ISO 22000 เกี่ยวข้องกับใคร อะไร และทำไม

ISO 22000 เป็นมาตรฐานที่ช่วยบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของบริษัทภาคอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับการรับรองว่ามีความสามารถในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับผู้บริโภค การรับรองแบบใหม่นี้จะรับประกันในเรื่องใดและเกี่ยวข้องกับองค์กรใด รวมทั้งอะไรคือสาเหตุที่ทำให้บริษัทต่างๆ ก้าวเข้าสู่ระบบการรับรองดังกล่าว เราจะได้ศึกษากันให้ชัดเจนขึ้นในที่นี้
ERTIFICIOQ I2000

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บางประเทศได้พัฒนามาตรฐานเฉพาะของประเทศตนขึ้น โดยยึดตามระเบียบวิธีของ HACCP (การประเมินระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร) เพื่อประกันความปลอดภัยของอาหาร (โดยประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนีใช้มาตรฐาน IFS (International Food Standard) ส่วนสหราชอาณาจักรใช้มาตรฐาน BRC (British Retail Consortium) ซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความหวาดกลัวในอาหาร อายุของผลิตภัณฑ์บนชั้นวางจำหน่ายที่นานขึ้น และขนาดของห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยาวขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานนัก เป็นที่ประจักษ์ว่า จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานร่วมกันในระดับสากลที่สร้างความสอดคล้องในทางปฏิบัติแก่ทุกฝ่ายในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผู้ผลิต ให้สามารถจัดหาอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ISO 22000 ผลิตผลจากความร่วมมือของ 45 ประเทศ

ภายหลังจากการศึกษาร่วมสามปี องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO ได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาตรฐานทั่วไปขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 มาตรฐานดังกล่าวได้แก่ ISO 22000 หรือระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเป็นผลจากฉันทามติของ 45 ประเทศ โดยได้รวมเอาหลักการ HACCP เข้ากับระบบการจัดการที่บริษัทต่างๆ รู้จักอยู่แล้ว ISO 22000 จึงมีองค์ประกอบที่คุ้นเคยกันดี นอกจากนี้ ยังมีความสอดคล้องกับ ISO 9001 จึงช่วยให้บังคับใช้ได้ง่ายขึ้น หลังการประกาศมาตรฐานดังกล่าวไม่กี่เดือน ก็ได้มีการรับรองมาตรฐาน ISO 22000 ให้กับบริษัทในภาคเกษตรกรรมและอาหารเป็นรายแรกๆ อีริค เลอ กาล หัวหน้าฝ่ายเกษตรกรรมอาหารและตลาด FMCG แห่งบริษัท AFAQ AFNOR ซึ่งเป็นหน่วยงานให้การรับรองที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสและของโลก ได้เน้นในเรื่องนี้ว่า “มาตรฐาน ISO 22000 เป็นวิธีที่ชอบธรรมในการยกระดับการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารและแสดงถึงสมรรถนะในการจัดการความเสี่ยงของบริษัททั้งหลาย”

มาตรฐานที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน
การรับรองมาตรฐาน ISO 22000 เป็นระบบที่เข้าถึงได้ และมีนัยว่าจะเป็นที่สนใจของผู้ที่ทำงานในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกิจการประเภทใด ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ว่าใครก็ตามก็สามารถมีจุดอ่อนได้เช่นกัน ซึ่งควรจะได้รับการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยของห่วงโซ่อาหารทั้งระบบ ตั้งแต่เกษตรกรรมต้นน้ำ (เกษตรกร หรือผู้ผลิตขั้นต้น) ไปสู่การกระจายสินค้า (ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบการด้านการบริการอาหาร ร้านอาหาร) ตลอดจนกระบวนการผลิตอาหาร (ผู้ผลิตอาหารชนิดต่างๆ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหาร) และแม้แต่เครื่องมือเครื่องจักรหรือวัสดุ (ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์) อีริค เลอ กาล อธิบายว่า “บริษัทต่างๆ ขอรับการรับรอง ISO 22000 ด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบริษัทผู้ส่งออก จึงต้องการระบบที่เป็นสากลที่จะช่วยให้การค้าราบรื่นขึ้น ในขณะที่บางบริษัทก็ต้องการสร้างความแข็งแกร่ง ความพร้อมตรวจสอบ และการยอมรับจากบุคคลที่สามในด้านการจัดการด้านการวิเคราะห์ นอกจากนั้น บริษัทบางส่วนก็ต้องการเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่ อาทิ มาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 หลักการ HACCP มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และ/หรือมาตรฐาน BRC หรือ IFS ณ ขณะนี้ จะเห็นได้ว่าบางภาคอุตสาหกรรม อาทิ ภาคบรรจุภัณฑ์ ภาคอุตสาหกรรมไวน์และแอลกอฮอล์ให้ความสนใจในระบบ ISO 22000 เป็นพิเศษและมุ่งมั่นในการขอรับการรับรอง อนึ่ง จากนี้ไปจนถึงช่วงสิ้นปีคาดว่าจะมีบริษัทจำนวนหนึ่งที่จะผ่านการรับรองมาตรฐานดังกล่าว “ความปรารถนาที่จะสร้างความเป็นเอกภาพให้กับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารนี้อาจเปรียบได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมรถยนต์เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา กล่าวคือ ก่อนที่จะมีการตกลงออกเป็นมาตรฐานสากล บริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรายต่างก็ได้เคยกำหนดมาตรฐานของตนเองขึ้นใช้ในการปฏิบัติการและใช้กับบริษัทผู้รับเหมา” อีริค เลอ กาล กล่าวเพิ่มเติม

สนใจรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐาน ISO 22000 โปรดติดต่อ :
คุณกนกศรี เกียรติโพธิ์ชัย (Ms.Kanoksri Kiatpochai)
Sales Supervisor
AFAQ & BestCERT (Thailand) Co.,Ltd.
213/17 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท21
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 02 258 0260-2 โทรสาร: 02 258 0263
มือถือ : 081 337 7147
อีเมล: [email protected]