ซันนี่เวล, แคลิฟอร์เนีย–(บิสิเนส ไวร์)–2 พ.ค.2548 – บริษัทเอเอ็มดี (NYSE:AMD) ได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังกับการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาลญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ในการกระตุ้นการแข่งขันการจัดการด้านเทคโนโลยีระดับรัฐบาลโดยการสกัดพฤติกรรมที่เป็นการเอื้อประโยชน์ อันจะทำให้เกิดความได้เปรียบแก่กลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ ความพยายามดังกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดด้านแบรนด์เนมที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องในการประมูลของรัฐบาล, ปัญหาที่ยังคงมีอยู่ซึ่งจะลดความสามารถในการแข่งขันของตลาด และจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขณะที่ใช้เงินภาษีของประชาชนโดยไม่จำเป็น
แนวทางใหม่ของญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และสหรัฐจะอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินการของรัฐบาลจำนวนมากทั่วโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเยอรมนี อิตาลี สวีเดน เบลเยียม และรัสเซียต่างก็ได้เรียกร้องให้มีบรรทัดฐานอ้างอิงที่เป็นอิสระหรือการจัดการที่เป็นกลางสำหรับผู้ขายในภาคธุรกิจไอที เพื่อที่จะกระตุ้นการแข่งขัน และอันเนื่องมาจากแนวทางใหม่ดังกล่าวนี้ ประเทศเหล่านี้จึงกำลังเคลื่อนตัวไปสู่การประมูลพื้นฐานบนบรรทัดฐานที่มีวัตถุประสงค์และมาตรการด้านการดำเนินงาน แทนความเป็นแบรนด์เนม ซึ่งเป็นการดำเนินการที่กระตุ้นการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง
“การดำเนินการที่น่าชื่นชมของรัฐบาลญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และสหรัฐ ได้เน้นย้ำถึงปัญหาทั่วโลกที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับลักษณะการประมูลแบบปิดในกระบวนการด้านไอทีของภาคสาธารณะ และความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับรัฐบาลในการนำองค์กรต่างๆของแต่ละประเทศมาร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของผู้จ่ายเงินภาษี” ซู สไนเดอร์ รองประธานฝ่ายความสัมพันธ์และนโยบายระหว่างประเทศและที่ปรึกษาด้านกฎหมายระดับสูงของเอเอ็มดีกล่าว
“รัฐบาลควรอิงการตัดสินใจด้านการดำเนินงานของพวกเขากับการได้รับเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในระดับราคาที่ดีที่สุดที่จะสามารถรองรับความต้องการของพวกเขาได้ การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขณะที่ยังคงราคาไว้ที่ระดับต่ำ และทำให้รัฐบาลมีทางเลือกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น” สไนเดอร์กล่าว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำนักเลขาธิการประจำคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาด้านการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงระหว่างประเทศ/คณะรัฐมนตรีในญี่ปุ่น ได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งซึ่งย้ำเตือนกระทรวงและหน่วยงานของรัฐบาลแต่ละแห่งให้ยึดถือ “แนวทางสำหรับเตรียมพร้อมข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์และบริการด้านคอมพิวเตอร์” (ณ เดือนพ.ค.2538) ซึ่งระบุว่าการจัดการด้านไอทีต้องมีการดำเนินการในลักษณะที่ยังคงความโปร่งใสและความยุติธรรม และสร้างหลักประกันเกี่ยวกับการแข่งขันที่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้หน่วยงานต่างๆระบุข้อกำหนดโดยการใช้เพียงแค่ชื่อการค้า และเนื้อหาของข้อกำหนดต่างๆต้องมีความเป็นกลาง
แถลงการณ์ของญี่ปุ่นมีขึ้นหลังจากที่มีแถลงการณ์ ณ วันที่ 31 มี.ค.ของกระทรวงเศรษฐกิจ, การคลังและอุตสาหกรรมของฝรั่งเศส ซึ่งจะแนะนำกลุ่มผู้ซื้อในภาคสาธารณะเกี่ยวกับอุปกรณ์ไอที ให้ใช้การกำหนดรายละเอียดทางเทคนิคในการประมูลต่างๆที่ไม่มีอคติ โดยแนวทางต่างๆจะห้ามการใช้แบรนด์เนม รวมทั้ง “ข้อกำหนดที่มีความถี่ต่ำที่สุด” ซึ่งทางกระทรวงมองว่าเป็น “การแบ่งแยกความแตกต่างและการผูกขาด” ทางกระทรวงได้แนะนำบรรทัดฐานอ้างอิงให้เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้แทนข้อกำหนดด้านความถี่
ในเดือนเม.ย. สำนักงานจัดการและงบประมาณของสหรัฐได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งแก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการซื้อกิจการ, หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล และเจ้าหน้าที่ด้านการจัดการระดับสูงในรัฐบาล ซึ่งเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวใช้บรรทัดฐานอ้างอิงด้านวัตถุประสงค์และมาตรการด้านการดำเนินงานสำหรับการกำหนดรายละเอียดของสัญญา และให้ยึดถือตามข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านการซื้อกิจการของรัฐบาลกลาง (FAR) ซึ่งจำกัดการใช้แบรนด์เนม
คณะกรรมาธิการยุโรปได้ตั้งข้อสังเกตในรายงานการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่งเมื่อปีที่แล้วว่า การประยุกต์ใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการแบบใหม่ของทางคณะกรรมาธิการให้ช่วยลดราคาลงราว 30 %
หากต้องการได้รับแนวทางการจัดแบบอ้างอิงของเอเอ็มดีฉบับล่าสุด กรุณเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.amd.com/procurement
สถานภาพของเอเอ็มดีด้านการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง
เอเอ็มดียอมรับการแข่งขันที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง และนำเสนอการแข่งขันอย่างมีคุณค่าและมีความหลากหลายแก่ผู้บริโภค ภาคธุรกิจและผู้บริโภคควรมีอิสระในการเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการแข่งขันที่หลากหลาย ซึ่งมาจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในระดับที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ภายใต้กฎระเบียบชุดเดียวกัน เมื่อตลาดผลักดันการทำงาน ผู้บริโภคก็มีทางเลือกและทุกคนก็จะเป็นผู้ชนะ
เกี่ยวกับ AMD
AMD (NYSE:AMD) ออกแบบและผลิตไมโครโพรเซสเซอร์, แฟลชเมมโมรี่ และโพรเซสเซอร์ประหยัดพลังงานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร ตลอดจนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ AMD มุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชั่นมาตรฐานเพื่อตอบสนองทุกๆ ความต้องการของผู้ใช้เทคโนโลยี ตั้งแต่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานรัฐบาล ไปจนถึงผู้ใช้ทั่วไป ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูจากเว็บไซต์ http://www.amd.com
AMD, เครื่องหมายลูกศรของ AMD และชื่ออื่นๆ ที่ประกอบด้วยชื่อเหล่านี้ เป็นเครื่องหมายการค้าของ Advanced Micro Devices, Inc. ส่วนชื่ออื่นๆ ที่ปรากฏนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลเท่านั้น และอาจเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของบริษัทที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อ: บริษัทเอเอ็มดี
สหรัฐอเมริกา:
ไมค์ ซิโมนอฟ, 512-602-3781 (ประชาสัมพันธ์)
[email protected]
หรือ
ไมค์ ฮาส, 408-749-3124 (นักลงทุนสัมพันธ์)
หรือ
ญี่ปุ่น:
มาริ ฮายาชิ, +81 3-3346-7560 (ประชาสัมพันธ์)
[email protected]
หรือ
ยุโรป
เจนส์ ดริวส์, +49 351-277-1015 (รัฐบาลสัมพันธ์)
[email protected]