ดาต้าคร้าฟท์คว้าสัญญาวางโครงสร้างเครือข่ายทั้งหมดให้กับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

กรุงเทพฯ,ประเทศไทย–14 มี.ค.–ซินหัว-พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ดาต้าคร้าฟท์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการและจัดหาโซลูชั่นไอทีอิสระระดับแนวหน้าในภูมิภาค ได้ลงนามในสัญญามูลค่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่แบ่งเป็นหลายระยะ กับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย

ดาต้าคร้าฟท์ จะออกแบบและวางระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ตลอดระยะเวลาสองปีนับจากนี้ ซึ่งรวมถึงการติดตั้งเครือข่ายใยแก้วความเร็วสูงระหว่างวิทยาเขตหัวหมากและบางนา ซึ่งมีระยะห่างกันราว 56 กิโลเมตร

“เรากำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยการริเริ่มการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ตสำหรับการศึกษาทางไกลและการศึกษาตลอดชีพ และเราต้องการจัดส่งเนื้อหาข้อมูลผ่านทางเว็บเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้นในระดับวิทยาเขต” อาจารย์ วิวัฒน์ เลาหบุตร แห่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกล่าว “แต่เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว เราจะต้องเอาชนะข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันซึ่งมีจุดด้อยมากเกินไป และไม่สามารถส่งมอบคุณภาพในการให้บริการทั่วทั้งพื้นที่ได้อย่างสม่ำเสมอ”

“ดาต้าคร้าฟท์ ได้รวมแผนการที่ยอดเยี่ยมและนำเสนอโซลูชั่นที่ครบวงจรเพื่อยกระดับโครงสร้างเครือข่ายทั้งหมดของเรา พร้อมด้วยเป้าหมายที่จะเพิ่มระดับการบริการข้อมูลสูงสุดที่ 99.999% และระบบสำคัญๆที่ 99.99% การทำงานร่วมกันในการวางระบบเครือข่ายความเร็วสูงสำหรับศูนย์อี-เลิร์นนิ่ง

ตั้งแต่ปี 2547 ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ด้วยความสามารถและความเชี่ยวชาญของดาต้าคร้าฟท์”
ในส่วนของวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ที่ปรึกษาสำหรับบริการมืออาชีพดาต้าคร้าฟท์ (Datacraft Professional Service) ได้ออกแบบโครงสร้างใหม่เพื่อให้บริการคุณภาพสูง มอบความสามารถในการฟื้นคืนสู่สภาพปกติหลังได้รับความเสียหาย และความสามารถในการต้านทานต่อการผิดพลาด การดำเนินงานที่สม่ำเสมอทั่วทั้งวิทยาเขตสำหรับแอพพลิเคชั่นส์ back-office และทั่วทุกพื้นที่สำหรับแอพพลิเคชั่นส์การเรียนรู้ จำเป็นต้องมีการจัดการเส้นทางและการควบคุมแบนด์วิธที่ชาญฉลาดเพื่อป้องกันการจราจรที่ไม่เป็นผลอันเนื่องมาจากความหนาแน่นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

“การที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีแผนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีนั้น หมายความว่าเครือข่ายของมหาวิทยาลัยต้องมีการดำเนินงานและความปลอดภัยในระดับที่เหมาะสมอย่างแท้จริง” นายสมชาติ กัณหา ผู้จัดการทั่วไป ดาต้าคร้าฟท์ ประเทศไทย กล่าว “หลักการสำคัญประการหนึ่งของเราคือความสามารถในการฟื้นคืนจากความเสียหายอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งการใช้งานร่วมกันอย่างครอบคลุมเป็นวงกว้างเพื่อมั่นใจว่าข้อมูลมีความสมบูรณ์”
“นอกจากนี้ เรากำลังติดตั้งโซลูชั่น ดาต้าคร้าฟท์ ไอบอสส์ (Datacraft iBoss) เพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถควบคุมการจัดการแบนด์วิธได้ทั้งหมดเพื่อรองรับเนื้อหามัลติมีเดีย ระบบความปลอดภัยจะได้รับการทบทวนเพื่อสะท้อนการอัพเดตโครงสร้างใหม่ และจัดการกับภัยคุกคามความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้”

ในโครงการแรกร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเมื่อปี 2547 ดาต้าคร้าฟท์มีภารกิจในการวางระบบเครือข่ายความเร็วสูงให้แก่ศูนย์อี-เลิร์นนิ่งแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ศูนย์ศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ (SCIT Center) ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญอย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวยังไม่เห็นผลชัดเจนในปีงบประมาณนี้

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก “โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ” ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512 และได้รับวิทยฐานะเป็น “โรงเรียนอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ” สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาได้มีการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2515 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ” หรือ “เอแบค” รายละเอียดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สามารถอ่านได้ที่ www.au.edu สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับอาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ กรุณาเข้าชมที่เว็บไซต์ www.scBuilding.info และหากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สามารถอ่านได้ที่ www.eLearning.au.edu

เกี่ยวกับดาต้าคร้าฟท์
ดาต้าคร้าฟท์เป็นบริษัทให้บริการและโซลูชั่นด้านไอทีชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัทได้ช่วยลูกค้าวางแผน สร้าง และสนับสนุนโครงสร้างไอที ดาต้าคร้าฟท์ ผสมผสานความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเครือข่าย ความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บ และการติดต่อกับศูนย์กลางเทคโนโลยี ด้วยทักษะการปรึกษา การรวมตัว และบริการจัดการในขั้นสูง เพื่อสร้างไอที โซลูชั่นส์สำหรับธุรกิจ

ดาต้าคร้าฟท์ เป็นสมาชิกของไดเมนชั่น ดาต้า กรุ๊ป และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ รวมทั้งเป็นบริษัทในดัชนีสเตรทไทมส์ ซึ่งบริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ ดาต้าคร้าฟท์มีสำนักงานมากกว่า 50 แห่งและมีพนักงานมากกว่า 1,200 รายทั่วตลาดเอเชีย แปซิฟิก 13 ประเทศ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ www.datacraft-asia.com

สื่อมวลชนติดต่อที่
ดาต้าคร้าฟท์ เอเชีย
วราภรณ์ หวังศิริ
ผู้บริหารการจัดการการสื่อสารและภาพลักษณ์บริษัท
โทรศัพท์ +662-625-0920
อีเมล์ waraporn.w@datacraft-asia.com

บีคี ลิม
ผู้จัดการการจัดการการสื่อสารและภาพลักษณ์บริษัท
โทรศัพท์ +65-6322-6605
อีเมล์ bee-kee.lim@datacraft-asia.com

แหล่งข่าว ดาต้าคร้าฟท์