ม.ศรีปทุม ชลบุรี ทุ่มทุนขยายศักยภาพระบบไอซีทีครั้งใหญ่ วางใจเฟิร์ส ลอจิกพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ SPUC Net เล็งกวาดนักศึกษาในแถบภูมิภาคตะวันออกและประชาชนในนิคมอุตสาหกรรม ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายรับพิษเศรษฐกิจซึมระยะยาว เผยได้ความรู้ทัดเทียมสถาบันการศึกษาชั้นนำในกรุงเทพ ประกาศตั้งเป้าเป็น ICT Campus ชั้นนำแห่งภาคตะวันออกเร็วๆ นี้
ดร.บุษบา ชัยจินดา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เปิดเผยถึงนโยบายด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย รวมถึงการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Environment) อย่างแท้จริงว่า มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนหนึ่งในห้าแห่งแรกของประเทศไทย และในปีการศึกษา 2530 ได้ขยายวิทยาเขตไปที่จังหวัดชลบุรี
ซึ่งทางมหาวิทยาลัย ฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ ICT ทั้งในด้านการเรียนการสอน การดำเนินงาน และการให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เข้าถึงระบบ ICT อย่างเต็มประสิทธิภาพ และให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำสำหรับคนรุ่นใหม่ จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนและแนวทางการพัฒนา ICT ของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความพร้อมและทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแผนงานดังนี้
1. แผนพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) 2. แผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยให้มีความรู้ความสามารถด้านการประยุกต์ใช้ ICT 3. แผนพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้าน ICT ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจ 4. แผนการสร้างพันธมิตรและความร่วมมือกับองค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการให้ความรู้และบริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางด้าน ICT ร่วมกัน
ดร.บุษบา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีการศึกษา 2551 มหาวิทยาลัยฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท เฟิร์ส ลอจิก ในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือ และระบบต่างๆ หลายโครงการทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพความเร็ว และระบบรักษาความปลอดภัย พร้อมติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายคลอบคลุมทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับ ICT เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเป็น ICT Campus แห่งภาคตะวันออก
ดร.บุษบา กล่าวเพิ่มอีกว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มีอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องสมุด ที่มีความทันสมัย เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
นอกเหนือจากโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ SPUC Net กับทางบริษัท First Logic แล้วนั้น มหาวิทยาลัยยังได้ ดำเนินการ จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ และศูนย์ทดสอบความรู้ความสามารถด้าน ICT เพื่อการรองรับด้านการเรียนการสอน และการพัฒนาศักยภาพด้าน ICT ให้กับนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ ICT อยู่ในระดับมาตรฐาน ซึ่งได้เปิดศูนย์ทดสอบ Microsoft ขึ้นมาเพื่อรองรับด้านการเรียนการสอนในหลักสูตรของนักศึกษาที่จะต้องเรียนวิชา Microsoft Office ทุกคน พร้อมส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนสอบใบประกาศนียบัตร (Certification) ของ Microsoft ด้วย
นายสุเทพ อุ่นเมตตาจิต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้น เป็นลูกค้ารายสำคัญของบริษัทฯ จากการเริ่มต้นทำความเข้าใจ โครงสร้างระบบ ICT และ วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ ทำให้บริษัทฯ เห็นศักยภาพการเติบโตของมหาวิทยาลัยฯ ในอนาคตที่ชัดเจน สำหรับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าท้ายความสามารถของบริษัทฯ เป็นอย่างยิ่ง ในการตอบโจทย์ให้มหาวิทยาลัยฯ ก้าวสู่การเป็น “ICT Campus ชั้นนำแห่งภาคตะวันออก”
สำหรับในเนื้องาน ที่ทางบริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ได้นำเสนอต่อทางมหาวิทยาลัยฯนั้น เรามุ่งเน้นการปรับปรุงระบบ ICT โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก โดยแต่ละส่วนจะประกอบไปด้วยโครงการย่อย ๆ จำนวน 11 โครงการ จากนั้นได้ทำการ Integrate ระบบทั้งหมด เข้าด้วยกัน ทำให้ได้ระบบ ICT ในเฟสนี้ ที่สามารถรองรับ Master plan ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีได้ตามเป้าหมาย
1.Network & Security Infrastructure
a.โครงการปรับปรุงระบบเครือข่ายหลักของมหาวิทยาลัย
b.โครงการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
c.โครงการปรับปรุงระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
2.System Infrastructure
a.ปรับปรุงระบบป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
b.โครงการปรับปรุงเครื่องแม่ข่ายเว็บไซต์มหาวิทยาลัย
c.โครงการเพิ่มสัญญาณอินเตอร์เน็ต
d.โครงการระบบสำรองข้อมูล (Backup System)
e.โครงการปรับปรุงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายระบบ MIS
3.Application Infrastructure
a.โครงการปรับปรุงระบบ E-mail
b.โครงการระบบ Single Password
c.เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายสำหรับระบบต่างๆ
อ.นรินทร์ พนาวาส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กล่าวเพิ่มเติมถึงโครง สร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว แบ่งออกเป็น
1.Network & Security Infrastructure
เป็นการปรับปรุงระบบเครือข่ายหลักของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความเร็วสูงขึ้น รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เพื่อป้องกันและตรวจสอบการโจมตีบนระบบ นอกจากนี้ เรายังได้เพิ่มพื้นที่ Wireless LAN ให้ครอบคลุมทุกอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ของทั้งนักศึกษา และอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยฯ
ขณะนี้มหาวิทยาลัย สามารถรองรับผู้ใช้งานระบบเครือข่ายภายใน (LAN) พร้อมกันได้ประมาณ 800 คน และระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ประมาณ 400 คน โดยมีน.ศ.ประมาน 4,000 คน และมีแผนที่จะพัฒนาระบบให้สามารถรองรับการใช้งานพร้อมกันได้ประมาณ 2,000 คน
2.System Infrastructure
เป็นการเพิ่ม Server เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเว็บไซต์ อีกทั้งระบบสำรองข้อมูล ปรับปรุงระบบ MIS และ ระบบป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเช่น ปัญหา Junk Mail, Virus Mail และ ภัยคุกคามทางธรรมชาติ
3.Application Infrastructure
เป็นโครงการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งาน ที่มีจำนวนที่มากขึ้นเรื่อย ให้สามารถใช้งานได้พร้อมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการขยายเพื่อที่จัดเก็บจดหมาย (Mailbox) ติดตั้งระบบ Load Balance รวมถึงการทำ Single Password ซึ่งกำหนดใหผู้ใช้งานมี Username เพียงชุดเดียว ซึ่งสามารถเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ได้ตามสิทธิ์ ที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนดได้อย่างสะดวก และช่วยลดความยุ่งยากในการดูแลระบบผู้ใช้งาน
“การลงทุนทางด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้ระบบเครือข่าย SPUC Net มีศักยภาพโดดเด่นหลาย ๆ ประการ คือ ระบบเครือข่าย มีความเชื่อถือได้สูง และมีความมั่นคงปลอดภัย, การให้บริการครอบคลุมอย่างทั่วถึง ทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัย และนักศึกษา, ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสื่อข้อมูลได้ทุกประเภท เช่น ข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวอักษร ภาพ วีดีโอ เป็นต้น , นักศึกษาสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้แบบทุกที่ทุกเวลาทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย , การบริหารจัดการเครือข่าย และตรวจสอบระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ ทำได้โดยง่ายและสะดวกขึ้น,ผู้ใช้งานระบบเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดร็วยิ่งขึ้น, สามารถขยายระบบในอนาคตได้อย่างไม่มีข้อจำกัด, รองรับแอพลิเคชั่นใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่อง, สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550” อ.นรินทร์ กล่าว