กรุงเทพฯ 20 มกราคม 2548 – เอชพีปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการรุ่นใหม่ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าทุกประเภทมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การนำเอาระบบรักษาความปลอดภัยใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆของตนเองเป็นเจตนาของเอชพีที่ต้องการหามาตรการเชิงรุกเพื่อรับมือกับการโจมตีทางเทคโนโลยีที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคทั่วไป ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง องค์กรต่างๆ และหน่วยงานราชการ
เพื่อให้ความสำคัญกับวันรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์สากล เอชพีได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมไอทีและเหล่าพันธมิตร พัฒนาโซลูชันรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ออกมาเป็นจำนวนมากซึ่งประกอบด้วย
• ดำเนินโครงการ PC Security ให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของระบบรักษาความปลอดภัย และยังช่วยให้ผู้บริโภคปกป้องและทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ที่ตัวเองใช้อยู่ได้
• ผลิตภัณฑ์และบริการออนไลน์จำนวนมากที่มีระบบรักษาความปลอดภัยในตัวเพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางป้องกันตัวเองได้
• บริการใหม่ที่ช่วยให้องค์กรและหน่วยงานราชการมีมาตรการเชิงรุกเพื่อบรรเทาความเสี่ยงซึ่งเกิดขึ้นจากระบบรักษาความปลอดภัย
โทนี่ เรดมอนด์ รองประธานและผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของแผนก HP Security Office ของเอชพีกล่าวว่า “ในขณะที่ผู้ใช้ทุกคนซึ่งติดต่อกับอินเทอร์เน็ตต้องเจอปัญหาพื้นฐานแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวิร์มและไวรัสต่างๆ ตัวเทคโนโลยีก็มีความซับซ้อนมากขึ้น และมีการใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องเผชิญกับภัยคุกคามเหล่านี้มากขึ้นตามไปด้วย ส่วนผู้บริโภคและผู้ดูแลระบบเองกลับปกป้องระบบของตนได้ยากขึ้นกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้เอชพี จึงหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยมากขึ้นร่วมกับเหล่าพันธมิตรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเอชพีมีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้แก่ลูกค้าทุกประเภทของเราได้ เราต้องการทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการทุกชนิดของเอชพีมีระบบรักษาความปลอดภัยในตัวเอง ไม่ใช่อยู่ในรูปขององค์ประกอบที่มาเพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งทำให้เอชพีมีมาตรการในเชิงรุก เพื่อใช้ป้องกันสภาพแวดล้อมการใช้เทคโนโลยีทุกชนิด ตั้งแต่พีซีที่ใช้ในบ้านไปจนถึงศูนย์ข้อมูลได้”
แผนก National Cyber Security Alliance ของกระทรวง Homeland Security ที่เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้รักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามซึ่งมีต่อระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมากขึ้นเรื่อยๆแต่อย่างใด นอกจากนั้นรายงานล่าสุดของ IDC ยังระบุอีกว่าบริษัทที่มีขนาดแตกต่างกันมีนโยบายที่ใช้รับมือกับภัยคุกคามระบบรักษาความปลอดภัยของตนเองที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมาก รวมทั้งยังใช้งานไม่ค่อยได้ผลอีกด้วย
แมทธิว ฮอยนาฮัน รองประธานผลิตภัณฑ์และโซลูชันสำหรับผู้บริโภคของบริษัท Symantec กล่าวว่า “ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในบ้าน ธุรกิจขนาดเล็ก และองค์กรขนาดใหญ่ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงเหมือนกันในขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ ดังนั้นการให้การศึกษาต่อเหล่าผู้ใช้ว่าแนวทางการประมวลผลแบบใดจึงจะดีที่สุดเพื่อใช้ป้องกันเหล่าจารชนที่เข้ามาขโมยข้อมูลตัวตน และป้องกันการฉ้อโกงแบบต่างๆได้ผนวกกับการใช้แอพพลิเคชันระบบรักษาความปลอดภัยแบบเบ็ดเสร็จที่มีการอัพเดตเป็นประจำ จะช่วยทำให้ผู้ใช้มีระบบป้องกันหลายชั้น ซึ่งจะทำให้พวกเขาใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่อย่างแท้จริงได้”
(รายละเอียดของโซลูชั่นระบบรักษาความปลอดภัยจากเอชพี สำหรับผู้ใช้แต่ละประเภท หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.hp.com/go/securitynews)
ระบบป้องกันสำหรับพีซีที่ใช้ในบ้าน
เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถป้องกันพีซีของตนเอง รักษาความลับข้อมูลของตนเอง และทำให้พีซีของพวกเขาทำงานได้อย่างราบรื่น ด้วยเหตุนี้เอชพีจึงทำแผนงานเรื่อง PC Security ขึ้นมา
องค์ประกอบหลักของแผนงานนี้คือ
• บริการระบบรักษาความปลอดภัยออนไลน์สำหรับผู้ใช้ของเอชพีโดยเฉพาะ โดยที่บริการนี้จะตอบอีเมล์กลับไปหาผู้ใช้ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง และมีระบบสนทนาโต้ตอบได้ทันทีโดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
• บริการแจ้งเตือนไวรัสระดับต่าง ๆ ผ่านทางโทรศัพท์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโดยไม่มีการคิดค่าบริการเพิ่มเติม
• ศูนย์ HP Help and Support Center ซึ่งจัดสรรซอฟต์แวร์ตรวจเช็คประสิทธิภาพและระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อนำไปติดตั้งในพีซีและโน้ตบุกของผู้ใช้
องค์ประกอบอื่น ๆ ในแผนงาน PC Security ประกอบด้วยโครงการการให้ความรู้ต่อผู้ใช้ เว็บไซต์ใหม่ ที่ให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับพีซีโดยตรง ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้ามาค้นหาเครื่องมือรักษาความปลอดภัย ขอใช้บริการและเรียกดูข้อมูลต่างๆ รวมทั้งยังจำหน่ายซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และสปายแวร์ในราคาถูกอีกด้วย
เอชพีเตรียมมาตรการเชิงรุกเอาไว้คอยช่วยเหลือลูกค้ากว่า 9 ล้านคนของตนเอง รวมทั้งยังเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยเอาไว้ในกล่องโน้ตบุกทุกเครื่องที่จำหน่าย นอกจากนั้นเอชพียังมีบริการแจ้งเตือนให้ผู้บริโภครับทราบเกี่ยวกับข้อมูลเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยอีกด้วย โครงการกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ผนวกกับการที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows XP Serving Pack 2 ออกมาช่วยให้ผู้ที่โทรมาขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยจากศูนย์ให้บริการทางเทคนิคของ HP ลดลงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
กฎเกณฑ์การรักษาความปลอดภัยพื้นฐานและโซลูชั่นชนิดใหม่ช่วยปกป้องลูกค้า SMB ได้
นอกจากนั้น เอชพียังมีการจัดทำคู่มือ “กฎเกณฑ์การรักษาความปลอดภัยระดับต่างๆ” ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวทางง่ายๆ เพื่อช่วยให้พันธมิตรและลูกค้าเข้าใจว่าระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่หลายระดับจะช่วยป้องกันธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางของพวกเขาได้ดีขึ้นได้อย่างไร ก่อนที่ระบบจะมีช่องโหว่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากภัยคุกคามต่าง ๆ อาทิไวรัส สปายแวร์ เมล์ขยะ การแอบเจาะเข้ามาในระบบ และระบบรักษาความปลอดภัยที่ล้าสมัยเป็นต้น
คู่มือดังกล่าวถือเป็นองค์ประกอบหลักของแผนงาน Smart Office ของเอชพีที่มีจุดมุ่งหมายช่วยให้ลูกค้ากลุ่ม SMB มีเทคโนโลยีที่เรียบง่ายและมีเสถียรภาพมากกว่าเดิมเพื่อนำมาช่วยให้ระบบของตนมีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม เอชพีและเหล่าพันธมิตรช่วยเหลือให้ลูกค้า SMB สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพื่อที่ลูกค้าจะได้ทุ่มเทความสนใจในเรื่องการทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว
คู่มือของเอชพีระบุว่าระบบรักษาความปลอดภัยแบ่งออกเป็น 6 ระดับ โดยที่เอชพี ได้จัดเตรียมวิธีการป้องกันระบบรักษาความปลอดภัยทุกระดับเอาไว้แล้วตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์ไปจนถึงพีซี นอกจากนั้นเอชพียังได้จับมือกับพันธมิตรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยโดยตรง เพื่อนำเอาโซลูชั่นแบบใหม่ๆมาเพิ่มเติมลงไปในระบบรักษาความปลอดภัยแต่ละชั้นของเหล่าลูกค้าที่เป็นบริษัท SMB อีกด้วย
• ระบบรักษาความปลอดภัยสองชั้นแรกก็คือ ตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นเอชพีจึงหาทางช่วยเหลือลูกค้าโดยการเตรียมเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันผู้ที่ไม่มีสิทธิไม่ให้เข้ามาใช้ระบบ รวมถึงเทคโนโลยีป้องกันไม่ให้ข้อมูลเสียหายผ่านระบบ HP ProtectTools ซึ่งฝังตัวอยู่ในฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยตรง คุณสมบัติต่างๆที่มีอยู่ในระบบ HP ProtectTools จะช่วยให้บริษัทต่างๆ มีระบบป้องกันผู้ที่ไม่มีสิทธิไม่ให้เข้ามาใช้พีซี โน้ตบุก เวิร์กสเตชัน และธินไคล์เอ็นต์ได้ รวมทั้งคอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่อย่าง HP iPAQ Pocket PC hx2000 อีกด้วย
• คุณสมบัติอีกชนิดหนึ่งสำหรับเลเยอร์นี้ก็คือซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส Symantec Client Security ซึ่งมีลิขสิทธิ์ให้ใช้งานได้ฟรี 60 วัน รวมกับซอฟต์แวร์ชื่อ HP Secure Disk Erase ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้กำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการลบเอกสารจากฮาร์ดดิสก์เมมโมรีของพรินเตอร์แบบมัลติฟังก์ชันบางรุ่นของเอชพีได้ด้วย
• ระบบรักษาความปลอดภัยอีก 2 ชั้นเกี่ยวกับแอพพลิเคชัน/ระบบปฏิบัติการและระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ซึ่งซอฟต์แวร์ใหม่ของเอชพี ที่ชื่อ ProCurve Networking จะป้องกันไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิเข้าไปใช้ระบบเครือข่ายแบบมีสาย และแบบไร้สายของบริษัทได้ นอกจากนั้นเอชพียังได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและระบบป้องกันเมล์ขยะของบริษัท Trend Micro ลงไปในเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant รุ่นที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Microsoft Small Business Server 2003 เอาไว้แล้วด้วย
• ระบบรักษาความปลอดภัยระดับต่อมาเกี่ยวข้องกับระบบบริหารรักษาความปลอดภัย โดยในปัจจุบันลูกค้าสามารถแยกแยะ และแก้ไขช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยที่เกิดจากตัวแปรที่ไม่ถูกต้องของระบบปฏิบัติการ รวมทั้งโปรแกรมซ่อมแซมที่ขาดหายไปจาก HP Systems Insight Manager โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ชื่อ HP ProLiant Essentials Vulnerability and Patch Management ได้ โดยลูกค้าสามารถนำเอาซอฟต์แวร์นี้ไปใช้กับเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant รุ่นที่เป็น Small Business Servers รุ่นใดก็ได้
• ระบบรักษาความปลอดภัยชั้นสุดท้ายอยู่ในรูปของบริการรักษาความปลอดภัยที่มาจากเอชพีโดยตรง อาทิเช่นบริการ HP Security and Vulnerability Assessment Server สำหรับธุรกิจ SMB ที่เริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นต้น
นอกจากนั้นเอชพียังมีการสร้างศูนย์ Security Expertise Center ลงไปในเว็บไซต์ SMB ของเอชพีที่ www.hp.com/go/secureSMB เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือเรื่องเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยจากผู้เชี่ยวชาญของเอชพี โดยตรง ศูนย์แห่งนี้มีหลักสูตรการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ นำเอาความรู้ที่ได้รับไปสร้างแผนงานระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพของตนเอง นอกจากนั้นเอชพียังสร้างศูนย์ HP Learning Curve ซึ่งมีการรวบรวมเอกสารข้อเท็จจริง บทความ และแหล่งความรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยที่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกำลังเผชิญอยู่เอาไว้ด้วยบริการใหม่และพันธมิตรผู้ค้าซอฟต์แวร์ของเอชพี ช่วยบรรเทาความเสี่ยงของลูกค้าที่เป็นองค์กรต่าง ๆ ได้
เอชพีได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ และการจับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ค้ารายอื่นๆเพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่ ๆ ออกมา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยลูกค้าที่เป็นองค์กรต่างๆรับมือกับภัยคุกคามระบบรักษาความปลอดภัยแบบต่าง ๆ ได้ รวมทั้งยังมีระบบบริหารข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ที่ดีกว่าเดิมอีกด้วย
HP Security Incident Management Program เป็นชุดบริการที่ใช้แนวทางการเตรียมรับมือล่วงหน้าเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบป้องกันภัยคุกคามที่มีต่อระบบการรักษาความปลอดภัย ช่องโหว่ซึ่งมีอยู่ในระบบ ป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น และลดผลกระทบจากการโจมตีระบบรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ ๆ อีกด้วย
องค์ประกอบที่มีอยู่ใน HP Security Incident Management Program ประกอบด้วย ระบบวิเคราะห์และระบบตอบโต้ภัยคุกคาม ระบบค้นหาช่องโหว่ ระบบค้นหาและระบบตอบโต้ผู้บุกรุกเข้ามาในระบบเครือข่าย โปรแกรมป้องกันไวรัส ระบบบริหารโปรแกรมซ่อมแซม ระบบรับมือกับปัญหาที่พร้อมทำงานอยู่ตลอดเวลา ระบบบริหารวิกฤตการณ์เพื่อไม่ให้บานปลาย ระบบแก้ปัญหาเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ระบบสอบสวนหลังจากเกิดปัญหา รวมทั้งยังมีระบบบริหาร และระบบวิเคราะห์แผนงานอีกด้วย
เพื่อช่วยให้องค์กรมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำงานได้อย่างกว้างขวางครอบคลุม พร้อมทั้งรักษาความปลอดภัยของบุคคลผู้ใช้ที่ทำงานแบบโมไบล์ ดังนั้นเอชพีจึงได้เปิดตัวโซลูชันบริหารบุคคลของผู้ใช้แบบใหม่ซึ่งมีชื่อว่า HP OpenView Select Federation ออกมา OpenView Select Federation เป็นเทคโนโลยี “เชื่อมโยงความสัมพันธ์แบบสหพันธ์” (เพื่อใช้ล็อกออนเข้าระบบเพียงครั้งเดียว) ที่ใช้โปรโตคอลมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อขจัดขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิที่ยุ่งยากหลายขั้นตอนให้หมดไป ในขณะที่ผู้ใช้ยังคงใช้บัญชีชื่อจำนวนมากได้อย่างปลอดภัย โซลูชั่นชนิดนี้ช่วยทำให้บริษัทต่างๆบริหารผู้ใช้ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้นตลอดวงจรชีวิตของระบบรักษาความปลอดภัย รวมทั้งสามารถควบคุมผู้ใช้ที่จะติดต่อเข้ามาหาระบบเครือข่าย และเรียกใช้ทรัพยากรในองค์กร ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของระบบไอที อีกทั้งยังเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายอีกด้วย
โซลูชั่น HP OpenView Select Federation ชนิดนี้จำหน่ายผ่านทางผู้ผลิต OEM อย่าง Trustgenix โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆขยายขอบเขตการดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจผ่านทางการผสานระบบบริหารบุคคลที่แตกต่างกันเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทผู้ให้บริการซึ่งนำเอา HP OpenView Select Access หรือ Select Identity ไปใช้งานจะช่วยให้ทางบริษัทให้บริการบริหารตัวตนแบบสหพันธ์สำหรับผู้ใช้โมไบล์ที่ปลอดภัยได้ พร้อม ๆ กับปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคที่มาใช้บริการอีกด้วย
นอกจากนั้นเอชพียังกำลังปรับปรุงระบบป้องกันไวรัส โดยการทดสอบโปรแกรม HP ProLiant Intelligent Networking Pack ซึ่งหาก HP Labs พัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนี้เสร็จสิ้นแล้ว ซอฟต์แวร์ตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นไดรเวอร์กลั่นกรองระบบเครือข่ายของบริษัทต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้ามาโจมตีได้ รวมทั้งยังคอยเฝ้าดูสัญญาณ TCP ที่อยู่ในระบบเครือข่าย และยังมีการปรับแต่งโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายเพื่อทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และช่วยให้เซิร์ฟเวอร์พร้อมให้บริการมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
ถ้าหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นระบบรักษาความปลอดภัยของเอชพี สำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มให้เข้าไปดูได้ที่ www.hp.com/go/securitynews
เกี่ยวกับเอชพี
เอชพีเป็นผู้นำระดับโลกในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี โซลูชั่น และการให้บริการแก่ลูกค้าระดับคอนซูเมอร์และองค์กรธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์ต่อพ่วง การให้บริการครอบคลุมทั่วโลก และผลิตภัณฑ์ภาพและการพิมพ์ โดยสิ้นไตรมาสที่สี่ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2547 เอชพีมีรายได้รวมทั้งสิ้น 79,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอชพี ได้ที่ http://www.hp.com