MPEG LA ประกาศแผนสำหรับการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตร ATSC; โดยเชิญให้มีการยื่นสิทธิบัตรที่สำคัญเป็นขั้นตอนแรก

เดนเวอร์–(บิสิเนส ไวร์)–22 ธ.ค. 2547 – บริษัท MPEG LA, LLC ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรมาตรฐานด้านเทคโนโลยีที่ครบวงจร ได้ออกหนังสือเชิญในวันนี้ให้มีการยื่นสิทธิบัตรที่สำคัญต่อมาตรฐานโทรทัศน์ดิจิตอล ATSC (AMERICAN ADVANCE TELEVISION SYSTEM) ซึ่งใช้กันในสหรัฐฯ แคนาดา เกาหลีใต้ อาร์เจนตินา และเม็กซิโก โดยจุดประสงค์ของการออกหนังสือเชิญก็คือ การเริ่มกระบวนการประเมินและตัดสินสิทธิบัตรซึ่งสำคัญต่อมาตรฐาน ATSC เพื่อที่จะรวมสิทธิบัตรเหล่านั้นในใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรร่วมให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้อย่างเป็นธรรม, เหมาะสม และไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยมีการแนบข้อสรุปของแผน MPEG LA ที่เกี่ยวกับมาตรฐาน ATSC มาด้วย

“การใช้แผนนี้เพื่อพัฒนาใบอนุญาตร่วมในการใช้สิทธิบัตร ATSC (ATSC Patent Portfolio License) นั้น MPEG LA มุ่งมั่นที่จะเสนอโอกาสให้กับผู้ใช้มาตรฐาน ATSC เพื่อให้สามารถเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญภายใต้ใบอนุญาตเดียวบนเงื่อนไขของความเป็นธรรม, เหมาะสม และไม่เลือกปฏิบัติ ในฐานะที่เป็นทางเลือกหนึ่งในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการขออนุญาตกับเจ้าของสิทธิบัตรแต่ละราย” บารีน เอส ฟูตา ซีอีโอของ MPEG LA กล่าว “เรายินดีที่สามารถดำเนินการริเริ่มและเสนอบริการนี้เพื่อประโยชน์ของตลาดโทรทัศน์ซึ่งได้เลือกที่จะใช้มาตรฐาน ATSC สำหรับโทรทัศน์ดิจิตอล”

ผู้ใดที่เชื่อว่ามีสิทธิบัตรซึ่งสำคัญสำหรับมาตรฐาน ATSC และต้องการที่จะเข้าร่วมในใบอนุญาตร่วมในการใช้สิทธิบัตรตามการประเมินที่ประสบความสำเร็จ MPEG LA ขอเชิญให้ยื่นสิทธิบัตรของท่านเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรของ MPEG LA ทำการประเมินความสำคัญ โดยกำหนดให้มีการยื่นสิทธิบัตรครั้งแรกภายในวันที่ 15 ก.พ. 2548 สำหรับผู้สนใจอาจขอสำเนาเงื่อนไขและกระบวนการยื่นสิทธิบัตรโดยเข้าไปที่เว็บไซต์ www.mpegla.com หัวข้อ Programs in Development เรื่อง ATSC

เกี่ยวกับ MPEG LA, LLC

บริษัท MPEG LA เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรเทคโนโลยีที่ครบวงจร โดยทำให้ผู้ใช้สามารถใช้สิทธิบัตรที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานหรือแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงจากผู้ถือสิทธิบัตรหลายรายภายใต้ใบอนุญาตเดียว อันเป็นทางเลือกเพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการขออนุญาตกับเจ้าของสิทธิบัตรแต่ละราย ใบอนุญาตด้านสิทธิบัตรที่ครบวงจรจะให้ทางเลือกที่สะดวกสบายเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการนำทางเลือกด้านเทคโนโลยีของพวกเขามาใช้ โดยแบบจำลองการออกใบอนุญาตที่ริเริ่มและดำเนินการโดย MPEG LA อาจเป็นโซลูชันสำหรับผู้ใช้ ทั้งนี้ MPEG LA ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานมาตรฐานใดๆ และไม่ใช่บริษัทในเครือของผู้ถือสิทธิบัตรใดๆ MPEG LA ออกใบอนุญาตร่วมในการใช้สิทธิบัตรที่สำคัญสำหรับมาตรฐาน MPEG-2, IEEE 1394, DVB-T, MPEG-4 Visual (Part 2), MPEG-4 Systems และ AVC/H.264 (หรือ MPEG-4 Part 10) MPEG LA กำลังสนับสนุนการพัฒนาการออกใบอนุญาตร่วมใช้สิทธิบัตรที่เกี่ยวกับมาตรฐาน DRM Reference Model v 3.0 และ SMPTE VC-1 นอกจากนี้ MPEG LA ยังพยายามที่จะใช้แบบจำลองการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรในอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพและเวชภัณฑ์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูจากเว็บไซต์ www.mpegla.com

มาตรฐาน ATSC

มาตรฐาน ATSC ในที่นี้หมายถึงมาตรฐานต่างๆ ของการส่งสัญญาณภาคพื้นดินของโทรทัศน์ดิจิตอลที่ใช้กันในสหรัฐฯ แคนาดา เกาหลีใต้ อาร์เจนตินา และเม็กซิโก สำหรับการใช้เทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิตอลความคมชัดสูง (HDTV), โทรทัศน์ความคมชัดมาตรฐาน (SDTV) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ตามที่ระบุในเอกสารดังต่อไปนี้:

(1) เอกสาร A/53C: มาตรฐาน ATSC: มาตรฐานโทรทัศน์ดิจิตอล (A/53), ฉบับแก้ไข C รวมร่างแก้ไขหมายเลข 1 (http://www.atsc.org/standards/a_53c_with_amend_1.pdf);

(2) เอกสาร A/65B: มาตรฐาน ATSC: โปรโตคอลข้อมูลระบบโปรแกรมสำหรับการแพร่ภาพกระจายเสียงและเคเบิล (ฉบับแก้ไข B) (http://www.atsc.org/standards/a_65b.pdf);

(3) เอกสาร A/69: แนวทางการปฏิบัติ ATSC: แนวทางสำหรับผู้แพร่ภาพกระจายเสียงในการใช้โปรโตคอลข้อมูลระบบและโปรแกรม (http://www.atsc.org/standards/a_69.pdf);

(4) เอกสาร A/74: แนวทางการปฏิบัติ ATSC: แนวทางการดำเนินการของผู้รับสัญญาณ (http://www.atsc.org/standards/a_74.pdf); และ

(5) เอกสาร A/54A: แนวทางการปฏิบัติ: แนวทางสำหรับผู้ใช้มาตรฐานโทรทัศน์ดิจิตอล ATSC (http://www.atsc.org/standards/a_54a.pdf)

เอกสารแนบ

ต่อไปนี้คือข้อสรุปของแผน MPEG LA สำหรับการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรซึ่งสำคัญต่อมาตรฐาน ATSC:

1. เป้าหมาย
เพื่อสร้างกลุ่มของสิทธิบัตรที่สำคัญทั่วโลกซึ่งจำเป็นต่อการนำมาตรฐาน ATSC มาใช้ในเครื่องรับและระบบโทรทัศน์ดิจิตอลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายใต้ใบอนุญาตเดียว โดยสามารถเข้าถึงอย่างเป็นธรรม, เหมาะสม และไม่มีการเลือกปฏิบัติ

2. สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาต
สิทธิบัตรที่สำคัญจะประกอบด้วยสิทธิบัตรที่มีหนึ่งสิทธิหรือมากกว่าที่ถูกละเมิดโดยการใช้หรือการนำมาใช้ดังนี้:

(1) เอกสาร A/53C: มาตรฐาน ATSC: มาตรฐานโทรทัศน์ดิจิตอล (A/53), ฉบับแก้ไข C รวมร่างแก้ไขหมายเลข 1 (http://www.atsc.org/standards/a_53c_with_amend_1.pdf);
(2) เอกสาร A/65B: มาตรฐาน ATSC: โปรโตคอลข้อมูลระบบโปรแกรมสำหรับการแพร่ภาพกระจายเสียงและเคเบิล (ฉบับแก้ไข B) (http://www.atsc.org/standards/a_65b.pdf);
3) เอกสาร A/69: แนวทางการปฏิบัติ ATSC: แนวทางสำหรับผู้แพร่ภาพกระจายเสียงในการใช้โปรโตคอลข้อมูลระบบและโปรแกรม (http://www.atsc.org/standards/a_69.pdf);
(4) เอกสาร A/74: แนวทางการปฏิบัติ ATSC: แนวทางการดำเนินการของผู้รับสัญญาณ (http://www.atsc.org/standards/a_74.pdf); และ
(5) เอกสาร A/54A: แนวทางการปฏิบัติ: แนวทางสำหรับผู้ใช้มาตรฐานโทรทัศน์ดิจิตอล ATSC (http://www.atsc.org/standards/a_54a.pdf)

3. องค์กร
กลุ่มสิทธิบัตรอาจจำเป็นต้องอาศัยการดำเนินการอย่างน้อยที่สุดดังนี้:

หนึ่ง, ในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานการประเมิน MPEG LA ได้ทำการออกหนังสือเชิญที่ระบุไว้ในประกาศนี้สำหรับการยื่นสิทธิบัตรเพื่อรับการประเมินความสำคัญโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรและการรวมเข้าในใบอนุญาตร่วมหากสิทธิบัตรได้รับการตัดสินว่ามีความสำคัญ โดย MPEG LA จะอำนวยความสะดวกด้านกระบวนการประเมิน, การประชุมกลุ่มริเริ่มของผู้ถือสิทธิบัตรที่สำคัญและอำนวยความสะดวกในการพิจารณาเงื่อนไขของใบอนุญาตร่วมตามที่อธิบายข้างล่าง

สอง, ผู้ประเมิน (ที่ระบุข้างล่าง) จะประเมินความสำคัญของสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับมาตรฐาน ATSC ผู้ที่เชื่อว่ามีสิทธิบัตรที่สำคัญได้รับเชิญให้ยื่นสิทธิบัตรเหล่านั้นเพื่อการประเมินและการรวมตามเงื่อนไขและกระบวนการยื่นสิทธิบัตร (ดูข้างล่าง)

สาม, กลุ่มริเริ่มของผู้ถือสิทธิบัตรที่สำคัญซึ่งได้ตกลงตามเงื่อนไขของการยื่นสิทธิบัตรและได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิบัตรว่ามีสิทธิบัตรที่สำคัญนั้นจะร่วมประชุมกันเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการออกใบอนุญาต การประเมินสิทธิบัตรจะดำเนินต่อไปและการยื่นสิทธิบัตรอาจดำเนินต่อไปเพื่อการรวมและการเข้าร่วมของเจ้าของสิทธิบัตรในภายหลัง หลังการตัดสินใจเกี่ยวกับเงื่อนไขใบอนุญาตร่วม การประเมินจะดำเนินต่อไปตลอดกระบวนการออกใบอนุญาตเพื่อรวมทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

สี่, ผู้ดำเนินการออกใบอนุญาตจะได้รับการคัดเลือกโดยกลุ่มริเริ่มของผู้ถือสิทธิบัตร ผู้ดำเนินการออกใบอนุญาตจะได้รับสิทธิแบบไม่ผูกขาด (non-exclusive sublicensing) จากเจ้าของสิทธิบัตรที่สำคัญภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาตเพื่อที่จะใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นภายใต้เงื่อนไขของใบอนุญาตสิทธิบัตรร่วมและจะส่งเสริมอย่างจริงจังต่อโครงการออกใบอนุญาตและแจกจ่ายค่าสิทธิบัตร (royalties) ให้กับบรรดาเจ้าของสิทธิบัตร

ห้า, คณะกรรมการด้านการจัดการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนเจ้าของสิทธิบัตรที่สำคัญจะตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ออกใบอนุญาต

4. รายละเอียดการออกใบอนุญาต
จะได้รับการกำหนดโดยเจ้าของสิทธิบัตรที่สำคัญ

5. หมายกำหนดการ (แผนริเริ่ม)
การยื่นสิทธิบัตรครั้งแรก:ภายในวันที่ 15 ก.พ. 2548 แม้การยื่นสิทธิบัตรอาจดำเนินต่อไปหลังวันดังกล่าว เจ้าของสิทธิบัตรที่ได้รับการตัดสินว่าสิทธิบัตรมีความสำคัญและได้ยื่นสิทธิบัตรภายในวันดังกล่าว จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของผู้ถือสิทธิบัตรที่สำคัญ

นอกจากนี้ MPEG LA ยังประกาศว่า ผู้ใดที่เชื่อว่ามีสิทธิบัตรที่สำคัญเกี่ยวกับมาตรฐาน ATSC ตามที่ระบุข้างต้นและต้องการที่จะเข้าร่วมกลุ่มสิทธิบัตรตามการประเมินที่ประสบผลสำเร็จนั้น จะได้รับเชิญให้ยื่นสิทธิบัตรดังกล่าวเพื่อเข้ารับการประเมิน พร้อมด้วยแถลงการณ์ยืนยันข้อตกลงเกี่ยวกับเป้าหมายและเจตจำนงที่เป็นไปตามเงื่อนไขและกระบวนการต่างๆ (รวมถึงค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมที่ต้องชำระโดยผู้ยื่นสิทธิบัตรที่ได้รับการตัดสินว่ามีสิทธิบัตรที่สำคัญ) สำหรับรายละเอียดกระบวนการยื่นสิทธิบัตรดูจากเว็บไซท์ www.mpegla.com หัวข้อ Programs in Development เรื่อง ATSC การประเมินสิทธิบัตรจะดำเนินการโดยดร. เคนเนธ รูเบนสไตน์ และทีมผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิบัตรทั่วโลก บริษัท PROSKAUER ROSE LLP (เลขที่ 1585 บรอดเวย์, นิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก 10036-8299, โทร 212-969-3000, โทรสาร 212-969-2900, อีเมล์: krubenstein@proskauer.com)

ติดต่อ: บริษัท MPEG LA
ลอว์เรนซ์ ฮอร์น, โทร 301-986-6660
โทรสาร: 301-986-8575
อีเมล์: lhorn@mpegla.com