ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตประเทศไทย และได้ยกเลิกเครดิตพินิจเป็นลบ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตของประเทศไทย โดยอันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว Issuer Default Rating (“IDR”) คงไว้ที่ ‘BBB+’และอันดับเครดิตสกุลเงินในประเทศระยะยาว IDR คงไว้ที่ ‘A’ ฟิทช์ได้ยกเลิกอันดับเครดิตพินิจเป็นลบ (“Rating Watch Negative”) ของประเทศไทยซึ่งได้ประกาศไว้ ณ วันที่ 19 กันยายน 2549 จากอันดับเครดิตของประเทศไทย โดยแนวโน้มอันดับเครดิตของประเทศมีเสถียรภาพ ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ยังได้ประกาศคงอันดับเครดิตระยะสั้น IDR ของประเทศไทยที่ ‘F2’ ส่วนเพดานอันดับเครดิตของประเทศยังอยู่ที่ ‘A-’ (A ลบ)

การประกาศคงอันดับเครดิตเป็นผลมาจากเสถียรภาพทางการเมืองที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากเกิดการปฎิวัติซึ่งนำโดยกลุ่มทหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงความแข็งแกร่งที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ของดัชนีบ่งชี้อันดับเครดิตที่สำคัญ (และความโดดเด่นที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับค่ากลางของกลุ่มประเทศที่ได้รับการจัดเครดิตในระดับ ‘BBB’ ) ซึ่งได้ เกิดขึ้นหลังจากการทบทวนอันดับเครดิตประจำปีในเดือนเมษายน 2549

ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ผู้นำการก่อการปฎิวัติได้ปฎิบัติตามระเบียบวาระที่ได้เสนอไว้อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งรัฐบาลรักษาการณ์รวมทั้งสภานิติบัญญัติ นอกจากนั้น สถานการณ์ทางการเมืองโดยทั่วไปได้ปรับตัวมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าฟิทช์จะตั้งข้อสังเกตว่าคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติยังมีอำนาจอยู่มากตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและยังไม่มีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก ความไม่แน่นอนในเรื่องการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่รวมถึงกำหนดการณ์และผลการจัดการเลือกตั้งโดยทั่วไปเพื่อการนำกลับคืนมาซึ่งระบบผู้นำตามระบอบประชาธิปไตยที่ยังมีอยู่ รัฐบาลรักษาการณ์ยังต้องแก้ปัญหาความวุ่นวายที่ลุกลามในภาคใต้ของประเทศ ฟิทช์เชื่อว่า ในระยะเวลา 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้าจะเป็นระยะเวลาที่สำคัญในการจัดตั้งระบบพื้นฐานสำหรับการพัฒนาระบบการเมืองของประเทศไทยในระยะยาว

ฐานะทางการเงินต่างประเทศ (“External Financial Position”) ของประเทศไทยได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (“Current Account Surplus”) ในระดับ 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแปดเดือนแรกของปี 2549 ค่อนข้างจะแข็งแกร่งเกินความคาดหมายเมื่อเทียบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับ 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในระยะเวลาเดียวกันของปี 2548 ส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ (“International Reserves”) ของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับ 60.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ซึ่งดีกว่าค่ากลางของประเทศที่ถูกจัดอันดับเครดิตในระดับ ‘BBB’ ทั้งในเชิงยอดหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (“Short-Term External Debt”) ปริมาณเงิน (“Broad Money”) และจำนวนเดือนของรายจ่ายดุลบัญชีเดินสะพัด (“Months of Current External Payments”) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้ ประเทศไทยสามารถรักษาสถานะความเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศ (“Net External Creditor”) ที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาครัฐนอกจากนั้นแล้ว การไหลออกของเงินทุน (“Capital Flight”) เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯได้ฟื้นตัวขึ้นภายหลังจากมีการปฎิวัติ

อัตราส่วนหนี้สินที่สำคัญ (“Key Debt Ratios”) ของประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับค่ากลางของประเทศที่ถูกจัดอันดับเครดิตในระดับ ‘BBB’ จากการคำนวณของฟิทช์ หนี้ของรัฐบาลโดยทั่วไป ได้ลดลงมาที่ระดับ 28.8 % ของผลผลิตรวมภายในประเทศ (“Gross Domestic Product” หรือ “GDP”) (ซึ่งต่ำกว่าค่าการคาดการณ์ของค่ากลางของประเทศที่ถูกจัดอันดับเครดิตในระดับ ‘BBB’ ที่อยู่ที่ 34.4 % ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549 จาก 31.9% ณ สิ้นเดือน กันยายน 2548 ถึงแม้ว่า หนี้ต่างประเทศ (“Gross External Debt”) ตามคำจำกัดความเชิง GDP ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 29.8 % ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 ตัวเลขนี้ยังต่ำกว่าค่ากลางที่ 39.1 %ในปี 2549 ของกลุ่มประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ ‘BBB’ ฟิทช์เชื่อว่า การคาดการณ์การเกินดุลงบประมาณ (“Planned Budget Deficits”) จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนหนี้สินเหล่านี้อย่างมีนัยสำคัญในระยะปานกลาง

เนื่องจากฟิทช์ได้คาดการณ์ว่าจะมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังของปี 2549 อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2549 ถูกคาดการณ์เอาไว้ว่าจะอยู่ในระดับ 4.3% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงไปจากตัวเลขที่ฟิทช์คาดการณ์เอาไว้ก่อนที่จะเกิดการปฎิวัติ ฟิทช์ยังคงรักษาระดับการคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2550 ที่ 4.6% เนื่องจากการเร่งการใช้จ่ายของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยที่มีเสถียรภาพ และอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลง ฟิทช์คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเริ่มแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่สมดุลเมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนเริ่มฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติ แรงความเคลื่อนไหวของการเจริญเติบโตจากปัจจัยภายนอกประเทศ มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง เมื่อพิจารณาถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจของโลกที่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง

รายงานฉบับพิเศษของฟิทช์ หัวข้อ “Thailand After The Coup” สามารถดูได้โดยสมาชิก ใน www.fitchratings.com

ติดต่อ: Vincent Ho, Hong Kong, +852 2263 9921/ vincent.ho@fitchratings.com; James McCormack, Hong Kong, +852 2263 9925/ james.mccormack@fitchratings.com

สื่อสัมพันธ์: Ching-Yuen Lock, Singapore, Tel: +65 6238 7301; Sylvia McKaige, Singapore, Tel: +65 6336 0095.

คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฏข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน