SCC ผนึก GR-Tech บุกตลาดพลังงานทดแทน ทุ่มงบกว่า 80 ล้านเหรียญฯ

บริษัท Sindicatum Carbon Capital หรือ SCC ผนึก GR-Tech บริษัทคนไทย บุกตลาดพลังงานทดแทนในไทย นำขยะและน้ำเสียมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า เตรียมทุ่มงบลงทุนกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเดิมสร้างโรงงานในกรุงเทพ และเชียงใหม่ เป็นฐานหลักในการผลิตไฟฟ้า คาดสามารถผลิตเริ่มต้นที่ 8.5 เมกกะวัตต์ พร้อมช่วยโลกลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

มร.วิลเลี่ยม ไอ วาย เบียน ประธานบริหารส่วนพลังงานสะอาด(Representative Director Sindicatum Clean Energy), ของ บริษัท ซินดิเคตุม คาร์บอน แคปิตอล(Sindicatum Carbon Capital Limited) หรือ SCC เปิดเผยในงาน “Sindicatum-Thai Carbon Project Partnership” งานแถลงข่าวความร่วมมือและการลงทุนทางธุรกิจร่วมกับบริษัทในประเทศไทยว่า SCC เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาโครงงานต้นกำเนิด และ นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อพลังงานสะอาดและโครงการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการลดธาตุคาร์บอนของโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ มีการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมตามเมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลก อาทิ ปักกิ่ง, ฮ่องกง, ,นิวเดลี,จาการ์ต้า และ ฮุสตัน ด้วยเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะและน้ำเสีย ด้วยเทคโนโลยีและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานของบริษัทโดยเฉพาะ

ทั้งนี้บริษัทได้เล็งเห็นถึงปัญหามลภาวะทั้งเรื่องขยะและน้ำเสียที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย จึงได้ร่วมกับบริษัท GR-Tech ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญในการผลิตพลังงานทดแทนในประเทศไทย โดยโครงการแรกที่จะเริ่มดำเนินการ คือ โครงการบ่อขยะหรือ ซึ่งเคยสร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับสภาพแวดล้อม ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ที่มีค่ามหาศาล ทั้งยังสามารถช่วยลดปริมาณของก๊าซมีเธนอันเกิดจากการหมักหมมของขยะ และเป็นตัวการสำคัญของการเกิดภาวะเรือนกระจก นอกจากไประโยชน์ด้านพลังงานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างดี

มร.แอนโทนี มูดี้ ประธานกรรมการ บริษัท ซินดิเคตุม เอเชีย เปิดเผยว่า SCC เป็นนักพัฒนาโครงการเกี่ยวกับพลังงานสะอาด และผู้ชำนาญในด้านการเพิ่มมูลค่าจากการทำลายก๊าซเรือนกระจก มูลค่าที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากรูปแบบการก่อให้เกิดพลังงานกล, ความร้อน, และผลิตผลอื่น ๆ หรือ มาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม เช่น ธาตุคาร์บอน หรือ การประยุกต์ใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพ

โครงการที่ SCC ได้ดำเนินการเมื่อเร็วๆ นี้ คือการจับการปล่อยพลังงานของก๊าซมีเทนจากก๊าซขยะมูลฝอย (หรือ LFG) หรือมีชื่อว่า “Mega-Landfills”เป็นโครงการที่สำคัญโครงการหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย การปล่อยพลังงานของก๊าซ

ที่จับได้จะถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการสร้างพลังงาน ด้วยเหตุนี้ รายได้จากการสร้างพลังงาน และการอ้างความเชื่อถือใน Certified Emissions Reductions (หรือ CER) ผ่านการทำลายของก๊าซมีเทน ขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ มีประมาณ 5,000 ถึง 6,000 ตันของ Municipal Solid Waste (หรือ MSW) ทุกวัน และคาดว่าจะได้รับปริมาณของเสียอย่างนี้ต่อไปอีก 5 ถึง 7 ปี นอกจากนี้เรายังมีโครงการขยะมูลฝอย, โครงการกลั่นน้ำเสียเป็นก๊าซชีวภาพ, และโครงการปลูกพืชทดแทนพลังงานด้วยเศษไม้อีกด้วย

ทั้งนี้ SCC ได้ลงทุน 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการนำเทคโนโลยีที่สะอาดต่อโครงการกรุงเทพฯ และประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานเริ่มต้นที่ 8.5 MW และ SCC คาดหวังที่จะสร้างผลเฉลี่ยเท่ากับ 658,000 CERs ต่อปีในระยะเวลาโครงการ 15 ถึง 21 ปี

นายพิรุณ ชินวัตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท GR-Tech จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านของการดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งเราจะนำเทคโนโลยีของ SCC นำก๊าซมีเทนจากขยะ ซึ่งสร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับสภาพแวดล้อมภายในประเทศ ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่มีค่ามหาศาล โดยบริษัทจะเริ่มลงทุนในการก่อสร้างโรงงานในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะ และน้ำเสีย 2 แห่งก่อนคือ กรุงเทพมหานคร และ เชียงใหม่ ซึ่ง มีปริมาณขยะอยู่เป็นจำนวนมาก แค่เพียงจังหวัดเชียงใหม่ สำรวจพบว่ามีปริมาณขยะเฉลี่ย 500 ตันต่อวัน ส่วนในกรุงเทพฯ มีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ 10,000 ตันต่อวัน

“เรามองว่าในปัจจุบันขยะส่วนใหญ่มีกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ซึ่งก็เป็นการกำจัดขยะที่ถูกสุขาภิบาล แต่ต้องมีการดูแลรักษาอย่างดี และหากดูแลรักษาไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดผลกระต่อสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างมากมายได้ เช่น น้ำเน่าเสียของขยะจะปนเปื้อนในดิน และมีโอกาสไหลลงสู่แหล่งน้ำใกล้เคียงได้ และที่สำคัญการหมักหมมของขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดก๊าซชีวภาพจำพวกมีเทน ซึ่งก๊าซเหล่านี้เมื่อลอยสู่ชั้นบรรยากาศจะก่อให้เกิดปัญหาก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน” นายพิรุณ กล่าว

นายพิรุณ กล่าวต่อว่า ทาง GR-Tech ได้เห็นช่องทางของตลาดในการเปลี่ยนสิ่งปฏิกูลที่ไม่มีมูลค่ากลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเปลี่ยนขยะมาเป็นพลังงานทดแทน โดยการผลิตเป็นพลังงานกระแสไฟฟ้า การนำเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานมาใช้กับประเทศ เป็นการจัดการอย่างถูกวิธี ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพลังงานที่เป็นผลพลอยได้แต่ที่สำคัญมากไปกว่าคือสามารถลดขยะภายในประเทศได้ อย่างไรก็ตามคงต้องให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนในเรื่องของขยะให้มากขึ้นซึ่งเอ็นจีโอ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้มีการลดการนำเข้า พร้อมการศึกษารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนของภาครัฐหรือภาคเอกชน ให้เกิดการเข้าใจถึงพลังงานทดแทนที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นต่อไป