“ความสำเร็จอย่างท่วมท้นในช่วงปีที่ผ่านมานับเป็นเครื่องยืนยันว่าแนวทางการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล (Information Lifecycle Management – ILM) ของอีเอ็มซี ให้คุณประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ลูกค้าอย่างแท้จริง” ดร. ธัชพล โปษยานนท์ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทยบริษัท อีเอ็มซี
การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในตลาดเมืองไทย
– อีเอ็มซีเติบโตก้าวกระโดดทะยานจาก อันดับที่ 4 ในปี 2547 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 18.2 % ไปสู่อันดับที่ 2 ในปี 2548 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 22.3 % ในตลาดสตอเรจแบบติดตั้งภายนอก โดยชิงส่วนแบ่งตลาดมาจากเอชพีและซัน นอกจากนี้อีเอ็มซียังรักษาความเป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์ด้านการจัดเก็บข้อมูล โดยครองส่วนแบ่งตลาด 26 % (ที่มา: IDC Asia Pacific Disk Storage Tracker & IDC Asia Pacific Storage Software Tracker 2005)
– อีเอ็มซีประกาศความสำเร็จทางด้านธุรกิจอย่างท่วมท้น ด้วยความสำเร็จในตลาดเอสเอ็มอี ซึ่งอีเอ็มซีมีลูกค้าใหม่ถึง 42 ราย
– องค์ประกอบหลักในกลยุทธ์ของอีเอ็มซีได้แก่ การนำเสนอโซลูชั่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาของลูกค้าภายใต้แนวทางการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล หรือ “Information Lifecycle Management (ILM)” ในปัจจุบันอีเอ็มซีกำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการปรับใช้แนวทาง ILM โดยอาศัยโซลูชั่นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระดับสุดยอด
– กลยุทธ์ถัดไปที่อีเอ็มซีจะมุ่งเน้นเป็นพิเศษก็คือ การขยายธุรกิจในส่วนขององค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการนำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะสมในระดับราคาที่เหมาะสมผ่านทางคู่ค้า
โซลูชั่น ILM ของอีเอ็มซีพิสูจน์ให้คุณประโยชน์ที่แท้จริงแก่ลูกค้า
อีเอ็มซีมีลูกค้าอ้างอิงหลายราย ซึ่งได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจจากกลยุทธ์แต่ละ “C” ทั้ง 6 C ที่อีเอ็มซีนำเสนอโดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดโซลูชั่น ILM ซึ่งได้แก่ classification (การจำแนกประเภท), consolidation (การผนวกรวม), continuity (ความต่อเนื่องในการดำเนินงาน), compliance (การปฏิบัติตามกฎระเบียบ), content management (การจัดการคอนเทนต์) และ comprehensive backup recovery and archive (การสำรอง กู้คืน และเก็บข้อมูลระยะยาวอย่างครบวงจร)
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อีเอ็มซีได้ปรับเปลี่ยนจากบริษัทจัดเก็บข้อมูลมุ่งสู่ “บริษัทที่มุ่งเน้นความสำคัญด้านศักยภาพของข้อมูล” (Information-Centric company) ทั้งนี้ จากการเข้าซื้อกิจการของบริษัทซอฟต์แวร์ 24 แห่ง ในปัจจุบันอีเอ็มซีจึงสามารถนำเสนอโซลูชั่นด้านการจัดการข้อมูลสำหรับองค์กรทุกขนาด ภายหลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง อีเอ็มซีมีจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่งที่นำเสนอเฉพาะฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เท่านั้น และยังคงรักษาความเป็นผู้นำทั้งในตลาดฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั่วโลก
ความสำเร็จทางธุรกิจของลูกค้าอีเอ็มซี จากกลยุทธ์แต่ละ “C” ของ “6 C”
บริษัท ทรูมูฟ จำกัด : ลดค่าใช้จ่ายด้วยการจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้นและโดยผนวกรวมแอพพลิเคชั่นสำคัญ(C = Classification และ C =Consolidation)
ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของไทย ทรูมูฟจำเป็นต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศที่แข็งแกร่ง เพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ข้อมูลการจัดทำบิล ไปจนถึงบันทึกข้อมูลของลูกค้า และฐานข้อมูลต่างๆ ด้วยเหตุนี้ จึงได้ปรับใช้แนวทางการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล (ILM) โดยผนวกรวมแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ เช่น ระบบบิลลิ่ง, คลังข้อมูล, CRM, SAP, อีเมล์ และไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ไว้บนระบบสตอเรจระดับไฮเอนด์ EMC Symmetrix เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล และได้กำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ระดับกลาง ด้วยการขยายขนาดของแคช เพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้รวมอยู่ในแพ็คเกจขนาดเล็กรุ่นราคาประหยัด การจัดแยกประเภทของแอพพลิเคชั่นและข้อมูลช่วยให้ทรูมูฟ สามารถจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะที่สอดรับกับคุณประโยชน์ของข้อมูลแต่ละชุด เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากข้อมูลและทรัพยากรอย่างเต็มที่ และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบ
การบินไทย: การสำรอง กู้คืน และการเก็บข้อมูลระยะยาวแบบครบวงจร (C = Comprehensive Backup Recovery and Archive)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดเก็บข้อมูล เพื่อผนวกรวมแอพพลิเคชั่นภายในองค์กร และขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับระบบใหม่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ภายใต้กลยุทธ์การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล (ILM) การบินไทยได้ปรับใช้แนวคิดการจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้น (Tiered Storage) บนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศ โดยใช้โซลูชั่นที่หลากหลายของอีเอ็มซี เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย CLARiiON CX700 นอกจากนี้ การบินไทยยังปรับใช้แนวทางแบบครบวงจรสำหรับการสำรอง กู้คืน และเก็บข้อมูลระยะยาว โดยได้ติดตั้งโซลูชั่นการสำรองข้อมูลไปยังดิสก์ของอีเอ็มซี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเสถียรภาพ รวมถึงโซลูชั่นสำหรับการเก็บไฟล์ระยะยาว (File Archiving) ซึ่งรองรับการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลระยะยาวได้อย่างถูกต้อง การติดตั้งระบบกู้คืนข้อมูลภายในดาต้าเซ็นเตอร์ที่สำนักงานใหญ่และที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยใช้ซอฟต์แวร์ของอีเอ็มซีสำหรับการทำสำเนาข้อมูลระยะไกล เพื่อให้ข้อมูลพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาและเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) (C = Content Management)
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความรวดเร็วในการตอบสนอง และรองรับความต้องการของผู้ใช้ภายในองค์กรและคู่ค้า บริษัทจึงได้ปรับใช้โซลูชั่น Documentum Enterprise Document Management สำหรับการถ่ายภาพเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและการดำเนินงาน รวมถึงการจัดการเวิร์คโฟลว์ (workflow) ในระยะเริ่มต้น โซลูชั่นของดอคคิวเมนตั้มทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มร่วมที่รองรับผู้ใช้ ระบบงาน และข้อมูลต่างๆ มากมาย ทั้งยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเอกสารในแต่ละขั้นตอนตลอดอายุการใช้งานของข้อมูล นอกจากนี้ โซลูชั่นดังกล่าวยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล CAS (content addressable storage) โดยจะช่วยให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการบันทึกข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์
ธนาคารทหารไทย ( C = Consolidation)
ธนาคารทหารไทยได้พิจารณานำผลิตภัณฑ์ของอีเอ็มซีไปใช้ในครั้งนี้ เพื่อปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์และรองรับการใช้ข้อมูลของธนาคารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลสำหรับระบบงานของธนาคารที่เป็นระบบโอเพ่นซิสเตมส์ และระบบเมนเฟรมซิสเตมส์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ในเวลาเดียวกัน ตลอดจนได้ทำการปรับปรุงศูนย์สำรองคอมพิวเตอร์ ให้มีการสำรองข้อมูลที่สมบูรณ์ เป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ที่สำคัญเพื่อช่วยสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงด้านปฎิบัติการ (Operational risk) อันจะส่งผลให้ธนาคารมีขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นและเหนือกว่าในการรองรับ การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล (Information Lifecycle Management – ILM) ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะทำให้โครงสร้างข้อมูลของธนาคารมีการจัดการที่ดีช่วยเพิ่ม Total Cost of Ownership (TCO) สามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความสามารถในการรันแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมบนแพลตฟอร์มระดับไฮเอนด์ โดยยังคงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม. ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินและประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
“องค์กรธุรกิจกำลังมองหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จาก ILM ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลตามคุณประโยชน์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย โซลูชั่นที่ลูกค้าของเรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น โดยจะจัดหาบริการในระดับที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นทั่วทั้งองค์กร พร้อมทั้งจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างลงตัว การปรับใช้ ILM จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บช้อมูลหรือ Storage Infrastructure ให้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล และให้ความสำคัญด้านศักยภาพของข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่เป็น ‘กาวประสาน’ ที่เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน และกลายเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดต่อองค์กรธุรกิจ” ดร. ธัชพล กล่าว
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรอีเอ็มซีสู่ “บริษัทที่มุ่งเน้นความสำคัญด้านศักยภาพของข้อมูล”
ในขณะที่ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง อีเอ็มซีได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้กลายเป็นบริษัทด้านการจัดการข้อมูล โดยคาดการณ์ว่าลูกค้าจะต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลแบบไดนามิคที่ยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นหมายความว่าโซลูชั่นของอีเอ็มซีจะยังคงทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มที่หลากหลาย และขยายขอบเขตจากการจัดเก็บข้อมูล ไปสู่การจัดการ การปกป้อง การแบ่งใช้ การจัดเก็บระยะยาวสำหรับข้อมูลที่มีการจัดโครงสร้างและข้อมูลที่ไม่มีการจัดโครงสร้าง
ด้วยบริษัทสาขาของอีเอ็มซี เช่น Vmware และ SMARTs จึงทำให้อีเอ็มซีสามารถนำเสนอโซลูชั่นสำหรับการผนวกรวมเซิร์ฟเวอร์ การเปลี่ยนย้ายระบบอย่างกลมกลืน (เวอร์ช่วลไลเซชั่น) และการวิเคราะห์หาสาเหตุต้นตอในแบบเรียลไทม์บนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด
“อีเอ็มซีกำลังพัฒนาระบบบริหารจัดการ ‘โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล’ โดยการสรรค์สร้างเทคโนโลยีสำคัญๆ ที่จะพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรม เช่น ILM แบบครบวงจร, การผนวกรวมแบบ Hyper-consolidation, การจัดการทรัพยากรโดยยึดตามโมเดล, การผนวกรวมไอพีสตอเรจ และการคุ้มครองข้อมูล ซึ่งนอกจากจะเพิ่มคุณประโยชน์ในเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กรธุรกิจแล้ว ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที”
“อีเอ็มซีรองรับการปรับเปลี่ยนไปสู่ “องค์กรที่มุ่งเน้นความสำคัญด้านศักยภาพของข้อมูล” โดยการเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมด้านไอที และเราพยายามปรับเปลี่ยนทัศนคติของลูกค้าในเรื่องของข้อมูล รวมถึงวิธีที่แอพพลิเคชั่นต่างๆ ใช้ในการ ‘พิจารณา’ ข้อมูล” ดร. ธัชพล กล่าว