de veen เฟซบุ๊ก ไพรม์โลเกชั่น ยิ่งกว่าสยามแสควร์

เมื่อก้าวพ้นรั้วมหาวิทยาลัย ความฝันของหนุ่มสาวที่รักในแฟชั่นมักกำหนดเส้นชัยสูงสุดไว้ที่การมีร้านหรือมีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง สำหรับหุ้นส่วนทั้งสามของ de Veen ก็เช่นกัน พวกเขาไม่รีรอที่จะเปิดร้านในย่านดังอย่างสยามสแควร์เพื่อเติมเต็มความฝันของตัวเอง ก่อนจะหันมากรุยทางแห่งความสำเร็จบนเฟซบุ๊กแทน

 

จากค่าเช่าที่แสนแพงในสยามฯ มาเปิดพื้นที่ฟรีในเฟซบุ๊ก

“de Veen เปิดที่สยามฯ ได้ 2 ปี แอมก็ไปเรียนต่อด้านแฟชั่นแมเนจเมนต์ที่อังกฤษ ส่วนปานวาด (ลูกสาวของปัญญา นิรันดร์กุล) ก็จะแต่งงาน เราเลยตัดสินใจปิดร้าน เพราะมันก็ซัฟเฟอร์ค่าเช่าด้วย ขายได้เท่าไหร่ต้องจ่ายเป็นค่าเช่าเสียส่วนใหญ่” แอม-ฉายนันทน์ มโนมัยสันติภาพ 1 ในหุ้นส่วนเผยถึงที่มาของร้าน de Veen ฉบับออนไลน์

เมื่อฉายนันทน์กลับจากต่างประเทศ เธอบอกว่า เห็นแต่ร้าน “Mo & Friend” ที่เปิดขายในเฟซบุ๊กเป็นเจ้าแรกๆ 

“จริงๆ ยังไม่ได้ตั้งใจจะขายจริงจัง แค่ประชุมกับเพื่อนๆ ว่าจะทำยังไงกับสต๊อกที่เหลือ สุดท้ายได้ข้อสรุปว่าน่าจะลองเอามาขายในเฟซบุ๊ก ปรากฏทำแล้วฟีดแบ็กดี” 

ออนไลน์ VS ออฟไลน์ 

“ในออนไลน์เค้าได้เห็นเราใส่เสื้อผ้าให้ดู เป็นนางแบบเอง ถ้าเทียบกับหน้าร้านตอนนั้น อัตราการหมุนเวียนของผู้คนเข้ามาในร้านค้าออนไลน์เยอะกว่า เพราะจะมีลูกค้าต่างจังหวัดด้วย พวกนี้ขาช้อปเลย เพราะเขาไม่ได้มีโอกาสเข้ามาช้อปกรุงเทพฯ บ่อยๆ” 

ฉายนันทน์บอกว่า ด้านการตัดสินใจซื้อของออนไลน์และหน้าร้านก็แตกต่าง ลูกค้าเฟซบุ๊กส่วนใหญ่เป็นคนที่ช้อปออนไลน์อยู่แล้ว ส่วนมากตัดสินใจซื้อทันที มีเพียงส่วนน้อยที่จะถามรายละเอียดสินค้า

“หน้าร้านที่สยามฯ ตอนนั้นส่วนใหญ่เป็นลูกค้าวอล์กอิน แต่สำหรับร้านออนไลน์ ลูกค้าคือคนกดไลค์ใน 25,000 คนนี่ล่ะ เขาจะมาในวันที่ลงของใหม่”

 

ยอดไลค์น้อยไม่กดดัน

กับยอดไลค์ 24,000 ไลค์ เราถามเธอว่า น้อยไปมั้ยกับเวลา 2 ปี” 

“ร้านเราลง Ad น้อย ร้านที่ยอดไลค์เยอะอาจจะซื้อ Ad เยอะ แต่ทางร้านเคยลงทุนซื้อ Ad แล้ว แต่รู้สึกว่าไม่ได้ลูกค้าที่ Spend กับเราจริงๆ ได้แค่ยอดไลค์ แต่ยอดขายไม่เพิ่ม” 

“แต่มันมีทฤษฎีเน็ตเวิร์คค่ะ เพจที่มีโอกาสโตกว่าคือเพจที่มีคนกดไลค์มากกว่า แต่ของ de Veen ขอให้ยอดไลค์ขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีออร์เดอร์เรื่อยๆ ดีกว่าค่ะ” 

“กังวลเล็กๆ กับการที่มีคู่แข่งค่อนข้างมากในปัจจุบัน แต่เท่าที่ลองดู ร้านที่ตัดเองแล้วขายราคานี้ ไม่ค่อยมีนะคะ ราคานี้จะเป็นเสื้อนำเข้าจากเกาหลีในลักษณะซื้อมาขายไปมากกว่า”  

 

ประสบการณ์การตลาด

de Veen มักทำการตลาดด้วยการเอาบทความต่างๆ มาโพสต์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังจัดโปรโมชั่นสามเดือนครั้ง  

การร่วมมือกับแคมเปญระยะสามเดือนของซิตร้า ฉายนันทน์บอกว่าข้อดีคือได้ไปออกอีเวนต์ทั้งที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เชียงใหม่และชลบุรี 

“ช่วงแถลงข่าวยอดไลค์เพิ่มขึ้น 30-40% เลยค่ะ ข่าวพีอาร์ช่วยเราได้ดี”

ปัจจุบัน de Veen ยังคงไม่คิดจะมีหน้าร้านอีก ตอนนี้ขายเสื้อผ้าผ่านเฟซบุ๊กอย่างเดียว ล่าสุดแตกไลน์เสื้อผ้าผู้ชายในชื่อเฟซบุ๊ก de Veen Homme  

 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

Style วินเทจนิดๆ หวานอมเปรี้ยว
ไม่ถึงกับเรียบร้อยซะทีเดียว Target นักศึกษาปีสามถึงสาววัยทำงานอายุ
30 ต้นๆ Price 780 -1,200 บาท Spending 1,000+ / ออร์เดอร์ Sales 20 ออร์เดอร์ / วัน
(ถ้าไม่ใช่วันที่ลงของใหม่) New Arrival ลงสินค้าใหม่ทุกอาทิตย์
ส่วนใหญ่เป็นวันพุธ ช่วงบ่าย Channel เฟซบุ๊ก Like 25,000+