ฟิล์มพลาสติกและสิ่งทอเพื่อการเกษตร

ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย แม้ในฤดูใบไม้ผลิอากาศยังค่อนข้างหนาว เกษตรกรที่นั่นพยายามสรรหาวิธีที่จะทำให้พืช ผัก ผลไม้ ของตนให้ผลผลิตที่เร็วขึ้นเพื่อให้พร้อมวางจำหน่าย ในตั้งแต่ช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ (ต้นมีนาคม) หนึ่งในบรรดาเทคนิคที่นิยมใช้ ได้แก่ การใช้ฟิล์มพลาสติกและสิ่งทอ เพื่อการเกษตร (agrotextile) เดิมฟิล์มที่ใช้อยู่มีทั้งแบบที่ทอและไม่ทอ แบบบางและแบบหนา นอกจาก จะเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นไม้และให้การผลิดอกออกผลเป็นไปอย่างปกติแล้ว ยังช่วยป้องกันผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของอากาศ ป้องกันแมลง แสงยูวี เนื่องจากมีการนำฟิล์มพลาสติก มาใช้งานกันอย่างหลากหลายมากขึ้น ในอนาคต ผลิตภัณฑ์แบบที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติน่าจะได้รับความ นิยมมากขึ้น

ขณะนี้ ในฝรั่งเศส มีการปลูกข้าวโพดโดยใช้สิ่งทอพลาสติกถึง 25,000 เฮกตาร์ โดยเฉพาะในภาค ตะวันตกเฉียงเหนือ(แถบเบรอตาญ) ซึ่งเป็นเขตที่มีการผลิตข้าวโพด และเป็นบริเวณที่อากาศหนาวในฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิ ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวโพด การปลูกข้าวโพดใต้พลาสติก ทำให้ต้นอ่อนโตได้เร็วขึ้น เพราะว่าดินจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น การเก็บเกี่ยวทำได้เร็วกว่าปรกติประมาณ 15 วันและผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 5-6 ตันต่อ เฮกตาร์ แต่การลงทุนจะเพิ่มขึ้น 280 ยูโรต่อเฮกตาร์ (ฟิล์มราคา 180 ยูโร ส่วนอีก 100 ยูโรคือค่าเครื่องจักรที่ปูฟิล์ม)
สำหรับการประยุกต์ใช้ในพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ของฝรั่งเศส ขณะนี้ มีเพียงข้าวโพดอย่างเดียวที่ใช้การปู ฟิล์มบนต้นอ่อน

อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถพบเห็นการปิดคลุมพื้นที่ปลูกด้วยฟิล์มในแปลงผักหลายแห่ง อาทิ แปลง ปลูกแตงเมลอน อองดีฟ ผักกาดหอม ถั่วแขก ถั่วแฮริคอทขาว มันฝรั่ง โดยระบบรากของต้นไม้อยู่ใต้ฟิล์มส่วน ของต้นจะอยู่เหนือฟิล์ม ถ้าปลูกเมลอนในตอนใต้ของฝรั่งเศสในเดือนมีนาคม จะทำให้เก็บเกี่ยวได้ล่วงหน้า 10-15 วัน ซึ่ง ราคาขายจะสูงกว่าปรกติ 30-40 % แปลงปลูกที่ทำจากพลาสติกทำให้ได้ผลผลิตนอกฤดูกาล เพิ่มความสะอาดให้กับ พืชผักและเพิ่มปริมาณน้ำตาลด้วย

ฟิล์มสีดำเพื่อการป้องกันวัชพืช

ฟิล์มส่วนใหญ่ทำมาจากโพลีเอธิลีนที่มีความหนาแตกต่างกันออกไปขึ้นกับการใช้งาน อาจจะมีความหนาตั้งแต่ 10-12 ไมครอนสำหรับการปลูกข้าวโพด ถึง 80 ไมครอนสำหรับการปลูกผัก สีของฟิล์มมีความสำคัญ ฟิล์มสีดำสามารถ ดูดกลืนแสงได้อย่างสมบูรณ์ ป้องกันการเติบโตของวัชพืชได้ดี แต่ก็มีข้อจำกัดด้านความร้อน ในขณะที่ฟิล์มที่ยอมให้แสง ผ่านได้ หรือไม่มีสีทำให้พื้นดินร้อนแต่ก็ทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี จากการสำรวจของผู้ประกอบการพลาสติกเพื่อการ เกษตร พบว่าจำนวนฟิล์มที่ใช้ทั้งหมดในฝรั่งเศสสูงถึง 100,000 เฮกตาร์ ต่อปี

ฟิล์มชนิดไม่ทอ

ผู้ปลูกผักใช้ฟิล์มที่ทำด้วยโพลีเอธิลีนเจาะรู (500-1000 ช่อง / ตารางเมตร) เพื่อเป็นที่กันลม ฟิล์มโพลีเอธิลีน สีขาวชนิดที่ไม่ทอ สามารถใช้เพื่อป้องกันอากาศหนาวได้ ฟิล์มดังกล่าวมีลักษณะเป็นแผ่นใยซึ่งยอมให้น้ำและอากาศ ผ่านได้ ทั้งยังช่วยป้องกันลมและอากาศหนาวโดยการสร้างภูมิอากาศที่เหมาะสมเหนือพื้นดิน อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 oC ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่ทำให้ผักสลัดกลายเป็นน้ำแข็ง” ฟิล์มโพลีเอธิลีนนี้ผลิตโดยการทำให้เส้นใยกระจายและผนึกกัน เป็นแผ่น โดยการกดทับและให้ความร้อน การผลิตวิธีนี้จะทำให้ฟิล์มมีความแข็งแรงทั้งด้านแนวกว้างและแนวนอน ความ ต้องการ ใช้ฟิล์มเพื่อการเพาะปลูกของตลาดฝรั่งเศส อยู่ที่ราว 60 ล้านตารางเมตร ต่อปี ฟิล์มชนิดนี้ใช้ได้หลายครั้ง โดยเฉลี่ยมีอายุการใช้งาน 2 ปี เท่ากับว่า ขณะนี้ มีพื้นที่เพาะปลูกผัก และผลไม้มากถึง 12,000 เฮกตาร์ ในฝรั่งเศส ที่ใช้ฟิล์มชนิดนี้ ฟิล์มและแผ่นใยชนิดไม่ทอสามารถนำไปปูโดยตรงกับพื้น หรือสวมทับโครงเหล็กในลักษณะ อุโมงค์ขนาดเล็ก หรือติดตั้งเข้ากับโรงเรือนตามความสูงที่ต้องการได้ง่าย ส่วนฟิล์มโพลีเอธิลีนที่เป็นแถบบางขนาดเล็ก ก็ใช้ สำหรับการเพาะปลูกด้วย

การประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันแมลงและรักษาสภาพอากาศ

เกษตรกรผู้ปลูกผักใช้ตาข่ายที่ทำจากไนลอนหรือโพลีเอสเทอร์เพื่อป้องกันแมลง ตาข่ายมีช่องขนาดเล็กสม่ำเสมอ ไม่ทำให้สภาพอากาศบริเวณหน้าดินเปลี่ยนแปลง ถึงขณะนี้ตลาดของตาข่ายนี้เพิ่งเริ่มและอยู่ระหว่างการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตผักชีวภาพสนใจการใช้ตาข่ายอย่างมาก เพราะว่าไม่อนุญาตให้เกษตรกรใช้สารปราบศัตรูพืช และยังเป็น ที่สนใจของเกษตรกรที่ไม่ได้ผลิตผักชีวภาพ เพราะไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพขณะเก็บเกี่ยว ตาข่ายดังกล่าวสามารถ ป้องกันแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรสามารถคำนวนค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้องเพราะทราบปริมาณตาข่ายที่จะใช้ สำหรับสวนผลไม้ เกษตรกรจะใช้ตาข่ายที่ถักจากเส้นใยโพลีเอธีลีน โดยจะติดตั้งบนไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันต้นไม้จากการ เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

การประยุกต์ใช้ในโรงปศุสัตว์

ฟิล์มพลาสติกยังใช้ได้กับโรงเลี้ยงสัตว์ โดยทำเป็นผ้าใบบังลมเพื่อระบายอากาศในโรงเลี้ยงวัว แกะ แพะ และหมู โรงเรือนแบบนี้ จะประกอบด้วยผนังปิด 3 ด้าน และผนังเปิดด้านหลังหนึ่งด้าน โดยด้านหลังนี้ผู้เลี้ยงสัตว์จะติดตั้งผ้าใบ ชนิดที่มีเส้นใยพีวีซีเป็นส่วนประกอบเพื่อระบายอากาศ โดยผ้าใบนี้กั้นลมได้ 50-90 % ซึ่งจะติดตั้งในลักษณะคล้าย ผ้าม่าน มีทั้งแบบถาวรและแบบปิดเปิดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ผ้าใบหลายชนิดเข้าด้วยกัน เช่นสำหรับความสูง 4 เมตร ทั้งนี้ ใน 2 เมตรแรกซึ่งอยู่ในระดับที่สัตว์อาศัยอยู่ จะใช้ผ้าใบที่กันลมได้ 90 % และส่วนที่เหลือด้านบน ใช้ผ้าใบที่ยอมให้ลมผ่าน 50 % ผ้าใบนี้ทำด้วยโพลีเอสเทอร์หรือโพลีเอธีลีน

นอกจากนี้ ฟิล์มเพื่อการเกษตรยังได้ถูกพัฒนาเป็นถุงบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ อาทิ กระสอบสำหรับเก็บรักษา เมล็ดพันธ์และปุ๋ย สิ่งทอเพื่อการเกษตรและฟิล์มที่ใช้กับโรงเรือนเพาะปลูก สามารถใช้งานได้หนึ่งครั้งหรือหลายครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน จากนั้นจะถูกนำไปผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้ ยกเว้นฟิล์มที่บางมากๆ ที่ใช้ คลุมพื้นดิน ซึ่งฟิล์มชนิดหลังนี้ทางบริษัทที่ทำการรีไซเคิลเห็นว่า สกปรกมากไม่เหมาะที่จะทำการรีไซเคิล ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิต ฟิล์มเพื่อการเกษตรจึงได้พัฒนาฟิล์มพลาสติกที่ย่อยสลายได้ด้วยแสงและย่อยสลายเองตามธรรมชาติ ฟิล์มนี้ทำจากวัสดุ ชนิดใหม่ได้ถูกทดสอบในด้านเทคนิคและคุณสมบัติต่อสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีผักและผลไม้ (CTIFL) ราคาของ ฟิล์มชีวภาพเป็นข้อจำกัดการใช้ แต่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

เรื่องน่ารู้

วัสดุที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (Biodegradable)

ผู้ผลิตฟิล์มโพลีเอธีลีนสำหรับคลุมผิวดินได้พัฒนาฟิล์มให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ ด้วยการผสมกับสารเติม แต่งที่ไวต่อแสงยูวี ซึ่งสามารถกำหนดหรือชะลอการทำปฏิกิริยากับแสงยูวี ทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานตามความต้องการ ของการเพาะปลูก และย่อยสลายเมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยปฏิกิริยาของแสงและผลของอุณหภูมิ เราเรียกวิธีนี้ว่า “การ ย่อยสลายด้วยแสง” หรือ “Photodegradation” แต่ปรากฎการณ์นี้จะไม่เกิดกับฟิล์มที่ฝังอยู่ในดิน หลายปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตให้ความสนใจกับวัสดุที่ย่อยสลายด้วยจุลชีพในดิน การวิจัยเป็นไปใน 2 ทิศทาง คือ การพัฒนาโพลีเมอร์ชีวภาพ จากผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี และโพลีเมอร์ที่เป็นโพลีเอสเทอร์ผสมกับแป้งข้าวโพด

แปลจากบทความเรื่อง Plastic films and agricultural textiles from every angle ของ Blandine Cailliez