มจธ.ขยายระบบการศึกษาด้วยระบบการจัดเก็บข้อมูลสู่“ศูนย์กลางทรัพยากรด้านความรู้”

ภารกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คือการสร้างนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีชั้นนำรุ่นใหม่ของประเทศไทย และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบอินเตอร์แอ๊คทีฟ แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่นั้น ไม่สามารถรองรับระบบวิดีโอสตรีมมิงได้อย่างเพียงพอ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ใช้งานได้อย่างสะดวก และทาง มจธ. สามารถที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายของระบบจัดเก็บข้อมูลและป้องกันข้อมูลสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัย กับ บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จึงเกิดขึ้น เพื่อนำโซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลแบบโมดูลมาใช้งาน

มจธ.เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ที่ออกนอกระบบอย่างเต็มรูปแบบ ระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยมีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มจธ.สามารถควบคุมงบประมาณได้เอง และจัดการจัดตั้งคณะและภาควิชา รวมทั้งเปิดตัวหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ๆ ได้ด้วย

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศไทย มจธ.มีหน้าที่ในการสนับสนุนและเสริมสร้าง นักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีชั้นนำ ให้มีความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ และเพื่อช่วยให้ภารกิจนี้บรรลุผล ทาง มจธ. จึงให้บริการห้องสมุดดิจิทัลที่ทันสมัย และได้รับการยอมรับจากชุมชนการศึกษาในไทยว่าเป็น “ศูนย์กลางทรัพยากรด้านความรู้” (Knowledge Resource Center)

การขยายช่องทางการแพร่สัญญาณภาพและเสียง (broadcasting) และการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอ็คทีฟ
“สำนักหอสมุด มจธ.” พร้อมจะเป็น “ศูนย์กลางทรัพยากรด้านความรู้” ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนการสอน การทำงานวิจัยทั้งใน และนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นศูนย์การในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักศึกษาและผู้สอน โดยสำนักหอสมุดมจธ.จะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการใช้ข้อมูลภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักหอสมุด มจธ. มีการจัดการข้อมูลแบบดิจิทัลจำนวนมากในหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อความดิจิทัล วีดิทัศน์การเรียนการสอน และห้องเรียนแบบโต้ตอบ ระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากทำให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลจากศูนย์ทรัพยากรข้อมูลดังกล่าวได้พร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน

เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอ็คทีฟ มากกว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม มจธ. มีแผนขยายระบบห้องเรียนตามความต้องการ (Classrooms On-Demand) วีดิทัศน์การเรียนการสอนแบบสตรีมมิงเพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาเพิ่มเติม ทบทวนบทเรียนซ้ำได้ และมีห้อง KMUTT Learning and Information Commons (KLINICS) เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบ่งปันความรู้ระหว่างกันกับเพื่อนนักศึกษา และเพื่อนๆต่างคณะ นอกเหนือจากการเรียนปกติ ที่แพร่ภาพการเรียนการสอนแบบสดแล้ว มจธ.ยังได้จัดให้มีการแพร่ภาพวิชาเรียนแต่ละวิชาซ้ำ โดยมีตารางการออกอากาศที่ชัดเจน

การมีเนื้อหาที่หลากหลายทำให้มหาวิทยาลัยต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีความจุมากกว่า 11 เทราไบต์ และ ยังต้องการความยืดหยุ่นและความจุเพิ่มเติมที่มากขึ้นเพื่อพัฒนารองรับแนวทางการศึกษารูปแบบใหม่นี้ด้วย

การค้นหาประสิทธิภาพที่สูงกว่าและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
แต่เดิมนั้น สำนักหอสมุดมจธ.ใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถปรับขนาดได้ตามที่มหาวิทยาลัยต้องการนำไปใช้กับโปรแกรมการศึกษา ขณะเดียวกันกับที่ความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น ทำให้ มจธ. ต้องการระบบอเนกประสงค์ที่สามารถสำรองและกู้คืนข้อมูลได้เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะสามารถป้องกันและเข้าถึงข้อมูลแบบดิจิทัลที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นของมหาวิทยาลัยได้ มหาวิทยาลัยได้วิเคราะห์แนวทางที่ดีที่สุดที่จะตอบสนองความต้องการในด้านระบบจัดเก็บข้อมูลที่กำลังเพิ่มมากขึ้น และพบว่าค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและรักษาระบบที่ใช้งานอยู่เดิมนั้นมากกว่าการซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ทั้งหมด

“แม้ว่า มจธ. จะไม่เคยซื้อผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จากบริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มาก่อน แต่จากการวิเคราะห์ของมหาวิทยาลัย พบว่าระบบ Acer Hitachi Adaptable Modular Storage ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า ให้ความจุที่มากกว่า เมื่อเทียบกับระบบจัดเก็บข้อมูลยี่ห้ออื่นที่เรากำลังพิจารณา และแพลตฟอร์มของบริษัท ฮิตาชิ สามารถทำงานร่วมกันกับระบบอื่นๆ ในศูนย์ข้อมูลของ มจธ. ได้ ดังนั้นเราจะมีความยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูลและช่วยให้ต้นทุนการดำเนินการลดลงได้” ผศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าว

การส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องเรียนออนไลน์และการป้องกันข้อมูล
มจธ. เลือก Acer Hitachi Adaptable Modular Storage รุ่น AMS200 ภายใต้แบรนด์เอเซอร์/ฮิตาชิ ดาต้าซิสเต็มส์ เพื่อจัดเก็บบันทึกการสอนไว้ในห้องสมุดมจธ. และใช้สำหรับการแพร่ภาพวีดีโอสตรีมมิ่ง รวม 4 ช่องสัญญาณด้วยกัน
“เรามีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล (SAN) พร้อมแล้ว ดังนั้นเราใช้ AMS200 ได้อย่างง่ายดายและทำหน้าที่ดูแลระบบวิดีโอสตรีมมิ่งได้” ผศ.ดร.บัณฑิต กล่าว

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์รุ่น AMS200 ได้รับการออกแบบมาเพื่อตลาดจัดเก็บข้อมูลระดับกลาง โดยเป็นหนึ่งในระบบจัดเก็บข้อมูลที่เป็นแบรนด์ร่วมแบรนด์แรกที่พร้อมใช้งานภายใต้ข้อตกลงการทำตลาดร่วมกันระหว่าง บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กับ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ โดยรุ่น AMS200 เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเพิ่มเติมและปรับขนาดได้ โดยที่มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือสูงสำหรับ Microsoft® Exchange Server และแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจอื่นๆ ทั้งยังรองรับการรวมระบบจัดเก็บข้อมูลที่ต่อกับเครือข่าย (NAS) การสำรองและจัดเก็บข้อมูลแบบถาวร ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอ็คทีฟของมหาวิทยาลัยได้

ผลิตภัณฑ์รุ่น AMS200 ช่วยให้ มจธ. มีการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ โดยระบบจัดเก็บข้อมูลแบบโมดูลนี้จะให้ความสามารถในการย้ายข้อมูล จากภายในเซิร์ฟเวอร์ไปยังระบบจัดเก็บข้อมูลภายนอกที่สามารถปรับขนาดได้ เพื่อรวบรวมระบบจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากให้เป็นหนึ่งเดียว (Storage Consolidation) โดยรุ่น AMS200 สนับสนุนการเชื่อมต่อทั้งแบบ iSCSI และ Fibre Channel และปรับขนาดได้มากกว่า 90 เทราไบต์ เมื่อเพิ่มระบบจัดเก็บข้อมูลในอนาคต นอกจากนี้ มจธ. ยังสามารถใช้ตัวเลือกการเชื่อมต่อแบบ NAS สำหรับแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานข้อมูลร่วมกัน และสนับสนุนการใช้หน่วยเก็บข้อมูล (Hard disk) ทั้งแบบ Fibre Channel (FC) ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง ควบคู่ไปกับหน่วยเก็บข้อมูลแบบ Serial ATA (SATA) ที่มีความจุสูงได้อีกด้วย

นอกจากนี้ รุ่น AMS200 ยังช่วยป้องกันข้อมูลสำคัญในระบบจัดเก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัย โดยการป้องกันข้อมูลแบบ RAID-6 ที่ช่วยให้เกิดความพร้อมใช้งานของข้อมูลและความปลอดภัยสูง และสามารถสร้างกลุ่ม RAID ได้ใหม่เพื่อการใช้งานได้อย่างทันท่วงที และยังมีส่วนของซอฟท์แวร์ Hi-Track® Monitor ที่ช่วยในการบริการ และการบำรุงรักษาระยะไกลของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ที่ช่วยวิเคราะห์ และตรวจสอบการทำงานของระบบจัดเก็บข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกเหนือจากนี้ ยังมีส่วนประกอบทั้งหมดเป็นแบบ hot-swappable ขณะที่ซอฟต์แวร์ Hitachi ShadowImage® Replication ให้ความสามารถในการทำซ้ำและ ทำสำเนาข้อมูลแบบไม่ต้องใช้โฮสต์ ที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลได้ถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัย ภายในระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นดังกล่าว

สนับสนุนการเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเพิ่มขนาดระบบจัดเก็บข้อมูลได้
ด้วยการทำงานที่ชาญฉลาดของ Acer Hitachi Adaptable Modular Storage รุ่น AMS200 ที่คอยช่วยสนับสนุนแนวคิดด้านการเรียนรู้ของ มจธ. ทำให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเห็นว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ด้วยความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลเกือบสามเท่า ทำให้สำนักหอสมุด มจธ. สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแน่นอน

“AMS200 ติดตั้งและรวมเข้ากับส่วนประกอบอื่นๆ ของศูนย์ข้อมูลของเราได้โดยง่าย” ผศ.ดร.บัณฑิต กล่าว และว่า “แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่า ก็คือ ระบบนี้ให้ความจุที่มากพอในการสนับสนุนแอพพลิเคชั่นการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอ็คทีฟ ของเราโดยไม่รบกวนบริการหรือทำให้เครือข่ายช้าลง ทั้งนี้ AMS200 มีบทบาทสำคัญในการช่วยเราให้บรรลุภารกิจด้านการฝึกอบรมนักเทคโนโลยีชาวไทยรุ่นใหม่”

เกี่ยวกับบริษัท เอเซอร์
บริษัท เอเซอร์ เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับ 3 ของโลก ที่มุ่งเน้นการออกแบบและนำเสนอโซลูชั่นด้านไอทีที่ง่ายและน่าเชื่อถือ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายและเพิ่มศักยภาพของการดำเนินชีวิต นับตั้งแต่บริษัท เอเซอร์ ได้แยกธุรกิจด้านการผลิตออกมาเพื่อเน้นไปที่การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระดับแบรนด์เนมในตลาดต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเดสก์ทอป โน้ตบุ๊ค เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล จอภาพและเอชดี ทีวี อุปกรณ์พกพา/นำทาง นอกจากนี้ การดำเนินผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้บริษัท เอเซอร์ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยสนับสนุนคู่ค้าและซัพพลายเออร์ในการจัดการซัพพลายเชน ทำให้บริษัท เอเซอร์ นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ในราคาที่เหมาะสมพร้อมการบริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้า ทั้งนี้ บริษัท เอเซอร์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2519 มีพนักงานราว 5,300 คนทั่วโลก ซึ่งให้การสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ในกว่า 100 ประเทศ พ.ศ. 2549 มีรายได้ 11,310 ล้านดอลลาร์

ผลิตภัณฑ์เอเซอร์เริ่มเข้าสู่ตลาดประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2527 โดยบริษัท เอเซอร์ ในไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย เคยเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพ และได้รับรางวัล Outstanding Brand Performance จาก The Reader’s Digest ถึง 8 ปี เอเซอร์ ยังได้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดโน้ตบุ๊คอันดับ 1 กว่า 13 ไตรมาสติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี พ.ศ..2546 – ปัจจุบัน)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท เอเซอร์ เยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.acer.com ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท เอเซอร์ ในไทย เยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.acer.co.th

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้บริการโซลูชั่นระบบการจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ (Services Oriented Storage Solutions) ที่ทำให้สตอเรจต่างชนิดกันทำงานได้ตามความต้องการของธุรกิจและสามารถจัดการจากส่วนกลางผ่านซอฟต์แวร์สตอเรจเสมือนจริงชั้นนำของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จากการที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นหนึ่งในบริษัท ฮิตาชิ สตอเรจ โซลูชั่นส์ กรุ๊ป ทำให้บริษัทฯ นำแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานของสตอเรจ, ซอฟต์แวร์บริหารจัดการสตอเรจ และบริการให้คำปรึกษาด้านสตอเรจผ่านทางช่องทางจำหน่ายทั้งทางตรงและอ้อมกว่า 170 ประเทศ และภูมิภาคต่างๆ ที่สำคัญลูกค้าของบริษัทฯ เกือบ 60% อยู่ใน 100 อันดับองค์กรยอดเยี่ยมของนิตยสารฟอร์จูน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชม ได้ที่เว็บไซต์ www.hds.com