่ข่ายบนทีจีวีทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานระหว่างตัวอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่ติดตั้ง WiFiกับส่วนที่ให้บริการ โดยเครื่องแม่ข่ายนี้เก็บคำสั่งในการเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตของการรถไฟแห่งฝรั่งเศส รวมถึงคำสั่งในการ ติดต่อสื่อสารและคำสั่งในการจัดการระบบ
เครื่องแม่ข่ายบนรถไฟทีจีวีนี้เชื่อมโยงกับเครื่องแม่ข่ายศูนย์กลางบนภาคพื้นดิน โดยเครื่องแม่ข่ายภาคพื้นดินทำหน้าที่คอยตรวจดูความเรียบร้อยในการทำงานประสานกันในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องแม่ข่ายภาคพื้นดินและบนทีจีวี
————————————–
(1) เทคโนโลยีไร้สายเสถียร (wireless Fidelity) : เป็นชื่อทางการค้าของเทคโนโลยีเครือข่ายการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ซึ่งเป็นเช่นเดียวกันกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยเทคโนโลยี WiFi นี้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ (พกพา หรือมือถือ – PDA) โทรทัศน์ และเครื่องพิมพ์
(2) ค่าเช่า 8 ยูโร สำหรับคอมพิวเตอร์พกพาที่ติดตั้ง WiFi และหูฟัง
ค่าเช่า 3 ยูโร สำหรับหูฟัง
เครือข่ายคลื่นวิทยุที่ติดตั้งบนทีจีวีต้องมีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินการจริง อาทิ การทำงานของระบบ ความต่อเนื่องในการทำงาน (ไม่ติดขัด) คุณภาพของบริการ ความปลอดภัยของระบบ ความสามารถในการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพให้ดีขึ้นได้ เป็นต้น
ในช่วงขั้นทดลองนี้ ได้มีการทดลองใช้กับรถไฟทีจีวีทั้งหมด 15 คัน โดยแต่ละคันได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ อันเป็น ส่วนประกอบของระบบ ได้แก่ เครื่องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ บริดจ์คลื่นวิทยุและอุปกรณ์รับส่ง คลื่นวิทยุสำหรับระบบขนส่ง ระบบศูนย์กลางติดต่อระหว่างระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล(GSM)กับระบบส่งข้อมูลผ่าน คลื่นวิทยุโดยใช้รหัส 01 (GPRS) และระบบเครื่องหาพิกัดนำทางจากดาวเทียม (GPS)
โปรแกรมการเข้าใช้บริการ Clic TGV เครื่องแม่ข่ายเว็บ ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ โมเด็มสำหรับ GSM/GPRS ฮับคลื่นวิทยุ เครื่องรับสัญญาณ GPS/GPRS (ติดตั้งบนหลังคารถไฟ ทีจีวี) และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ช่วยให้อุปกรณ์ประกอบเหล่านี้ สามารถทำงานติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเป็นระบบ จากการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ข้างต้นทำให้ผู้โดยสารรถไฟสามารถติดต่อ กับโลกภายนอกด้วยการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GSM ที่เปิดให้บริการโดยผู้ประกอบการฝรั่งเศส
โครงการทดลอง Clic TGV ถือเป็นระยะแรกในเรื่องการรับส่งข้อมูลบนระบบขนส่งผ่านเครือข่ายโดยใช้คลื่นวิทยุ ในอนาคตจะมีการขยายผลโดยนำผลต่างๆ ที่ได้มาทำการตรวจสอบเพื่อเพิ่มอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างภาคพื้นดิน กับบนระบบขนส่ง ให้มีการรวมระบบ GPRS ซึ่งเป็นมาตรฐานการใช้งานของระบบนี้เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานของระบบให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบที่ติดตั้งบนทีจีวีนี้ให้สามารถติดต่อกับเครือข่ายไร้สาย ต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมายตลอดเส้นทางเดินรถ และพัฒนาให้สามารถติดต่อเชื่อมโยงได้กับจานดาวเทียม
บริการ WiFi Gare ( “ไว-ไฟ การ์” ) : การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี WiFi ภายในสถานีรถไฟ
การรับส่งข้อมูลผ่านสถานีคลื่นวิทยุที่ติดตั้งไว้ตามสถานีต่างๆ รวมถึงความเข้ากันได้ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ประเภทต่างๆ ในยุคปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์พกพา คอมพิวเตอร์มือถือ PDA ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้เทคโน โลยี WiFi ได้
การติดตั้งเครือข่ายตามสถานีต่างๆ ยังช่วยให้การรถไฟแห่งฝรั่งเศสสามารถรับทราบข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับเวลา เข้า-ออกสถานีของขบวนรถ การจราจรบนเส้นทางเดินรถ การบริการของแต่ละสถานี การบริการในด้านขนส่งทั้งขาเข้า-ออกของสถานี และข้อมูลของแต่ละเมือง นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ชอบท่องอินเทอร์เน็ตยังสามารถรับส่งอีเมล์ ล็อกอินเข้าใช้ ระบบ อินทราเน็ต และเลือกชมเว็บต่างๆ ตามที่ชอบได้
หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการทดลองที่สถานีรถไฟการ์ ดู นอรด์ ( Gare du Nord — สถานีรถไฟสาย เหนือในกรุงปารีส )มาแล้ว จึงได้มีการติดตั้งเทคโนโลยี WiFi ขึ้นที่สถานีรถไฟในเมืองลิลล์ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อันได้แก่ สถานีลิลล์ ฟล็องดร์ (Gare de Lille Flandres) และสถานีลิลล์-อูรอป ( Lille Europe ) ตั้งแต่เดือนกันยายน ที่ผ่านมา
ทุกวันนี้ผู้โดยสารสถานีปารีส มงต์ปาร์นาส ( Paris Montparnasse) สถานีบอร์โดซ์ แซงต์ ฌอง ( Bordeaux Saint Jean) และ สถานีโป (Pau) สามารถใช้บริการ WiFi ภายในสถานีได้
ด้วยบริการ Clic TGV และ WiFi Gare ดังกล่าว ผู้โดยสารที่เดินทางในสายปารีส-บอร์โด-โป จึงได้รับสิทธิ ประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลอย่างเต็มที่
อนึ่ง บริการ Clic TGV เกิดจากความร่วมมือในด้านความรู้ความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีระหว่างองค์กรต่างๆ ทั้งหมด 11 แห่ง ได้แก่ บริษัท IBM, หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศฝรั่งเศส (M?t?o France), สำนักข่าวฝรั่งเศส (AFP), บริษัท Cin?train (ให้เช่าเครื่องเล่นดีวีดี แผ่นดีวีดีภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค WiFi) , E.W.E. everywhere entertainment (ผู้เชี่ยวชาญในระบบโต้ตอบด้านบันเทิงออนไลน์), SFR (ผู้ดำเนินการเอกชนรายแรก ในฝรั่งเศสที่ดำเนินการด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่), Le Routard สำนักพิมพ์คู่มือท่องเที่ยว, Dreamap (ผู้เชี่ยวชาญการ ดำเนินการระบบสื่อสารคมนาคมและระบบเคลื่อนที่และระบบตำแหน่งที่ตั้ง) สำนักข่าว Relaxnews (ข่าวกิจกรรมพักผ่อน ยามว่าง), สถานีข่าว Makkina News (ออกอากาศข่าวผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์) ศูนย์ศึกษาสถาปัตยกรรมเครือข่าย BGI (ดูแลด้านข้อมูลเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์เคลื่อนที่)
ภาพประกอบที่ 1 และ 2 : ผู้โดยสารกำลังใช้งาน Clic TGV 2