เอไอเอ เผยผลสำรวจดัชนี “ไลฟ์-แมทเทอร์ส” พบคนไทยเสี่ยงเจอปัญหาด้านการเงิน

ผลการสำรวจประจำปี ดัชนี “ไลฟ์-แมทเทอร์ส” ของเอไอเอพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยไม่แน่ใจหรือไม่รู้ว่าตนจะสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้อย่างไร หากประสบปัญหาด้านการเงินอันเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ

ไลฟ์-แมทเทอร์ส เป็นการสำรวจระดับภูมิภาคประจำปี จัดทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 โดยได้ทำการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงส่วนบุคคล การคุ้มครอง และวัดระดับการเตรียมความพร้อมในกรณีเจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุ การสำรวจครอบคลุม 4 ประเทศหลัก ได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ดำเนินการสำรวจโดยบริษัท ทีเอ็นเอส ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการวิจัยข้อมูลทางการตลาดชั้นนำ ด้วยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างประเทศละ 1,000 คน

ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าร้อยละ 59 ของกลุ่มตัวอย่างคนไทย เชื่อว่าหากต้องเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง พวกเขาจะไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือไม่แน่ใจว่าจะมีเงินเพียงพอสำหรับค่ารักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องได้เกินระยะเวลา 10 ปี

กลุ่มตัวอย่างคนไทยร้อยละ 41 เชื่อว่าพวกเขาจะมีเงินเพียงพอต่อการทดแทนรายได้ที่ขาดหายไป และเพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประหลาดใจเมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างในประเทศอื่นๆ ตีความได้ว่าเห็นว่ากลุ่มตัวอย่างคนไทยมองโลกในแง่ดีที่สุดในภูมิภาคนี้ ผลการสำรวจยังพบว่าโดยเฉลี่ยคนไทยเชื่อว่าจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ที่ 351,429 บาท ซึ่งครอบคลุมถึงค่ารักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงแล้ว

ในความเป็นจริง ค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรงเพียงอย่างเดียวไม่รวมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงกว่าจำนวนเงินที่กล่าวมา ตัวอย่างเช่น หากเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งในทรวงอกและต้องเข้ารับการรักษา ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือนนับจากวันที่ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคดังกล่าว ค่ารักษาพยาบาลตกอยู่ที่ประมาณ 803,000 บาท เงินจำนวนนี้ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือ ค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องหลังจาก 3 เดือน ทั้งนี้ผู้ป่วยยังอาจสูญเสียรายได้ประจำในช่วงพักฟื้น ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่า หากผู้ป่วยมีรายได้ประจำเดือนละ 30,000 บาท ควรต้องทำประกันอุบัติเหตุและสุขภาพที่คุ้มครองโรคร้ายแรงในวงเงินคุ้มครองอย่างน้อย 3 เท่าของรายได้ประจำต่อปี จึงจะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น

มร. โธมัส เจมส์ ไวท์ รองประธานบริหารระดับสูงและผู้จัดการทั่วไป ของเอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “แม้ผลสำรวจ ไลฟ์-แมทเทอร์ส จะแสดงให้เห็นว่าคนไทยมองโลกในแง่ดี แต่ในความเป็นจริงนั้นคนไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงทางด้านการเงินที่สูง เพราะขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยเนื่องจากความคุ้มครองที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอ เห็นได้จากกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 22 ไม่รู้ว่าพวกเขาจะมีเงินมากพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ในกรณีเจ็บป่วยรุนแรง ทั้งในแง่ของการขาดรายได้ประจำและค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และที่น่าวิตกไปกว่านั้นคือ กลุ่มตัวอย่างที่เชื่อว่าพวกเขาจะสามารถจัดการกับค่ารักษาพยาบาลได้นั้น ประเมินจำนวนเงินไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก”

ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย เพียงร้อยละ 33 ที่ทำประกันอุบัติเหตุ และประกันทุพพลภาพ และมีเพียงร้อยละ 9 ที่ทำประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง ในขณะที่ร้อยละ 11 ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการคุ้มครองในส่วนของเงินชดเชยรายได้

“ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้อัตราการรอดชีวิตจากโรคร้ายแรงและอุบัติเหตุนั้นสูงขึ้น ในปัจจุบันผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึงร้อยละ 80-90 แต่อัตราการกลับมาของโรคนั้นยังค่อนข้างสูง ซึ่งอาจต้องทำการรักษาต่อเนื่องไปนานกว่า 10-20 ปี” มร. ไวท์ กล่าวสริม

“คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบด้านการเงินทั้งต่อตัวเองและต่อครอบครัว หากต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณี เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง จากอุบัติเหตุ และค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องระยะยาว ทั้งนี้ การขาดรายได้ประจำเช่นเงินเดือนเพียงอย่างเดียวนั้นสามารถทำให้เกิดความเสียหายทางการเงินอย่างมาก โดยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าร้อยละ 28 ของกลุ่มตัวอย่างจะหมดเงินทุนภายในระยะเวลา 12 เดือน ในกรณีที่ไม่มีการคุ้มครองเรื่องของรายได้และเงินเดือน”

“ผลสำรวจชี้ให้เห็นช่องว่างระหว่างความคิดกับความเป็นจริงที่คนส่วนใหญ่ต้องเผชิญในเรื่องความเสี่ยงทางด้านการเงินอัน เป็นผลจากการได้รับความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลและรายได้ที่ไม่เพียงพอ”

“การให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับตลาดประเทศไทย เอไอเอทำทุกวิถีทางในการให้ความรู้พร้อมกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจความสำคัญในการวางแผนด้านการเงิน โดยการแนะนำให้ทำประกันอุบัติเหตุและสุขภาพในวงเงินคุ้มครองที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล การชดเชยรายได้ในช่วงที่เจ็บป่วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความมั่นคงต่ออนาคตด้านการเงิน ซึ่งสอดคล้องกับการแนะนำโปรแกรมตรวจสุขภาพทางการเงิน (Financial Health Check Program) ของเอไอเอ เมื่อเร็วๆนี้

โปรแกรมตรวจสุขภาพทางการเงิน เป็นกระบวนการที่จะช่วยลูกค้าวางเป้าหมายด้านการเงิน ทั้งในส่วนของการคุ้มครองรายได้ของครอบครัว การวางแผนการเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษา การวางแผนเกษียณ และ การวางแผนค่ารักษาพยาบาลด้านอุบัติเหตุและสุขภาพ โปรแกรมนี้จะช่วยเรียงลำดับความความสำคัญของการใช้จ่ายและนำเสนอทางเลือกให้กับลูกค้าเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ในช่วงจังหวะใดของชีวิต พื้นฐานการวางแผนการเงินที่ดีจะทำให้เขามีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว”

เกี่ยวกับเอไอเอ
เอไอเอ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 67 ปี ณ 31 ธันวาคม 2548 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 299,242 ล้านบาท และมีเงินสำรองประกันภัยรวม 219,157 ล้านบาท เอไอเอ ให้บริการประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ ประกันกลุ่ม ออมทรัพย์รายเดือน ประกันสินเชื่อ สินเชื่อเคหะ และการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เอไอเอ เป็นบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานสาขา บริษัทย่อย และบริษัทในเครือ ตั้งอยู่ในหลายประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย, บรูไน, จีน, กวม, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเก๊า, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ประเทศไทย และเวียดนาม เอไอเอ ให้บริการเกี่ยวกับการประกันชีวิตอย่างครบวงจรผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย โดยมีช่องทางหลักคือ ทีมงานตัวแทนประกันชีวิตที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ เอไอเอ เป็นบริษัทในเครือ เอไอจี หรือ อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล กรุ๊ป, อิงค์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทประกันภัยระหว่างประเทศและเป็นบริษัทที่ให้บริการทางด้านการเงินชั้นนำของโลก