อัลคาเทลนำประเทศไทยก้าวไกลสู่ระดับโลกด้วย IT Super Highway with Blistering 10 Gigabit Technology

อัลคาเทล ผู้เสนอโซลูชั่นเครือข่ายข้อมูลทั่วโลกได้ส่งให้นักศึกษาด้านเทคโนโลยีในกรุงเทพมหานครกลายเป็นผู้นำในด้านการวิจัย การพัฒนา และการสื่อสารระดับโลกในด้านไอที ด้วยความสามารถและอัจฉริยภาพของโครงสร้างพื้นฐาน OmniSwitch ที่สามารถรองรับ Ethernet ports ได้เป็นจำนวนหลายร้อยพอร์ต ด้วยการเชื่อมต่อของอีเธอร์เน็ทความเร็ว 10 กิกกาบิต และอุปกรณ์สวิชต์ด้วยความเร็วสูง

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า 10G Core Switches ของอัลคาเทลและ เครือข่ายไร้สายจะเป็นแกนหลักสำคัญของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ชั้นนำของเมืองไทยแห่งนี้ ที่ให้บรรดาครูอาจารย์และนักศึกษามีช่องทางเข้าถึงข้อมูลทั่วโลกอย่างไร้ขีดจำกัดด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ปลอดภัย สถาบันการศึกษาสามารถจัดการประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ระหว่างประเทศต่างๆ ในเวลาเดียวกัน ทั้งยังเป็นการเบิกทางให้อนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทยโดยการทำการวิจัยและพัฒนาด้วยอุปกรณ์เครือข่ายที่ดีที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเร็วๆนี้ จากการติดตั้งโซลูชั่นเครือข่ายไอพีของอัลคาเทลที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบรนด์แบบไร้สายที่ปัจจุบันมีใช้ประมาณ 70-80% ภายในสถาบันสำหรับนักศึกษา นักวิจัย และอาจารย์ เพื่อรองรับการเข้าไปสู่แหล่งข้อมูลต่างๆที่จะเป็นแหล่งขุมทรัพย์สำหรับพวกเขาในการเตรียมความพร้อมที่ก้าวไปสู่ชีวิตของการทำงานด้านไอทีที่ก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและกว้างไกลนั้น จึงทำให้ทางสถาบันได้กลายเป็นต้นแบบของสถาบันในประเทศไทยในด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูล การวิจัยและพัฒนาการสื่อสารระดับโลกอย่างแท้จริง

สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ดำเนินการโดย รศ. ดร. มนัส สังวรศิลป์ เป็นผู้นำในด้านจัดการเครือข่ายเพื่อเข้าสู่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการสื่อสาร ทั้งนี้ สถาบันมีบทบาทสำคัญในการจัดหา ทดสอบ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม รวมเทคโนโลยีสำหรับคณะ ชุมชน และอื่นๆ เพื่อที่จะเป็นส่วนสร้างให้ประเทศไทยก้าวนำไปข้างหน้าจนสามารถเติบโตขึ้นไปถึงตำแหน่งผู้นำของภูมิภาคในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร

ดร.มนัส ให้เหตุผลในการเลือกโซลูชั่นเครือข่ายความเร็ว 10 กิกกาบิตต์ และอุปกรณ์สวิชต์ด้วยความเร็วสูงจากอัลคาเทลว่า “ก่อนหน้านี้ ทางสถาบันได้ใช้ระบบการติดต่อมาตรฐานที่รับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 155 MB/s เท่านั้นโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ที่ใช้ทั่วไป นอกเหนือจากปัญหาเรื่องแบนด์วิธต่ำแล้ว ระบบยังไม่มีความแน่นอน ทั้งเรายังเจอกับปัญหาเครือข่ายล่มในช่วงฝนตกหรือมีพายุ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทั้งนักศึกษาและครูอาจารย์”

“ความเร็วในการติดต่อที่ช้าส่งผลให้ผู้ใช้สามารถที่จะดาวน์โหลดได้เพียงรูปภาพที่คุณภาพต่ำได้เป็นส่วนมาก แต่ปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีปริมาณมากได้ด้วยความเร็ว 6 กิกกาบิตต์ ต่อวินาที ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและดึงได้ทั้งหนังคุณภาพดี เสียง และ ข้อมูลในระยะเวลาอันสั้น” ความเร็วที่ว่านี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยอุปกรณ์สวิชต์ประสิทธิภาพสูงที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลด้วยความเร็ว 10 กิกกาบิต ต่อวินาทีบนเครือข่ายสายเคเบิ้ลใยแก้วของสถาบัน

ดร.มนัส กล่าวถึงความภาคภูมิใจของสถาบันที่ได้มีระบบสวิชต์อันล้ำสมัยมาติดตั้งภายในสถาบัน และยังเชื่อว่าระบบใหม่นี้จะสามารถช่วยสร้างประเทศไทยให้ไปสู่ความเป็นผู้นำในด้านการศึกษาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีการประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ที่เริ่มต้นในสถาบันนี้กับญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา “การถ่ายทอดเสียงสามารถทำได้เมื่อใช้เทคโนโลยีแบบ 10 กิกกาบิตที่ป้อนข้อมูลให้คนดูถึง 9,000 คน สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากเทคโนโลยีความเร็วสูงและเครือข่ายขั้น 1 จากอัลคาเทล” ดร.มนัส กล่าว

โครงสร้างของมหาวิทยาลัยด้านไอทีนั้นประกอบด้วย 3 ชั้นด้วยกัน ชั้นแรกคือโครงสร้างด้านเครือข่ายต่างๆ (เคเบิ้ล สวิตช์ของเครือข่าย อุปกรณ์เร้าเตอร์ และจุดเชื่อมต่อของเครือข่ายแลนไร้สาย) ชั้นที่สองคือโครงสร้างสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งรวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เพื่อคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในขณะที่ชั้นที่สามคือการใช้งานซอฟแวร์ (ด้านไอทีและการสื่อสาร) ซึ่งรวมอยู่ในโครงสร้างสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ และใช้เป็นเครือข่ายในการแบ่งปันข้อมูลและการสื่อสารร่วมกัน โดยโปรแกรมซอฟแวร์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษามหาวิทยาลัย สมาชิกของคณะ รวมถึงพนักงานฝ่ายธุรการทุกฝ่าย

โดยอัลคาเทลเองเป็นผู้ติดตั้งเครือข่ายในชั้นที่หนึ่งนั้นที่สถาบันพระจอมเกล้าฯ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อของเครือข่ายความเร็วสูงทั่วทั้งสถาบันด้วยอุปกรณ์ Alcatel 8800 10Core Switches ผ่านสายเคเบิ้ลใยแก้ว และหลังจากสถาบันมีความสำเร็จอย่างดีในโครงการเชื่อมต่อทั่วทั้งบริเวณมหาวิทยาลัยนี้ สถาบันจึงได้ขยายโครงการโดยการเพิ่มเทคโนโลยีไร้สายมาติดตั้งหนึ่งปีหลังจากนั้น และจากการใช้จุดเชื่อมต่อ 135 Wi-Fi access points ทำให้สถาบันฯ กลายเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีการเชื่อมต่อแบบไร้สายตลอดทั้งบริเวณด้วยความเร็ว 10 กิกกาบิตต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่ายแบบธรรมดา

เมื่อถึงขั้นตอนของการประเมินผลงานของผู้ให้บริการเครือข่าย นับเป็นสิ่งสำคัญว่าพันธมิตรนั้นต้องสามารถเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า รวมถึงสามารถจัดเตรียมบริการต่างๆ อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ส่วนหนึ่งที่สถาบันพระจอมเกล้าฯ ได้ตัดสินใจในการทำงานร่วมกับอัลคาเทลคือความไว้วางใจว่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งในระหว่างและหลังจากการติดตั้งเครือข่ายอย่างแน่นอน รวมถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเครือข่ายสำหรับสถาบันเพื่อสุขภาพและการศึกษาต่างๆ ทั้งนี้ อัลคาเทลเองได้แสดงถึงความเข้าใจต่อความต้องการของทางสถาบันฯ ได้อย่างชัดเจน

คุณค่าของโซลูชั่นนี้

ราคาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจอันดับหนึ่งของทุกองค์กร แต่สำหรับองค์กรที่มีกำลังซื้ออยู่แล้วก็จะให้ความสำคัญเสถียรภาพของเครือข่ายและบริการหลังการขายที่เชื่อถือได้ ดร.มนัส เปิดเผยถึงเหตุผลที่เลือกโซลูชั่นจากอัลคาเทลว่า “เราได้คุยกับผู้เสนอโซลูชั่นมากมายและพิจารณาข้อเสนอที่หลากหลายมาก แต่อัลคาเทลได้ออกแบบโซลูชั่นที่เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะด้านการศึกษาของเรา”

นอกเหนือจากการให้จัดโซลูชั่นการสื่อสารที่เหมาะสมแล้ว ตัวทีมงานผู้ให้บริการก็ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าองค์กรต่างๆ ต้องการทีมงานที่ต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเรา และเราก็พบว่าอัลคาเทลสามารถตอบสนองเราด้วยโซลูชั่นเทคโนโลยีที่ครอบคลุม พร้อมทั้งทีมงานสมบูรณ์แบบเต็มไปด้วยประสบการณ์และความรู้

การที่จะระบุตัวเลขที่แน่นอนในความสามารถที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียของเครือข่ายที่ใหม่กว่า เร็วกว่าถือเป็นเรื่องยาก แต่เห็นได้ชัดๆ จากการประหยัดทั้งเงินและเวลาที่จะต้องเสียไปกับค่าตัวเครื่องบินและแทนด้วยการจัดการประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ระหว่างประเทศไทย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แทน อีกทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงการส่งบุคลากรที่สำคัญเดินทางไปยังประเทศดังกล่าวเพื่อประชุมอีกด้วย

การพัฒนาประเทศชาติ

การที่มีโซลูชั่นจากอัลคาเทลมาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ทำให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้รับการยกย่องให้เป็นสถาบันชั้นนำของโลกแห่งหนึ่งในสาขาการพัฒนาและวิจัยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ โซลูชั่นจากอัลคาเทลยังช่วยให้นักศึกษาได้สัมผัสถึงประสบการณ์จริงในด้านเทคโนโลยีที่ในอนาคตที่พวกเขาจะได้สัมผัสในสถานที่ทำงานจริงเมื่อจบออกไป

นักศึกษาที่มีคอมพิวเตอร์พกพา หรือ พีดีเอ สามารถที่จะเข้าถึงเครือข่ายไร้สายทุกที่ในบริเวณมหาวิทยาลัย ดร.มนัส กล่าวว่า “การเข้าถึงข้อมูลที่เร็วกว่าและดีกว่านั้น ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นและยังเป็นแรงจูงใจ ให้นักศึกษาสามารถที่จะทำงานได้อย่างรวดเร็วเท่าที่ต้องการ ทั้งยังเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับโลกภายนอกมหาวิทยาลัย ที่จริงแล้ว ทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเดียวกับที่ประเทศเจริญก้าวกว่าเราใช้กัน เช่น ทางฝั่งยุโรปและอเมริกา และถ้าปราศจากความทุ่มเทของอัลคาเทลในการถ่ายทอดความรู้ใหม่ในศักยภาพการใช้งานอยู่เสมอ เราคงไม่มีความมั่นใจว่าเราจะสามารถใช้ผลิตภัณฑ์อย่างเต็มที่”

ในการเครือข่ายที่รองรับเข้าถึงข้อมูลที่กว้างขึ้นนี้ย่อมจะมีเรื่องการเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างแน่นอน ซึ่งเราสามารถจัดการได้โดยใช้ระบบซอฟท์แวร์อัจฉริยะที่มีชื่อว่า Access Guardian and Quarantine Manager โดยซอฟท์แวร์นี้จะทำหน้าที่ จัดระบบอนุญาตให้เข้าสู่เครือข่าย การแสดงชื่อผู้ใช้งาน สิทธิ และการปล่อยให้เข้าเครือข่ายต่างๆ โดยซอฟท์แวร์จะตรวจจับการจู่โจมแบบไวรัสและการบุกรุกอย่างผิดกฏหมายในเครือข่าย และจะช่วยยับยั้งการคุกคามเหล่านั้นจนกว่าจะกำจัดออกไปได้

อัลคาเทลและสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบังจะร่วมมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อสร้างความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไปอนาคตให้แก่สถาบันการศึกษาของไทยด้วยเครือข่ายล้ำสมัยต่างๆ อันจะนำมาซึ่งความข้อมูลความรู้ ความสะดวกในการใช้งานในที่ต่างๆ รวมถึงความปลอดภัยสูงสุด

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
วรางคณา พวงศิริ
สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
โทร. 0 2653 2717-9 แฟกซ์ 0 2653 2720
อีเมล: warangkana@spark.co.th