กลยุทธ์การผลักดันองค์กรของคุณสู่มาตรฐานที่เหนือคู่แข่งด้วย (BICC)

บทความโดย บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Website:http://www.sas.com

ในขณะที่แนวโน้มของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างพยายามทําความเข้าใจและหาวิธีการพัฒนาเพื่อสร้างความหยั่งถึงทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่าระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence – BI) ให้กับองค์กรของตนในปัจจุบัน ผลสำรวจต่างๆ มากมายได้แสดงให้เห็นว่าความต้องการดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว ด้วยเหตุผลหลักๆก็คือองค์กรหลายแห่งยังคงประสบปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่รวมถึงการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลักดันการตัดสินใจทางธุรกิจ

จากผลการสำรวจของ BetterManagement.com (เว็บไซต์ที่ทำการวิจัยหาแนวทางพัฒนาการจัดการและตัดสินใจด้านธุรกิจแก่องค์กรทั่วโลก) แสดงให้เห็นว่ากว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารระบุว่าพวกเขาไม่เคยหรือแทบจะไม่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์และช่วยเสริมประสิทธิภาพของการตัดสินใจทางธุรกิจเลย หรือในบางครั้งได้รับข้อมูล แต่ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่สามารถสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเพื่อสร้างกลยุทธ์แก่พวกเขาได้

สาเหตุดังกล่าว เริ่มขึ้นจากการขาดความเข้าใจในการสร้างและกระจายความหยั่งถึงทางธุรกิจไปในระดับองค์กร และมีการใช้งานในระบบดังกล่าวอย่างไม่ต่อเนื่องจึงก่อให้เกิดการทับถมของข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้องค์กรมากมายยังประสบปัญหาในบริหารจัดการและสร้างมาตรฐานระบบธุรกิจอัจฉริยะในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะให้สามารถกระจายใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆแผนกตามความต้องการ มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่กำลังทำสิ่งที่จำเป็นในการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นข้อมูลที่พวกเขาต้องการจริงๆต่อไป

จุดนี้เองคือปัญหาที่เรียกว่าการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่หลายๆแห่งประสบ เมื่อต้องปฏิบัติเสมือนว่าข้อมูลเป็นทรัพย์สินระยะยาวของบริษัทเพื่อสร้างกลยุทธ์ และสร้างความแตกต่างทางธุรกิจเหนือองค์กรอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนจากเดิมที่องค์กรสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้สึกหรือความเข้าใจที่มีต่อตลาดได้อย่างเดียว

สร้างความแตกต่างทางธุรกิจด้วย BICC (Business Intelligence Competency Center)
ในฐานะผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบัน คุณจำเป็นต้องวางแผนการตัดสินใจระยะยาวซึ่งจะส่งผลลัพธ์เชิงบวกแก่ธุรกิจ และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้นก็คือ ต้องเข้าใจกระบวนการความหยั่งถึงทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะสนับสนุนประสิทธิภาพในการตัดสินใจโดยผ่านข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้อง

ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรจะสามารถสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ ‘คุณภาพของการกระจายการหยั่งถึงข้อมูลทางธุรกิจไปยังองค์กร” และ “คุณภาพของบุคคลากรในองค์กรที่จะสามารถใช้ เรียกดู และวิเคราะห์ข้อมูลหยั่งรู้นี้ให้กลายเป็นอาวุธชั้นดีในชี้นําธุรกิจขององค์กรได้

ในความหมายที่แท้จริงของ Business Intelligence หรือความหยั่งรู้ทางธุรกิจนั้น หมายถึง การได้ข้อมูลสําคัญทางธุรกิจที่ถูกต้อง และส่งมอบให้แก่บุคคลากรที่เป็นเป้าหมายเพื่อการวิเคราะห์ได้ และต้องอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม ทันสถานการณ์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้พวกเขาสามารถสร้างผลลัพธ์ที่เหนือคู่แข่งจากการตัดสินใจที่ถูกต้อง แม่นยํายิ่งขึ้น

การที่องค์กรจะได้มุมมองโดยกว้างของภาพรวมทางธุรกิจนั้นจะต้องได้รับข้อมูล ที่สําคัญ 4 ด้านคือลูกค้า การเงิน การปฏิบัติการ และความเสี่ยงในธุรกิจ เมื่อได้ข้อมูลธุรกิจที่สําคัญทั้ง 4 ด้านดังกล่าวองค์กรก็ต้องการหน่วยงานที่มาเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาและขับเคลื่อนความหยั่งรู้ทางธุรกิจให้ไหลไปในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล BICC จึงเข้ามามีบทบาทสําคัญในองค์กร

ซึ่งองค์กรทั้งหลายต่างตระหนักดีว่า การยกระดับความหยั่งรู้ทางธุรกิจได้กลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว เฉกเช่นเดียวกับความหมายของคำว่า Business Intelligence (BI) BICC นั้นก็มีมุมมองที่เป็นมิติลึกไปกว่านั้น ซึ่งในแง่กลยุทธ์นั้น BICC จะเน้นเพิ่มไปที่ บุคคลากร กระบวนการ ระบบโครงสร้าง และวัฒนธรรมองค์กร

การประเมินและการริเริ่ม BICC
ในลำดับแรกของการเริ่มต้นก่อตั้ง BICC นั้น คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าอะไรคือ Intelligence หรือข้อมูลธุรกิจสําคัญที่คุณต้องการ และการระบุว่าการตัดสินใจทางธุรกิจดังกล่าวจะต้องถูกกระทำใน รายวัน รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ในระดับการตัดสินใจของพนักงานในองค์กรที่มีลำดับตำแหน่งบริหารที่แตกต่างกันออกไป หลังจากนั้นคุณจะต้องมองว่าจะสามารถส่งมอบ Intelligence ที่ต้องการได้อย่างไรซึ่งแต่ละองค์กรก็ล้วนมีวิธีการที่จะทำให้เกิด Intelligence ที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีปัจจัยเฉพาะต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการสร้าง Intelligence ไม่ว่าจะเป็น ขนาดและโครงสร้างขององค์กร รูปแบบของข้อมูล ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและจะต้องคำนึงถึงเสมอก็คือ ความเข้าใจระดับวุฒิภาวะขององค์กรในด้านขีดความสามารถของการสร้างและส่งมอบ Intelligence และในจุดนี้เองโมเดลที่มีชื่อว่า Information Evolution Model (IEM) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยบริษัท แซส ซอฟท์แวร์ จำกัด จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างแนวทางเพื่อประเมินระดับความพร้อมขององค์กรรวมไปถึงการวางแผนกลยุทธ์เพื่อช่วยให้องค์กรของคุณสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยระบบ SAS – IEM เป็นการรวบรวมปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปถึง 5 ระดับซึ่งจะถูกสร้างซ้อนกันขึ้นไป ได้แก่

ขั้นปฏิบัติการ (Operate) – เพ่งไปที่ตัวบุคคล ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับบุคคลแต่ละราย
การรวบรวม (Consolidate) – ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในระดับส่วนงาน
การผสมผสาน (Integrate) – มาตรฐานในระดับองค์กรจะถูกนำมาใช้แทนที่
การใช้ให้เหมาะสม (Optimize) – ข้อมูลจะต้องถูกเตรียมพร้อมสำหรับการวัด จัดวางให้ เหมาะสม และ ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
การสร้างนวัตกรรม (Innovation)– การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและการปรับปรุงสิ่ง ใหม่เพื่อแทนที่สิ่งเดิม

ขั้นตอน 5 ประการของโมเดลพัฒนาการ
การเข้าใจในโมเดลดังกล่าวจะไล่ระดับของความเข้าใจตั้งแต่ บุคคลากร กระบวนการ ระบบโครงสร้าง และวัฒนธรรมองค์กรถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นพื้นฐานของ BICC ซึ่งจะสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่องค์กรของคุณต่อไป ความสามารถในการสร้าง BICC นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับความพร้อมขององค์กรของคุณ แต่เกิดจากวัตถุประสงค์ของการสร้าง Intelligence ที่จะสามารถกำหนดโครงสร้างของ BICC ของคุณได้ต่อไป

พื้นฐานในการดำเนินการ BICC บางแห่งอาจเริ่มจากระบบสนับสนุนขั้นต้นเท่านั้น แต่แซสมีข้อแนะนำเพื่อให้องค์กรสามารถเพิ่มเติมมุมมองเพื่อการริเริ่ม Business Intelligence อย่างสมบูรณ์แบบ ได้แก่

• โปรแกรม Business Intelligence: การเลือกว่าระบบโปรแกรม BI ใดที่สมควรต้องถูกใช้งาน ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ
• การให้บริการข้อมูล: คุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ระบบการจัดการ และนโยบายจะถูก ควบคุมโดย BICC
• การได้มาซึ่งข้อมูล: การรวบรวมข้อมูล (Data Integration) และจัดเก็บข้อมูล (Storage)
• การวิเคราะห์ขั้นสูง
• การสนับสนุน: การสนับสนุน และบริการที่ดีเลิศสำหรับผู้ใช้งานทางธุรกิจ
• การผึกอบรม: การจัดการความเปลี่ยนแปลง การบริหารโครงการ และกระบวนการ ผสมผสานการผึกอบรมเพื่อส่งมอบผลลัพธ์ Intelligence ให้มีประสิทธิภาพ
• การบริหารจัดการสัญญากับผู้ให้บริการระบบ

พื้นฐานของ BICC
เนื่องจาก BICC ถือเป็นเป้าหมายที่เป็นกลยุทธ์ระดับองค์กร จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวมทั้ง 2 ส่วนหน่วยงานในการทํางานควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเทคโนโลยี และหน่วยงานทางธุรกิจ และควรต้องขึ้นตรง รายงานผลกับผู้บริหารระดับสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น CFO CIO หรือแม้แต่ CEO ที่สำคัญที่สุด BICC ควรกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างองค์กร ที่มีหน้าที่ในการผสมผสานบทบาทเชิงธุรกิจเข้ากับคนไอที บทบาทเชิงธุรกิจดังกล่าวได้แก่ ผู้วิเคราะห์ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุตสาหกรรม และ ผู้จัดการโครงการ ส่วนตัวอย่างของบทบาทเชิงเทคโนโลยีได้แก่ ผู้ควบคุมด้านเทคนิค ผู้ดูแลเหมืองข้อมูล นักออกแบบคลังข้อมูล ที่ปรึกษาด้านคลังข้อมูล และนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น เป็นต้น

นอกเหนือจากหน้าที่เหล่านี้แล้วเรายังต้องการความชำนาญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและสื่อสารความเปลี่ยนแปลงนั้นออกไปเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการสร้าง Intelligence BICC ควรได้รับการควบคุมการทำงานโดยบุคลากรซึ่งได้รับการระบุว่าจะกลายเป็นผู้บริหารในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่า BICC จะสามารถทำงานในฐานะจุดเริ่มต้นของการสร้างแนวคิดและแนวทางปฏิบัติสำหรับพวกเขาเหล่านั้นเพื่อให้ได้รับภาพรวมขององค์กรทั้งหมดอย่างครบถ้วน

ขนาดของ BICC มีความหลากหลายตั้งแต่ขนาดจำนวน 12 คนไปจนถึงนับร้อยๆ คน ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท อาทิเช่น บริษัทประกันภัยชั้นนำในแอฟริกาใต้ได้ตั้ง BICC สำหรับคนจำนวน 10 ถึง 20 คน โดยในความพยายามที่จะสร้าง Intelligence แก่องค์กรนั้น บริษัทดังกล่าวได้ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อสนับสนุนความพยายามในการบริหารระบบจัดการข้อมูลใหม่ ส่วนในประเทศญี่ปุ่น NTT DoCoMo ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทางด้านการโทรคมนาคมระดับโลกได้สร้าง BICC ซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานกว่า 100 คน องค์กรทั้งสองต่างได้ทำการตัดสินใจซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อธุรกิจว่าการสร้าง Intelligence คือหัวใจหลักสำคัญที่ต้องได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรกหลังจากนั้นจึงค่อยมุ่งสร้างองค์กรให้เกื้อหนุนการทำงานของ Intelligence ต่อไป

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม หากคุณเข้าใจถึงข้อกำหนดพื้นฐานทางธุรกิจและขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันของคุณโดยมี Intelligence ที่องค์กรของคุณต้องการเป็นสิ่งผลักดัน คุณก็จะสามารถเห็นได้อย่างกระจ่างชัดว่าคุณต้องทำอะไรต่อไปเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณด้วยการใช้ BICC เป็นบันไดสนับสนุนการตัดสินใจ และเมื่อด้วย BICC คุณจะสามารถยกระดับองค์กรของคุณให้เติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงทั้งในด้าน กระบวนการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร บุคลากร และโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มรายรับทางธุรกิจที่เป็นเป้าหมายสำคัญของทุกองค์กรให้แก่บริษัทของคุณอีกด้วย

บทบาทของบุคคลากรใน BICC
บุคคลากรประเภทไหนที่ BICC ต้องการ? ต้องมีความเชี่ยวชาญ ความรู้ และคุณสมบัติแบบใด? อย่างน้อยที่สุด BICC ควรจะประกอบด้วย ผู้จัดการ BICC นักวิเคราะห์ธุรกิจ หัวหน้าส่วนดูแลข้อมูล และ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี หลังจากการก่อตั้งได้สักระยะแล้ว BICC สามารถที่จะขยายบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างตัวอย่างในภาพ ซึ่งใน BICC ขนาดใหญ่ จะรวมถึง ผู้จัดการโครงการ นักสื่อสารภายในองค์กร นักออกแบบแอพพลิเคชั่น ที่ปรึกษาด้านระบบคลังข้อมูล พนักงานดูแล license นักสถิติ และที่ปรึกษาให้การอบรม

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมแวะชมชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.sas.com/consult/bicc.html