ซันนีเวล, แคลิฟอร์เนีย–(บิสิเนส ไวร์)–2 ธ.ค. 2547 – บริษัท 25 แห่งจาก 100 แห่งที่ติดอันดับใน Fortune Global 100 ตระหนักถึงความมุ่งมั่นของ AMD ที่ให้ความใส่ใจลูกค้าเพื่อช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ ให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)
เนื่องด้วย 25 % ของบริษัทที่ติดอันดับใน Fortune Global 100 ใช้ระบบโพรเซสเซอร์ AMD Opteron(TM) บริษัท AMD จึงออกมาประกาศในวันนี้ที่จะสนับสนุนธุรกิจการใช้โพรเซสเซอร์ AMD Opteron ซึ่งเป็นโพรเซสเซอร์ 32 บิท และ 64 บิท ที่ใช้งานได้กับเซิร์ฟเวอร์ในตระกูล X86 โดยนับตั้งแต่มีการเปิดตัวมานานกว่า 1 ปีนั้น บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 จากอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ บริการทางการเงิน, ประกัน, การผลิต, รถยนต์ และพลังงาน ต่างก็เลือกใช้ระบบโพรเซสเซอร์ AMD Opteron เพื่อทำงานกับแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่สำคัญๆ โดยโพรเซสเซอร์ AMD Opteron จะช่วยคุ้มครองการลงทุน โดยทำให้ธุรกิจต่างๆสามารถทำงานบนแอพพลิเคชั่น 32 บิทที่มีอยู่ ด้วยประสิทธิภาพที่โดดเด่น ขณะเดียวกันก็นำเสนอช่องทางในการพัฒนาไปสู่ระบบประมวลผล 64 บิทด้วย
“ด้วยการปฏิบัติงานระดับโลกเหมือนระบบ Microsoft Treasury เป็นการยืนยันว่า AMD กำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจโดยทำให้การพัฒนาไปสู่ระบบประมวลผล 64 บิทกลายเป็นจริง” นายเฮนรี ริชาร์ด รองประธานบริหารฝ่ายขายและการตลาดทั่วโลกของ AMD กล่าว “ADM64 จะเป็นสถาปัตยกรรมเดียวสำหรับเซิร์ฟเวอร์ เดสก์ท็อป และแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ และด้วยการรองรับระบบปฏิบัติการ Windows(R), Solaris และ Linux นั้น เทคโนโลยี AMD64 จะเสนอทางเลือกให้กับธุรกิจต่างๆ มากที่สุดในโลกในการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์ 64 บิท”
ระบบ Microsoft Treasury ซึ่งดูแลสินทรัพย์ทางการเงินมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ให้กับไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่นนั้น ต้องอาศัยโพรเซสเซอร์ประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อช่วยในการวัดและวิเคราะห์พอร์ทการลงทุนทั่วโลกของบริษัทไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นบริษัทซอฟท์แวร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก ระบบ Microsoft Treasury ได้เลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานด้วยโปรแกรม public beta ของเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2003 Enterprise x64 Edition ซึ่งประกอบด้วยโพรเซสเซอร์ AMD Opteron แบบ 4 ทางและ 2 ทางบนพื้นฐานของเทคโนโลยี AMD64 พร้อมด้วยสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อโดยตรง
นายแม็กซ์ จิโอลิตติ ผู้จัดการความเสี่ยงของ Microsoft Treasury กล่าวว่า “ก่อนการใช้เซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2003 แบบ 64 บิทบนพื้นฐานของเทคโนโลยี AMD64 นั้น เรามักต้องแยกข้อมูลทางการเงินก่อนการใช้งานโปรแกรมเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้งานระบบที่หนักเกินไป”
“แต่ขณะนี้ เราสามารถโหลดข้อมูลทุกชุดและยังคงทำงานบนแอพพลิเคชั่นตามที่ได้รับการออกแบบให้ปฏิบัติการได้ และสิ่งที่ดีที่สุดก็คือเราไม่ต้องเขียนรหัสใหม่ เพราะระบบดังกล่าวมีความสามารถระดับสูงในการทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ”
บริษัท Bell Helicopter ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิตเฮลิคอปเตอร์เพื่อการพาณิชย์และการทหาร และเป็นบริษัทในเครือ Textron, Inc. ซึ่งติดอันดับ Fortune 500 นั้น นับเป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมเฮลิคอปเตอร์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยเฉพาะเครื่องบินที่ทันสมัยในตระกูล tiltrotor ทั้งนี้ ขณะที่สัญญาเช่าเวิร์คสเตชันเกือบ 250 เวิร์คสเตชันซึ่งรองรับการทำงานของทีมออกแบบและวิศกรรมของบริษัทกำลังจะหมดอายุนั้น บริษัท Bell ต้องการที่จะเปลี่ยนระบบที่มีอยู่เป็นแพลตฟอร์มประสิทธิภาพสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นซึ่งถูกใช้ในการออกแบบเฮลิคอปเตอร์ที่มีความก้าวล้ำมากที่สุด
นิค มิลเลอร์ ผู้จัดการฝ่ายบริการด้านไอทีกลุ่ม CAD/CAM/CAE Group ของบริษัท Bell Helicopter ในเครือของ Textron กล่าวว่า หลังจากที่ทำการสำรวจเวิร์คสเตชั่นที่มีอยู่จำนวนมากในตลาด บริษัท Bell ได้ตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มที่อยู่บนพื้นฐานของโพรเซสเซอร์ AMD Opteron “ด้วยแนวคิดในการพัฒนาจากระบบประมวลผล 32 บิทไปเป็น 64 บิทนั้น ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายที่จะเลือกใช้ระบบโพรเซสเซอร์ของ AMD Opteron”
“ด้วยความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย และเหตุผลมากมาย ที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกช่องทางในการพัฒนาจากระบบประมวลผล 32 บิท เป็น 64 บิท โดยมีเพียงโพรเซสเซอร์ AMD Opteron เท่านั้นที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถเสนอขีดความสามารถดังกล่าว”
ด้านเควิน น็อกซ์ รองประธานฝ่ายขายและการตลาดสำหรับธุรกิจทั่วโลกของ AMD กล่าวว่า “เทคโนโลยี AMD64 ช่วยให้ธุรกิจชั้นนำในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง รวมถึง Bell Helicopter รับรู้ถึงประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของแอพพลิเคชั่นประมวลผล 32 บิทในวันนี้ และเสนอช่องทางในการพัฒนาไปสู่ระบบประมวลผล 64 บิทเมื่อพวกเขามีความพร้อม”
โพรเซสเซอร์ AMD Opteron ยังคงได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการทำงานของเวิร์คสเตชันและเซิร์ฟเวอร์ตระกูล x86 โดยมาตรฐานทางอุตสาหกรรมสำหรับเวิร์คสเตชั่น ซึ่งได้แก่ MCAD, MCAE และการสร้าง digital content ยืนยันว่าโพรเซสเซอร์ AMD Opteron มีประสิทธิภาพเป็นผู้นำอุตสาหกรรมสำหรับเวิร์คสเตชั่นแบบโพรเซสเซอร์ 1 ตัวและ 2 ตัว ขณะที่มาตรฐานของอุตสาหกรรมสำหรับแอพพลิเคชั่นที่สำคัญๆ ของธุรกิจซึ่งรวมถึงระบบส่งข้อความและการทำงานร่วมกัน, การประมวลผลประสิทธิภาพสูง และการท่องเว็บยืนยันว่า โพรเซสเซอร์ AMD Opteron เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดในโลกให้กับเซิร์ฟเวอร์แบบโพรเซสเซอร์ 2 ตัวและ 4 ตัว
หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริษัทต่างๆ อาทิ BNP Paribas, Sabre Holdings, VeriSign, Genialloyd และ ฯลฯ ได้ประโยชน์อย่างไรจากแพลตฟอร์มที่ทำงานด้วยโพรเซสเซอร์ AMD Opteron นั้น กรุณาดูจากเว็บไซต์ www.amd.com/enterprise
เกี่ยวกับโพรเซสเซอร์ AMD Opteron(TM)
โพรเซสเซอร์ AMD Opteron เป็นโพรเซสเซอร์ 32 และ 64 บิท ตัวแรกของโลกที่ใช้งานได้กับสถาปัตยกรรม x86 และเป็นโพรเซสเซอร์ที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยี AMD64 พร้อมด้วยสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Connect Architecture) สถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อโดยตรงจะช่วยลดปัญหาติดขัดใน front-side bus โดยเชื่อมต่อโพรเซสเซอร์, ตัวควบคุมหน่วยความจำ และ I/O ไปยังหน่วยประมวลผลกลางโดยตรง เพื่อให้ระบบทั้งหมดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัท AMD เป็นบริษัทแรกที่ประกาศเสร็จสิ้นการออกแบบโพรเซสเซอร์แบบ dual core บนสถาปัตยกรรม x86 และเป็นบริษัทแรกที่สาธิตโพรเซสเซอร์แบบ dual core บนสถาปัตยกรรม x86 สำหรับการประมวลผลแบบ 32 และ 64 บิท ขณะที่ มีผู้ให้บริการโซลูชั่นเข้าร่วมใช้เทคโนโลยี AMD64 มากขึ้นนั้น อุตสาหกรรมนี้ก็กำลังใกล้จะถึงวันที่ระบบประมวลที่มีเพียง 32 บิท กลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย
เกี่ยวกับบริษัท AMD
บริษัท AMD (NYSE:AMD) เป็นผู้ออกแบบและผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ที่นำสมัย, อุปกรณ์หน่วยความจำ Flash และโซลูชั่นโพรเซสเซอร์ที่ใช้พลังงานน้อย สำหรับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์, สื่อสาร และสินค้าอิเล็คทรอนิคส์ AMD มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่นมาตรฐานที่เน้นการใช้งานของลูกค้าที่ใช้เทคโนโลยี ตั้งแต่ธุรกิจและรัฐบาลไปจนถึงผู้บริโภครายบุคคล หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูจาก www.amd.com
AMD, AMD Arrow logo, AMD Opteron และส่วนประกอบอื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท Advanced Micro Devices, Inc ส่วน Microsoft และ Windows เป็นเครื่องหมายการค้าของไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่นในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ขณะที่ชื่ออื่นๆ ใช้เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและอาจเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของที่เกี่ยวข้อง