เอคเซนเชอร์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารไอที

เอคเซนเชอร์ (หรือมีชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า ACN) เผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประธานบริหารด้านไอทีทั่วโลก เกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนด้านไอที ซึ่งระบุว่า องค์กรต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ จากที่มุ่งเน้นการสร้างผลประโยชน์ทางด้านการเงินมาเป็นการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านอื่นๆ

นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังบ่งชี้ว่า ผู้บริหารระดับสูงสุดและผู้บริหารด้านไอทีที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจากนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้สังเกตการณ์ในวงการการเงิน จะมีการปรับเปลี่ยนระบบไอทีเพียงบางส่วน โดยไม่ได้ลงลึกถึงการเปลี่ยนระบบโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

สำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งได้แก่ ผู้บริโภค ลูกค้าและประชาชน ส่วนองค์กรภาครัฐมีความต้องการเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เนื่องจากมีความคุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น โดยเอคเซนเชอร์ได้นิยามปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า “ระบบคอมพิวเตอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้”

ความต้องการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัญหาสำคัญแห่งปี 2008 สำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานด้านไอที ในการประเมินการลงทุนด้านไอที ทั้งนี้ มร. ปีเตอร์ สไปเซอร์ Executive Partner

ด้านกลยุทธ์และพัฒนาไอที บริษัท เอคเซนเชอร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เผยถึงประเด็นดังกล่าวว่า“ผู้บริหารสูงสุดและผู้บริหารด้านไอทีต้องตัดสินใจว่า จะเลือกสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นให้แก่ลูกค้าที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือรอรับเสียงปรบมือช่วงสั้นๆ จากผู้จัดการกองทุน ที่แสดงความชื่นชมต่อการควบคุมรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังพบว่า ความแตกต่างระหว่างแนวคิดที่ยึดผลประโยชน์ทางการเงินเป็นหลัก และแนวทางที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านอื่นๆ ยังมีช่องว่างอยู่มาก และมีหลักฐานการศึกษาเพียงไม่กี่ชิ้นที่ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของบริษัทและองค์กรต่างๆ ในการขจัดช่องว่างดังกล่าว ขณะที่บริษัทข้ามชาติที่เข้ามาเปิดตลาดในตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) ด้วยต้นทุนต่ำ ตั้งเป้าที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้งานที่เน้นให้ผู้ใช้มีประสบการณ์การใช้งานมีส่วนร่วม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้จากทุกที่ทุกเวลา และการทำงานที่สามารถตอบโต้ได้ในเวลาจริงหรือแบบเรียลไทม์

ผลการศึกษาดังกล่าวยังค้นพบว่า ระบบคอมพิวเตอร์ที่ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ ก่อให้เกิดผลดีต่อพนักงานซึ่งเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการทำงานทุกวัน “ปัจจุบัน เทคโนโลยีระดับผู้บริโภคมีการเติบโตอย่างรวดเร็วเหนือกว่าเทคโนโลยีที่ใช้ภายในองค์กร ส่งผลให้พนักงานรู้สึกอึดอัดกับความล้าสมัยของเทคโนโลยีที่ใช้ในสำนักงาน ทำให้มีพนักงานหลายคนนำเทคโนโลยีที่ใช้ส่วนตัวมาใช้ในที่ทำงาน แม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรก็ตาม” มร. สไปเซอร์ กล่าวเสริม

จากการศึกษาความคิดเห็นบนระบบออนไลน์ของผู้บริหารไอทีระดับอาวุโสจากบริษัทฟอร์จูน 1000 เกือบ 300 แห่งในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย แปซิฟิก และอเมริกาใต้ ซึ่งมีรายได้รวมกันทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี พบว่ามีช่องว่างเชิงลึกระหว่างทัศนคติที่มุ่งเน้นการสร้างผลประโยชน์ทางด้านการเงินและทัศนคติการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านอื่นๆ ในหลากหลายประเด็น ดังนี้

• ทีมงานด้านไอทีใช้เวลาประมาณ 40% ของเวลาทั้งหมด ในการดำเนินการและซ่อมแซมระบบที่มีอยู่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่การศึกษาด้านไอทีทั่วโลกครั้งล่าสุดของเอคเซนเชอร์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ปัญหาดังกล่าวเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีระบบเก่าที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี และบริษัทต่างๆ ไม่เต็มใจที่จะยกเลิก โดยกว่า 60% ของบริษัททั้งหมดที่เป็นกลุ่มของการวิจัยในครั้งนี้ยังใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยอยู่

• มีการสอบถามความคิดเห็นและประมวลผลบนระบบออนไลน์โดยอัตโนมัติ จากกลุ่มตัวอย่างต่างๆ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนดังนี้ การสอบถามความคิดเห็นจากลูกค้า 22% การสำรวจความคิดเห็นของซัพพลายเออร์ส 19% และการสอบถามพนักงาน 33%

• การเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลเพื่อการบริการลูกค้าเป็นสำคัญมีสัดส่วนเพียง 11%

• มีองค์กรประมาณ 80% ประสบปัญหาด้านการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียด
และมีองค์กรที่ประสบปัญหาด้านการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้บริหาร ที่มีอำนาจในการตัดสินใจและพนักงาน เป็นสัดส่วนสูงถึง 84%

• องค์กรธุรกิจ 35% ทั่วโลกเลือกใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสำคัญๆ ของบริษัท และมีองค์กรธุรกิจเพียงจำนวนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ไฮเทคที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ความร่วมมือ อาทิ ระบบวิกิส (Wikis) สำหรับพนักงานสายงานความรู้และวิชาการ

บริษัทที่มีผลประกอบการดีเด่น
อีกหนึ่งวัตถุประสงค์ของการสำรวจวิจัยดังกล่าว คือ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการลงทุนไอทีขององค์กรขนาดใหญ่ และศึกษาพฤติกรรมและคุณลักษณะร่วมของบรรดาองค์กรธุรกิจชั้นนำ สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับบริษัทที่มีผลประกอบการดีเด่น ที่เอคเซนเชอร์ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มบริษัทธุรกิจชั้นนำที่มีสมรรถนะเหนือคู่แข่งทางด้านรายได้ การเติบโตของผลกำไร และผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด มีรายละเอียดดังนี้

• บริษัทที่มีผลประกอบการดีเด่น ใช้ระบบแอพพลิเคชั่นอินเทอร์เฟซ (Application interfaces) มากกว่า 25% เพื่อสนับสนุนการบริการลูกค้า ต่างจากบริษัทที่มีผลประกอบการอยู่ในระดับปานกลางและต่ำที่มีการใช้ระบบดังกล่าวเพียง 15% นอกจากนี้ ประธานบริหารด้านไอทีจำนวนมากกว่าครึ่ง ยังระบุถึงความต้องการขยายฐานลูกค้าระบบอินเทอร์เฟซแบบเรียลไทม์ว่าเป็นความต้องการที่สำคัญสูงสุด

• ผู้บริหารด้านนวัตกรรมไอทีได้นำเทคโนโลยี SOA : Service Oriented Architecture ซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการให้บริการต่างๆ มาใช้ในการผนวกรวมระบบต่างๆ และก้าวล้ำหน้ามากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่รองรับเทคโนโลยี SOA นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในบริษัทที่มีผลประกอบการดีเด่น ประกอบด้วยแอพพลิเคชั่นแบบผนวกที่พัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรม SOA สูงถึง 38% ขณะที่การนำโซลูชั่นเก่ามาใช้ใหม่หรือนำมาพัฒนาเป็นฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ๆ มีสัดส่วน 45%

• ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารไอที ที่ได้พัฒนาและยกระดับมาตรฐานระบบไอทีขององค์กรอย่างต่อเนื่อง จะใช้เวลาในการดำเนินการดูแลระบบ (ได้แก่ การรันและซ่อมแซมระบบ) น้อยกว่าผู้บริหารไอทีอื่นๆ 19%

• บริษัทระดับแถวหน้ามีการปรับเปลี่ยนสู่เทคโนโลยีใหม่ โดยระบุว่า ได้ใช้แอพพลิเคชั่นรุ่นใหม่ล่าสุด และในการปรับเปลี่ยนระบบมีบริษัทชั้นนำ 2 ใน 3 ส่วนที่มีการปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรสำหรับส่วนงานที่ต้องติดต่อกับบุคคลภายนอก เช่น ฝ่ายขายการตลาด และฝ่ายการบริการลูกค้า ขณะที่บริษัทชั้นนำอีก 1 ใน 3 ต้องการใช้แอพพลิเคชั่นออนดีมานด์/SaaS สำหรับฝ่ายระบบ
ซัพพลายเชนและการกระจายสินค้า การวิจัยและพัฒนา ทรัพยากรบุคคล การเงิน และบัญชี

เกี่ยวกับการศึกษา
ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เอคเซนเชอร์ได้ดำเนินการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและจัดการระบบสารสนเทศมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการศึกษาดังกล่าวได้ทำขึ้นทั่วโลก เพื่อศึกษาขอบเขตและแนวทางการบริหารและจัดการการลงทุนและการดำเนินการด้านไอทีขั้นพื้นฐานของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนรายใหญ่ที่สุดของโลก มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาและประเมินทิศทางและมาตรการการลงทุนด้านสารสนเทศ หากแต่ไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการลงทุนนั้นๆ อาทิ ภาพรวมของไอทีในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต ซึ่งผลการศึกษาเหล่านี้จะสามารถนำมาใช้จัดทำดัชนีความคุ้มค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และกำหนดขอบเขตและแนวทางการพัฒนาองค์กรให้มีผลการดำเนินงานดีเด่นต่อไป

ณ ขณะนี้ มีผู้บริหารระดับสูงด้านไอทีและเทคโนโลยีจำนวนกว่า 700 คนใน 22 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมโครงการวิจัยดังกล่าว

เกี่ยวกับเอคเซนเอร์
เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ การบริหารเทคโนโลยีและบริการเอาท์ซอร์สชั้นนำของโลก และด้วยประสบการณ์การทำงานอย่างลึกซึ้ง ผนวกกับศักยภาพที่สมบูรณ์แบบในทุกภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมทั้งการมีผลงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัทชั้นนำของโลก ทำให้เอคเซนเชอร์สามารถร่วมมือกับลูกค้า ทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการพัฒนาและยกระดับองค์กรของลูกค้าให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและมีสมรรถภาพสูงสุด ปัจจุบัน มีพนักงานมากกว่า 175,000 คนใน 49 ประเทศ และมีรายได้สุทธิมูลค่า 19,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 650,000 ล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2550 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2550 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.accenture.com