ภาครัฐและเอกชน ร่วมผนึกกำลัง สร้างโอกาสธุรกิจใหม่ ในงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 13 และงานเบทเทอร์ช้อป รีเทลโชว์ ครั้งที่ 2 ในภาวะที่เศรษฐกิจผกผัน
ช่วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจนี้ ตัวเลขของการว่างงานถูกรายงานเพิ่มขึ้นๆทุกขณะ งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ และงาน เบทเทอร์ช้อป รีเทลโชว์ ที่กำลังจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2552 นี้ บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด ร่วมกับ นิตยสารโอกาสธุรกิจและแฟรนไชส์ , สมาคมแฟรนไชส์ไทย ,สมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน) ,สถานทูตอเมริกา ,สถานทูตสิงคโปร์, ภาควิชาการออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, สสว.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า,กรมส่งเสริมการส่งออก จับมือกัน ผนึกกำลัง ร่วมพลิกฟื้นธุรกิจ โดยคาดว่า การจัดงานแสดงบูท สัมมนา และกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจ ครั้งนี้ จะทำให้เกิดธุรกิจขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 700 กิจการ ที่จะนำมาสู่ การจ้างงานไม่ต่ำกว่า 20,000 คน อีกทั้งการแสดงบูทระดับนานาชาตินี้ จะนำนักธุรกิจชาวต่างประเทศเข้าชมงานไม่ต่ำกว่า 500 คน อันจะนำเงินตราเข้ามาใช้จ่ายในประเทศ
น .ส. สมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทแฟรนไชส์ โฟกัส ผู้จัดงาน กล่าวว่า “มีคนอยู่ 3 กลุ่ม ที่ต้องการแสวงหาอาชีพใหม่ คือ กลุ่มเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจก่อสร้าง เป็นต้น ที่มีความจำเป็นต้องหยุดการผลิต หรือ ต้องมองหาธุรกิจอื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจประเภทเดียว หรือ หันมาทำกิจการที่ไม่ใช่การลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อเศรษฐกิจตกในปี 2540 มีตัวอย่างของผู้รับเหมาก่อสร้างรายหนึ่ง ที่เคยมีคนงานมากถึง 200 คน พอภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ก็หันมาทำแฟรนไชส์รีไซเคิลขยะ ทุกวันนี้เขาภูมิใจในอาชีพของเขามาก อีกตัวอย่าง มีข้าราชการที่ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดแล้วหันมาเป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุด”
“กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ก็มีบริษัทบางแห่ง ที่ให้พนักงานสมัครใจลาออก โดยได้รับเงินชดเชยก้อนหนึ่ง หลายคนเห็นความจำเป็นที่ต้องตัดสินใจสร้างธุรกิจของตัวเอง หรือ กลุ่มที่ 3 กลุ่มของผู้ใช้แรงงาน ก็ต้องการหาทักษะใหม่ๆ เพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงตัว เพื่อความอยู่รอด”
ความต้องการเหล่านี้ สอดคล้องกับงาน โอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ และงาน เบทเทอร์ช้อป รีเทลโชว์ ที่ตอบสองต่อความต้องการเหล่านี้ เช่น กลุ่มของเจ้าของอุตสากรรมจะมีทางเลือกทำธุรกิจใหม่ๆได้ทันที โดยไม่ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ในกิจการที่ไม่ถนัด ก็สามารถพิจารณา ธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์เนม หรือกิจการร้านอาหาร คาร์แคร์ คอนวีเนียนสโตร์ หรือกิจการหลากหลายที่มาจากต่างประเทศ อาทิ ธุรกิจการศึกษา ร้านอาหารญี่ปุ่น ศูนย์บริการรถยนต์ ร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ขายสินค้ากล่องและตู้จัดเก็บของ เป็นต้น ซึ่งกิจการระคับนี้มีการลงทุนอยู่ในหลัก 2 ล้านบาทขึ้นไป
หรือในกลุ่ม ของพนักงานบริษัท อาจจะให้ความสนใจ ในการทำธุรกิจการศึกษา หรือ ร้านกาแฟ ทดลองลงทุนตั้งตู้บริการหยอดเหรียญ หรือลงทุนซื้อสินค้าไปจำหน่าย เปิคคาร์แคร์ หรือสนใจที่จะเรียนด้านวิชาชีพอื่นๆต่อ เป็นต้น ซื่งภายในงานนี้ก็มีกิจการหลากหลายให้เลือรวมไว้ในพื้นที่เดียวกัน
สำหรับผู้ที่ใช้แรงงาน หรือผู้ที่มีทุนไม่มาก ต้องการมีทักษะอาชีพใหม่ ก็สามารถมองหาเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อประกอบอาชีพได้ เช่นขายก๋วยเตี๋ยว ขายกาแฟ ไอศกรีม บริการงานพิมพ์ หรือสมัครอบรมเพื่อประกอบอาชีพได้ เช่น การให้บริการล้างรถ การทำงานพิมพ์ สมัครอบรมการทำกาแฟ เป็นต้น
สัมมนาฟรี
นอกจากนี้แล้ว การผนึกกำลังกัน ทั้งของภาครัฐและเอกชน สร้างโอกาสใหม่ๆยิ่งขึ้นให้กับผู้ที่เข้าชมงานคือ สัมมนา เปิดฟรี ในเรื่อง “ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ในเรื่องแฟรนไชส์” ในวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสสว. ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายของภาครัฐที่มีอยู่ ในการให้ความช่วยเหลือเรื่องแฟรนไชส์ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ และประชาชนได้รับทราบว่า ตนสามารถขอรับความสนับสนุน ช่วยเหลือจากโครงการที่มีอยู่ได้อย่างไรบ้าง
นายประวัติ จิรวุฒิตานันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายประสานและบริการ SMEs สสว. กล่าวว่า “สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอีกหลายแห่ง ซึ่งตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และเตรียมพร้อมด้วยการนำเสนอธุรกิจใหม่ๆ ที่หลากหลาย และแน่นอนว่าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นหนึ่งในหลายธุรกิจที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อรองรับกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและการเลิกจ้างงาน ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นหนึ่งในทางออกสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังต้องการหาอาชีพเสริม ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ หรือผู้ที่กำลังตกงาน หน่วยงานภาครัฐอย่าง สสว. ในบทบาทการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ โดยได้สนับสนุนคณะวิทยากรเพื่อมาร่วมกิจกรรมสัมมนาที่จะจัดขึ้นโดยเปิดรับผู้ที่สนใจเข้าฟัง..ฟรี ในหัวข้อเรื่อง “ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ในธุรกิจแฟรนไชส์ (ในรูปแบบเสวนา)” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ระหว่างเวลา 12.30-14.30 น. ห้องสัมมนา (ชั้น 2) ภายในฮอลล์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ผู้เคยประสบปัญหาในการทำธุรกิจแฟรนไชส์แล้วจะมีกลยุทธ์หรือทางออกอย่างไรมาเล่าสู่กันฟังก็มารับฟังได้ในงานสัมมนานี้
สำหรับในส่วนของงานเบทเทอร์ช้อป รีเทลโชว์ ก็มีการจัดสัมมนาเปิดฟรี เรื่อง “ออกแบบร้านให้ชนะใจลูกค้า” ในวันเสาร์ที่ 28 กพ 52 เวลา 13.00 -15.00 น. Hall 2 ในหัวข้อเรื่อง “ร้านดีไซน์ชนะใจลูกค้า” และ “เลือกฮวงจุ้ยแบบวิทยาศาสตร์” โดยทีมงานคณาจารย์ “ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน” คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และหัวข้อ “การออกแบบร้านค้าแต่งร้านให้ได้ล้าน” บรรยายโดย อ. เอกพงษ์ ตรีตรง หัวหน้าภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ,เจ้าของหนังสือ “แต่งร้านให้ได้ล้าน” และผู้จัดรายการ “อยู่สบาย” และดีไซน์นิวส์ คอลัมม์แต่งร้านให้ได้ล้าน นสพ.คมชัดลึก การจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ทำธุรกิจด้านค้าปลีกที่ต้องการข้อคิดในการตกแต่งร้านพิชิตใจลูกค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย สู่โอกาสในการสรรหาสินค้าใหม่ และบริการใหม่ๆ เพื่อเสริมศักยภาพของธุรกิจ สำหรับท่านผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่ง หรือสมัครผ่าน www.ได้ฟรีหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-720-4821 – 5
หาไอเดียแต่งร้านจาก ประกวดโมเดลร้านต้นแบบ
นอกจากนี้แล้วภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดประกวดผลงานโมเดลร้านค้าต้นแบบกว่า 50 แบบ ของนักศึกษา เพื่อเป็นรูปแบบตัวอย่างให้ผู้ที่อยู่ในวงการค้าปลีกได้มาชม เพื่อดูเป็นแนวทางในการออกแบบร้าน พร้อมกับร่วมโหวตให้คะแนนผลงานเหล่านั้น
บริการออกแบบ ร้านค้าฟรี
ในวันศุกร์ที่ 27 และวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ นักศึกษาจากสถาบันเดียวกันนี้ จะมาให้บริการรับออกแบบร้านค้าให้ฟรี สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดร้านใหม่ หรือต้องการปรับปรุงร้าน สามารถนำแบบแปลนพื้นที่ของร้าน พร้อมทั้งเตรียมภาพถ่ายร้าน (ถ้ามี) เพื่อนำมาปรึกษาพูดคุยกับนักศึกษาเพื่อรับการออกแบบร้านฟรี ได้ที่งานนี้เท่านั้น
อาจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง หัวหน้าภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของโครง การสัมมนาออกแบบร้าน การประกวดโมเดล และการให้บริการออกแบบร้านค้า ที่งานนี้ว่า “ในอนาคตการเกิดร้านแนวคิดใหม่จะฉีกกฎนอกกรอบมากขึ้นเข้าไปอีก อันเกิดจากร้านที่มีการออกแบบที่ดี อันเป็นตัวแปรของการตลาดและการส่งเสริมการขายอย่างยิ่งยวด ความคิดสร้างสรรค์ ไอเดีย ต่างระดมเข้าสู่การออกแบบอย่างมากมาย จากเดิมทุกคนมองว่าไม่จำเป็น แต่วันนี้นอกจากความงาม ประโยชน์ใช้สอย และเอกลักษณ์ในการออกแบบจะช่วยส่งเสริมร้านได้ดีแล้วนั้น การออกแบบที่ดียังรวมไปถึงการสร้างแรงดึงดูด การบริหารสต็อก การเลือกทำเล นวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการขายผ่านการออกแบบทุกส่วนในร้าน ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ในร้าน บรรยากาศ กริยาท่าทางของพนักงาน ไปจนถึง ภาพลักษณ์องค์กรที่มีอยู่ในทุกส่วนสัดของร้าน
แฟรนไชส์ อินเตอร์
สำหรับปีนี้ นับเป็นครั้งแรกที่งานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีบูทแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้าร่วมงานอย่างเป็นทางการ โดยมี พาวิลเลี่ยนของ ธุรกิจที่มีจากสิงคโปร์ ได้แก่ Auto Saver ซึ่งเป็นศูนย์บริการที่เกี่ยวกับรถยนต์,Art Zone เป็นแฟรนไชส์สอนศิลปะสำหรับเด็ก,First Media Design School เป็นโรงเรียนสอนด้านการออกแบบ,Q-dees เป็นโรงเรียนอนุบาล Waraku ร้านอาหารญี่ปุ่นและ อิตาเลียน,Hawards Storage ร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้า อุปกรณ์การจัดเก็บของ เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ ยังมองเห็นศักยภาพในการเปิดธุรกิจในไทย และต้องการขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ยังมีคลินิก ที่ปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจทำธุรกิจระหว่างประเทศกับสหรัฐ ที่บูทของสถานทูตอเมริกัน จะมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลเกี่ยวกับแฟรนไชส์ และธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการมาเปิดตลาดในประเทศไทย
Ms. Cynthia Griffin Greene Commercial Counselor ทูตพาณิชย์ ของสหรัฐ กล่าวถึงการร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ลงทุนในประเทศไทย และประสบความสำเร็จในตลาดไทย ยังมีนักลงทุนจำนวนมากมองหาโอกาสลงทุนในธุรกิจนี้ เนื่องจากความน่าสนใจและค่อนข้างปลอดภัยในการลงทุน ในประเทศไทย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการให้บริการแฟรนไชส์โดยมีส่วนแบ่งตลาด 65 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโลก ด้วยคุณภาพ มาตรฐาน แบรนด์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ของ ทำให้ชื่อเสียงแฟรนไชส์ของอเมริกาเป็นที่ยอมรับในกลุ่มนักลงทุนในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ธุรกิจแฟรนไชส์ของสหรัฐอเมริกาที่ประสบความสำเร็จในเมืองไทยมีมากมาย อาทิเช่น McDonald’s, Burger King, KFC, Pizza Hut, A&W, Auntie Anne’s, Dunkin Donuts, Outback Steakhouse, Subway, Tony Roma’s, TGI Friday, Hard Rock Café, Starbucks, The Coffee Bean & Tea Leaf, Gloria Jeans’ Coffee, Au Bon Pain, Sizzler, Swensen, Bud’s Ice Cream, Dairy Queen, Baskin Robbins, Haagen-Dazs. TCBY, Mini Melt, Hertz, Avis, Budget, Midas, Mail Boxes, PostNet, Alpha Graphics, Guess, Levi’s, Holiday Inn, Best Western, Quality Inn, California Fitness, Berlitz, ELS, English First, Direct English, ELC Learning Center, Futurekids, Math-Science, Gymboree, Kumon, Radio Shack, Blockbuster, GNC, Comfort Inns, Choice Hotels, Marriott, Intercontinental, Hilton, Conrad, Raddison. เป็นต้น
มิส โจลิน ตัน ผู้จัดการการตลาด จากแฟรนไชส์ภัตตราคาร วาราคึ (waraku) กล่าวถึงสาเหตุ การเข้าร่วมงานครั้งนี้ว่า “เรามองว่ากรุงเทพเป็นเมืองมหานครของโลก ที่มีร้านอาหารที่มีคอนเซ็ปท์ที่แตกต่างกันมากขึ้น และอาหารญี่ปุ่นก็เป็นที่โปรดปรานของคนไทย เราจึงนำอาหารที่มีคุณภาพสูง พร้อมด้วยบริการที่ยอดเยี่ยม ในราคาที่ยอมรับได้ มาเต็มเต็มความต้องการตลาดที่นี่ ซึ่งกิจการของเรามีความเชี่ยวชาญในการเติบที่ตลาดนาๆชาติ และเราเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในคอนเซ็ปท์ร้านของเรา”
มิเตอร์ บ็อบบี้ อึง ผู้จัดการทั่วไป แฟรนไชส์ศูนย์บริการรถยนต์ออโต้ เซฟเวอร์ กล่าวว่า “ในภูมิภาคเอเชียนั้น ไทยเป็นประเทศที่มีโอกาสในธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์มากที่สุด และกลายเป็นศูนย์กลางในด้านนี้ของเอเชีย”
นอกจากนี้แล้ว ยังมีแฟรนไชส์ที่มาจากประเทศอื่นๆอีกเช่น อีโน่ฟี่ เป็นสถาบันสอนคณิตศาสคร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาเกาหลี จากประเทศเกาหลี และธุรกิจร้านอาหาร จากอินโดนีเซีย จากอินเดีย เป็นต้น
คุณศุภวรรณ ตรีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าสามารถทำรายได้เข้าประเทศได้ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 12 – 15 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ โดยรายได้ที่เข้าประเทศมีทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งสามารถกระจายรายได้ไปยังอุตสาหกรรมหลักและอุตสาหกรรมใกล้เคียงตลอดจนภาคธุรกิจแวดล้อมอื่นๆของประเทศไทยอีกด้วย
การจัดงานในครั้งนี้ ทางบริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขยายฐานการพัฒนาการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทยไปยังตลาดต่างประเทศ ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ สสปน. จึงให้การสนับสนุนการจัดงาน ตลอดจนการให้คำปรึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในการประชาสัมพันธ์งานไปยังกลุ่มเป้าหมายหลักทั้งผู้แสดงสินค้า (Exhibitors) และผู้เข้าร่วมชมงาน (Visitors) โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ ซึ่ง สสปน เชื่อมั่นว่ารายได้ที่เกิดจากการจัดงานและการเจรจาธุรกิจภายในงานนี้ จะสร้างให้เกิดเงินหมุนเวียนขึ้นในธุรกิจนี้ไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท
การจัดงานในครั้งนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งผู้แสดงสินค้า (exhibitors) และผู้เข้าร่วมชมงาน (visitors) จากในประเทศและนานาประเทศกว่า 15 ประเทศทั่วทุกภูมิภาคของโลก อาทิ อินโดนีเซีย อเมริกา อังกฤษ รัสเซีย และที่น่าสนใจ คือ ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการจากประเทศสิงคโปร์จัดพาวิลเลียนเข้าร่วมงานในครั้งนี้อีกด้วย นับเป็นการการันตีถึงความสำเร็จอย่างงดงามของงานเป็นอย่างดี และในปีนี้ ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ งานยังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20 % ทำให้รูปแบบของงานมีความหลากลายและครบวงจรมากขึ้นและนอกเหนือจากงานแสดงสินค้าแล้วภายในงานยังมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจในการทำธุรกิจแต่ยังขาดที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญก็สามารถเข้ามาที่คลินิกที่ปรึกษาจากสถานทูตอเมริกันเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าชมงาน ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นที่สามารถยกระดับ “งานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 13 และงาน Better Shop Retail Show ครั้งที่ 2” ให้เป็นอีกหนึ่งงานระดับนานาชาติที่จัดขึ้นในประเทศไทย
การผนึกกำลังความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ในงานนี้ ได้คำนึงถึงการสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เข้าชมงานทั้งจากต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อสร้างช่องทางใหม่ๆ และเป็นทางเลือก หาธุรกิจและอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง แม้ว่าภาวะนี้ หลายคนมองว่า ยังไม่เหมาะที่จะลงทุนในธุรกิจใดๆ แต่สำหรับผู้ที่มีความกระตือร้นและไม่ยอมแพ้ ย่อมต้องมองหาโอกาสจากภาวะวิกฤตอยู่เสมอ