ฮอนด้า อีซูซุ มาสด้า และนิสสัน ต่างครองตำแหน่ง ดีไซน์และสมรรถนะรถใหม่สูงสุดในประเทศไทย

เจ.ดี.พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก เผยผลการศึกษาสมรรถนะ ระบบการทำงานและรูปลักษณ์ ประจำปี 2551 (Automotive Performance, Execution and Layout – APEAL) ในประเทศไทยพบว่า รถยนต์ ค่ายฮอนด้า 2 รุ่น อีซูซุ 1 รุ่น มาสด้า 1 รุ่น และนิสสัน 1 รุ่น ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละส่วนตลาดรถยนต์

ปีนี้นับเป็นปีที่ 6 ของการศึกษาสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ ซึ่งใช้คำตอบของผู้บริโภคเป็นเกณฑ์วัดถึงปัจจัยที่สร้างความตื่นตา และความปลื้มใจที่เจ้าของรถมีต่อสมรรถนะ และการออกแบบของรถยนต์คันใหม่ของพวกเขา ในช่วง 2-6 เดือนแรกของการเป็นเจ้าของ โดยการศึกษาได้พิจารณาคุณลักษณะของรถยนต์ถึงเกือบ 100 คุณลักษณะ ซึ่งครอบคลุมระบบการทำงานของรถยนต์ 10 ประเภท ได้แก่ ภายนอกตัวรถ ภายในตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) สมรรถนะในการขับขี่ เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ และความประหยัดน้ำมัน

ผลการศึกษารุ่นรถในแต่ละส่วนตลาดรถยนต์
ในส่วนของรถยนต์ขนาดกลางระดับต้น ฮอนด้า แจ๊สรุ่นใหม่ ครองอันดับสูงสุดด้วย 878 คะแนน จาก 1,000 คะแนน ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในทุกด้านของระบบการทำงาน 10 ประเภทของรถยนต์ในขณะที่ โตโยต้า ยาริส (852) และฮอนด้า ซิตี้ ซีร์เอ็กซ์ (847) มาเป็นที่สองและสามตามลำดับ

ในบรรดารถยนต์ขนาดกลาง มาสด้า3 ได้รับคะแนนสูงสุด 885 ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษ ใน 8 จาก 10 ประเภท ของระบบการทำงานของรถยนต์ คือภายนอกตัวรถ ภายในตัวรถ เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) สมรรถนะในการขับขี่/ เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ และทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ ตามด้วย ฮอนด้า ซีวิค ซึ่งครองอันดับสอง (869) และทำคะแนนได้ดีในด้านการประหยัดน้ำมัน โตโยต้า โคโรล่า อัลติส ตามฮอนด้า ซีวิค มาเป็นที่สาม (862) ถึงแม้คะแนนนี้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมก็ตาม แต่ก็ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในส่วนของพื้นที่เก็บของและพื้นที่ว่าง
ฮอนด้า ซีอาร์-วี ครองอันดับสูงสุด (893) ในตลาด SUV (รถยนต์เอนกประสงค์กึ่งสปอร์ต) สองปีติดต่อกันและทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายนอกตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง และระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) อีซูซุ มิว-เซเว่น ตามมาติดๆ (890) และทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายในตัวรถ และระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) เชฟโรเล็ต แคปติวา มาเป็น อันดับ 3 (887) และทำคะแนนได้ดีในด้านสมรรถนะการขับขี่ เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการ ขับขี่ และความประหยัดน้ำมัน

ในส่วนตลาดปิกอัพตอนขยาย อีซูซุ ดีแม็กซ์ ไฮแลนเดอร์ ครองอันดับสูงสุด (899) และทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายในตัวรถ ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศและระบบแอร์ (HVAC) สมรรถนะในการขับขี่ และทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ โตโยต้าสองรุ่นได้แก่ ไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ มาเป็นที่สอง (893) และไฮลักซ์ วีโก้ ครองอันดับสาม (892) ไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายนอกตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง และเครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ในขณะที่ไฮลักซ์ วีโก้ ทำคะแนนได้ดีในด้านระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) และความประหยัดน้ำมัน

ในประเภทรถปิกอัพสองตอน นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา ครองอันดับสูงสุด (891) สองปีติดต่อกัน และทำคะแนนดีในด้านเครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ และความประหยัดน้ำมัน อีซูซุ ดีแม็กซ์ ไฮแลนเดอร์ และ
โตโยต้าไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ ทั้งคู่มาเป็นอันดับสองด้วยคะแนนที่เสมอกันที่ 888 ดีแม็กซ์ ไฮแลนเดอร์ ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านสมรรถนะในระบบขับขี่ ส่วน ไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ นั้นทำคะแนนดีในด้านภายนอกตัวรถ ภายในตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง และเครื่องเสียง /ความบันเทิง/ ระบบนำทาง

“เช่นเดียวกัน แต่ละปีที่ผ่านมา ในปี 2551 นี้เรายังคงพบว่า ผลที่ได้รับของค่ายรถยนต์ ที่ผสมผสานดีไซน์ที่แหวกแนว แปลกใหม่เพิ่มเข้าไปในรถแต่ละรุ่น คือคะแนนรวมในการศึกษา APEAL ที่สูงขึ้นนั่นเอง“โลอิค เปอ็อง ผู้จัดการประจำประเทศไทย เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก ประเทศสิงค์โปร์ กล่าว “ตลาดรถปิกอัพเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงผลที่ได้รับนี้โดยเฉพาะในส่วนตลาดปิกอัพตอนขยาย และปิกอัพสองตอน รุ่นยกระดับระบบขับเคลื่อนสองล้อที่เริ่มทยอยเข้ามาในตลาดไทยเมื่อไม่นานนี้เอง ได้สร้างความพึงพอใจเป็นอย่างมากให้แก่เจ้าของรถ มากกว่ารถปิกอัพรุ่นขับเคลื่อนสองล้อแต่ไม่ยกระดับ และรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ”

ผลการศึกษาอุตสาหกรรม
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ของรถยนต์ใหม่ในตลาดไทย ยังคงดำรงตำแหน่งของปี 2550 โดยปี 2551 นี้ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากันที่ 876 คะแนน ในแง่ของประเภทระบบการทำงานของรถยนต์นั้น ด้านทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ ให้ความพึงพอใจมากที่สุดแก่เจ้าของรถใหม่ ส่วนด้านเครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทางนั้น ให้ความพึงพอใจน้อยที่สุด

การวิจัยนี้แสดงให้เห็นอีกว่า รูปลักษณ์ของรถยนต์มีผลในการบอกต่อของเจ้าของรถเป็นอย่างมาก 71 เปอร์เซ็นต์ ของเจ้าของรถที่ได้คะแนน APEAL เท่ากับหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม พวกเขาจะแนะนำรถรุ่นที่เขาซื้อให้ผู้อื่น ”อย่างแน่นอน” สำหรับเจ้าของรถที่ได้คะแนน APEAL ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ตัวเลขนี้ลดลงเหลือเพียง 43 เปอร์เซ็นต์ “รุ่นรถที่ได้คะแนนดีในด้านสมรรถนะ ระบบการทำงานและรูปลักษณ์ (APEAL) มีผลทำให้เจ้าของรถนั้นมีความตั้งใจที่จะบอกต่อให้กับบุคคลอื่นมากกว่ารุ่นรถอื่นๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ผลิตรถยนต์จะต้องมุ่งเสริมนวตกรรมแปลกใหม่ ในด้านของดีไซน์เพื่อปรับปรุงให้รถมีความดึงดูดใจมากขึ้น และเพิ่มความพึงพอใจให้ผู้ที่เป็นเจ้าของ” เปอ็อง กล่าว “การกระทำเช่นนี้ จะเพิ่มความสนใจของสาธารณชนมากขึ้น และเพิ่มการบอกเล่าปากต่อปากในแง่บวกอีกด้วย”

การศึกษาวิจัยเรื่องสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ ประจำปี 2551 นี้ จัดทำขึ้นโดยทำการประเมินผลจากเจ้าของรถใหม่ จำนวน 3,843 ราย ที่ซื้อรถยนต์ใหม่ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนมิถุนายน 2551 การศึกษาได้ทำการสำรวจรถยนต์นั่ง รถปิกอัพ และรถยนต์อเนกประสงค์ จำนวน 65 รุ่น จากรถยนต์ 11 ยี่ห้อ และเก็บข้อมูลในภาคสนามตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนสิงหาคม 2551

การศึกษาวิจัยเรื่องสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ (APEAL) เป็น 1 ใน 4 การศึกษาวิจัยด้านพฤติกรรมลูกค้าที่ เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก จัดทำขึ้นในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยดัชนีความพึงพอใจของลูกค้า ประจำปี 2551 (Customer Satisfaction Index: CSI) ซึ่งเป็นการวัด ความพึงพอใจของลูกค้าต่อศูนย์บริการมาตรฐานในประเทศไทย ซึ่งได้เผยแพร่ไปแล้วในเดือนมิถุนายน ส่วนดัชนีการวัดความพึงพอใจด้านบริการการขาย ประจำปี 2551 (Sales Satisfaction Index: SSI) ซึ่งเป็นการวัดความพึงพอใจต่อขั้นตอนการขายรถใหม่ ได้เผยแพร่ไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม รวมทั้งการศึกษาวิจัยเรื่องคุณภาพรถยนต์ใหม่ ประจำปี 2551 (Initial Quality Study: IQS) เป็นการศึกษาวิจัยถึงปัญหา ที่เจ้าของรถพบจากรถใหม่ ซึ่งเผยแพร่ไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

เกี่ยวกับ เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก (J.D. Power Asia Pacific)
เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก มีสถานที่ทำการในกรุงโตเกียว สิงคโปร์ และจีน โดยจัดทำบทวิจัยความพึงพอใจของลูกค้าและให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเงิน ผลงานจากสามประเทศนี้คือความเข้าใจในความพึงพอใจของลูกค้า ที่ช่วยให้ผู้บริโภคและธุรกิจ ต่าง ๆ ใน ประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และประเทศไทย เข้าใจถึงสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจ ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชมเกี่ยวกับ เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก และสินค้าของบริษัท ได้ที่ www.jdpower.com

เกี่ยวกับ เจ.ดี. พาวเวอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (J.D. Power and Associates)
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เวสต์เลค วิลเลจ, แคลิฟอเนียร์ โดย เจ.ดี. พาวเวอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เป็นบริษัทจดทะเบียนระดับโลกที่ให้บริการด้านข้อมูลทางการตลาดโดยมีการดำเนินงาน ในกลุ่มธุรกิจหลักอันรวมถึงการวิจัยทางการตลาด การ คาดการณ์ การปรับปรุงผลงาน การฝึกอบรม และการวัดความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งนี้เจ.ดี. พาวเวอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เป็นบริษัทหนึ่งของ เดอะ แม็คโกรว–ฮิลล์ คอมพานีส์

เกี่ยวกับ เดอะ แม็คโกรว–ฮิลล์ คอมพานีส์ (The McGraw-Hill Companies)
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2431 เดอะ แม็คโกรว-ฮิลล์ คอมพานีส์ (NYSE: MHP) เป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูลชั้นนำระดับโลกที่ ตอบสนองความต้องการจากทั่วโลก ในด้านบริการทางการเงิน การศึกษา และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับข้อมูลด้านธุรกิจ ผ่านแบรนด์ชั้นนำ เช่น สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (Standard & Poor’s), แม็คโกรว-ฮิลล์ เอดูเคชั่น (McGraw-Hill Education), บิสิเนสวีค (BusinessWeek) และ เจ.ดี. พาวเวอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ทั้งนี้ บริษัทมีสำนักงานมากกว่า 280 แห่งใน 40 ประเทศ และมียอดขายใน พ.ศ. 2550 ที่ 6,800 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก http://www.mcgraw-hill.com