ซันนี่เวล, แคลิฟอร์เนีย และ อีสต์ ฟิชคิล, นิวยอร์ก–(บิสิเนสไวร์)–13 ธันวาคม 2457 – เอเอ็มดี (NYSE:AMD) และไอบีเอ็ม ประกาศในวันนี้ว่า ทั้ง 2 บริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์แบบสเตรนซิลิคอน (strained silicon) ที่ใหม่และไม่เหมือนใคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติการและประสิทธิภาพด้านพลังงานของตัวประมวลผล (โปรเซสเซอร์) ซึ่งผลของการพัฒนาดังกล่าวปรากฏว่า สามารถเพิ่มความเร็วของทรานซิสเตอร์ได้มากถึง 24% ที่ระดับพลังงานเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับทรานซิสเตอร์ลักษณะเดียวกันที่ผลิตโดยไม่อาศัยเทคโนโลยีดังกล่าว
ทรานซิสเตอร์ทีมีความเร็วและสามารถควบคุมพลังงานได้สูงขึ้นเป็นตัวขัดขวางโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและกินไฟต่ำลง กล่าวคือ เมื่อทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลง การปฏิบัติการก็เร็วขึ้น แต่ก็เสี่ยงต่อการใช้พลังงานและความร้อนสูงขึ้น เนื่องจากการรั่วของกระแสไฟฟ้าหรือการปิด-เปิดสวิตซ์ที่ขาดประสิทธิภาพ สเตรนซิลิคอนซึ่งร่วมกันพัฒนาโดยเอเอ็มดีและไอบีเอ็มจะช่วยพิชิตความท้าทายเหล่านี้ได้ อีกทั้งการพัฒนานี้ยังจะทำให้เอเอ็มดีและไอบีเอ็มเป็นบริษัทแรกที่เปิดตัวสเตรนซิลิคอน ซึ่งทำงานร่วมกับเทคโนโลยีที่ใช้ซิลิคอนเป็นฉนวนนำ (silicon-on-insulator – SOI) โดยเห็นผลได้จากประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นและประโยชน์ในการประหยัดพลังงาน
“เทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ต่างๆ อย่าง สเตรนซิลิคอนช่วยให้เอเอ็มดีสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าของเรา” เดิร์ก เมเยอร์ รองประธานบริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของเอเอ็มดีกล่าว “การแบ่งปันกระบวนการในการพัฒนาเทคโนโลยีซิลิคอนแบบล้ำหน้าร่วมกันทำให้โปรเซสเซอร์ของเอเอ็มดีมีการประวลผลต่อวัตต์ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน และคาดว่า การพัฒนาสเตรนซิลิคอนจะขยายความเป็นผู้นำดังกล่าว เมื่อเราเริ่มจัดส่งดูอัล-คอร์โปรเซสเซอร์ AMD Opteron ตอนกลางปี 2548”
เอเอ็มดีมุ่งหมายที่จะรวมเทคโนโลยีสเตรน ซิลิคอน (strained silicon) แบบใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ในแพลตฟอร์มโปรเซสเซอร์ 90 นาโนเมตร (90nm) ทั้งหมดของบริษัท ซึ่งรวมถึงมัลติ-คอร์โปรเซสเซอร์ AMD64 และบริษัทมีแผนที่จะจัดส่งโปรเซสเซอร์ 90nm AMD64 ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นครั้งแรก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548
ด้านไอบีเอ็มก็มีแผนที่จะเปิดตัวเทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มโปรเซสเซอร์ 90nm ซึ่งรวมถึงชิปที่อิงอยู่กับ Power Architecture โดยกำหนดที่จะเริ่มส่งมอบผลิตภัณฑ์ตัวแรกในช่วงครึ่งแรกของปี 2548
ลิซ่า ซู รองประธานฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและแนวร่วม กลุ่มระบบและเทคโนโลยี บริษัทไอบีเอ็ม กล่าวว่า “นวัตกรรมดังกล่าวก้าวล้ำยิ่งขึ้น ในฐานะไดรฟ์เวอร์หลักของการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์”
“ความสำเร็จร่วมกับเอเอ็มดีในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าความตั้งใจของบริษัทที่จะแบ่งปันความชำนาญและทักษะของพวกเขา ทำให้พบวิธีใหม่ๆ ในการเอาชนะอุปสรรคที่กีดขวางและช่วยนำอุตสาหกรรมไปสู่ยุคใหม่ของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี” นางซูกล่าว
กระบวนการซิลิคอนสเตรนใหม่ ที่เรียกว่า “Dual Stress Liner” นั้น ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของทรานซิสเตอร์ในเซมิคอนดักเตอร์ทั้ง 2 แบบ ซึ่งได้แก่ n-chennel และ p-channel ด้วยการยืดอณูของซิลิคอนในทรานซิสเตอร์หนึ่งตัว และบีบอัดพวกมันกับทรานซิสเตอร์อีกตัวหนึ่ง
นักวิจัยของเอเอ็มดีและไอบีเอ็มถือเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมที่เสริมประสิทธิภาพการทำงานของทรานซิสเตอร์ทั้ง 2 แบบในเซมิคอนดักเตอร์ ด้วยการใช้วัตถุที่ธรรมดา
“ความก้าวหน้าของวิศวกรรมสเตรนซิลิคอนครั้งใหม่นี้เป็นผลมาจากการพัฒนาร่วมกัน และความพยายามของทีมหุ้นส่วนของเรา ทั้งที่โรงงานของไอบีเอ็มในนิวยอร์ก และของเอเอ็มดีในเยอรมนี” นิก เคปเลอร์ รองประธานฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีตรรกศาสตร์ของเอเอ็มดีกล่าว “นี่เป็นวิธีที่ดีกว่าเดิมในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการใช้พลังงาน ตามความคาดหวังของลูกค้าที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD Opteron และ AMD Athlon”
รายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรม AMD-IBM Dual Stress Liner จะได้รับการเปิดเผยในที่ประชุม IEEE International Electron Devices 2547 ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2547 สำหรับ Dual Stress Liner พร้อมด้วยเทคโนโลยี SOI ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยวิศวกรจาก ไอบีเอ็ม เอเอ็มดี โซนี่ และโตชิบา ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ของไอบีเอ็ม (IBM’s Semiconductor Research and Development Center – SRDC) ในเมืองอีสต์ ฟิชคิล รัฐนิวยอร์ก ตลอดจนวิศวกรของเอเอ็มดี ที่โรงงาน Fab 30 ในเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนี
ไอบีเอ็มและเอเอ็มดีร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ยุคหน้า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 เป็นต้นมา
เกี่ยวกับเอเอ็มดี
เอเอ็มดี (NYSE:AMD) คือผู้ออกแบบและผู้ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์, แฟลชเมมโมรี่ และโปรเซสเซอร์พลังงานต่ำ สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสาร และสินค้าอิเล็คทรอนิคส์ เอเอ็มดีคือผู้นำเสนอโซลูชั่นมาตรฐานที่มุ่งตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภคเทคโนโลยี ไล่ตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่และหน่วยงานภาครัฐ ไปจนถึงผู้บริโภคระดับทั่วไป ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.amd.com
เกี่ยวกับไอบีเอ็ม
ไอบีเอ็มเป็นที่ยอมรับในการด้านการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยได้พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เป็นรายแรก เช่น การเดินสายทองแดงซึ่งมีประสิทธิภาพในด้านพลังงานสูงกว่าอลูมิเนียม, ทรานซิสเตอร์ silicon-on-insulator (SOI) และ silicon germanium ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า เทคโนโลยีดังกล่าว รวมถึงนวัตกรรมอื่นๆ ทำให้ไอบีเอ็มสามารถรั้งตำแหน่งบริษัทที่ถือครองสิทธิบัตรมากที่สุดในสหรัฐฯ ติดต่อกันถึง 11 ปี รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของไอบีเอ็ม สามารถดูได้จาก http://www.ibm.com/chips
หมายเหตุ
บางข้อความในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นการคาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคล พ.ศ.2538 (Private Securities Litigation Reform Act of 1995) นักลงทุนพึงระลึกอยู่เสมอว่าข้อความที่เป็นการคาดการณ์ซึ่งปรากฏในข่าวประชาสัมพันธ์นี้ มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน อาจเป็นหรือไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ ความเป็นไปได้ที่เอเอ็มดีอาจไม่บรรลุผลสำเร็จตามกำหนดการในแผนผลิตภัณฑ์ปัจจุบันและเทคโนโลยีที่เปิดตัว ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในอนาคต ซึ่งรวมถึงมัลติ-คอร์ โปรเซสเซอร์ อาจจะไม่สามารถแสดงผลได้ตามข้อกำหนดที่วางไว้ เราแนะนำให้นักลงทุนพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน จากรายงานที่บริษัทส่งให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission) รวมไปถึงรายงานผลการดำเนินงานประจำปี แบบฟอร์ม 10-K สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 28 ธันวาคม 2546, รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส แบบฟอร์ม 10-Q สำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 26 กันยายน 2547
AMD, โลโก้ลูกศร AMD, AMD Athlon, AMD Opteron และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง เป็นเครื่องหมายการค้าของ Advanced Micro Devices, Inc. ส่วนชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อบริษัทอื่นๆ ที่ใช้ในเอกสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการระบุเท่านั้น และอาจเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อ:
บริษัท Waggener Edstrom สำหรับ AMD
Matt McGinnis, 512-527-7024
อีเมล์: [email protected]
หรือ
IBM
Chris Andrews, 914-766-1195
อีเมล์: [email protected]