เปิด 5 รูปแบบโฆษณายุคดิจิตอลที่คนแชร์ต่อมากสุด

สื่อเก่าหลบไป… จับตา 5 เครื่องมือโฆษณายุคดิจิตอล ทำแล้วคนแชร์ต่อสูงสุด “สปอนเซอร์ชิป – เซเรบถือสินค้าลงอินสตราแกรม – ไวรัลวีดิโอคลิป – หนังสั้นออนไลน์ – คาราวานอีเว้นท์” บริษัทมายด์แชร์ และบริษัท MillwardBrown ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคของไทย ในช่วง เดือนสิงหาคม – กันยายน 2556 ถึงประสบการณ์ และทัศนคติต่อสื่อยุคใหม่ เช่น Product Placement ในรายการโทรทัศน์ และ ไวรัล วีดิโอคลิป ในโลกออนไลน์ และสื่อโฆษณาลักษณะไหนที่ทำให้คนสนใจแบรนด์ ที่ทำให้เกิดการแชร์ต่อ รวมทั้งกิจกรรมการตลาดและการรับรู้โฆษณาของ 5 กลุ่มสินค้าและบริการ การสำรวจใช้การสอบถามแบบออนไลน์ ระหว่าง 1 – 10 สิงหาคม 2556 มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามถึง 300 คน จาก 3 จังหวัด คือ กรุงเทพ เชียงใหม่ และขอนแก่น คิดเป็นจังหวัดละ 100 คน โดยแบ่งเป็นชายและหญิงเท่าๆ กัน owned media แรงกว่าสื่อเดิมแล้ว ผลวิจัยพบว่า การใช้สื่อมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้น ในยุคที่สื่อดิจิตอลมาแรง ปรากฎว่า การลงทุนใน owned media หรือสื่อที่เจ้าของสินค้าสร้างเอง เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับสื่อโฆษณาแบบเดิม ที่เป็นการซื้อโฆษณา (advertising spot, paid media) การสำรวจ จึงได้ลงในเรื่องของประสบการณ์และทัศนคติต่อสื่อโฆษณายุคใหม่ อาทิเช่น Product Placement ในรายการโทรทัศน์ และ Viral Video clip ในโลกออนไลน์ สปอนเซอร์ชิปทีวี และไวรัล วีดิโอคลิปมาแรง ผลวิจัยพบว่า Top 3 ของการโฆษณาแบบ non-conventional ที่ผู้คนได้เคยพบเห็นมาแรงสุด คือ

 

 

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าคนต่างจังหวัด (ขอนแก่น เชียงใหม่) เคยพบ เคยเห็น และประสบการณ์กับออนไลน์ไวรัลวีดีโอแบบที่บอกยีห้อสินค้าในสัดส่วนทีสูง โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 18-24 ปี คนชอบโฆษณา Tie-in ในหนังสั้นออนไลน์มากสุด เมื่อสำรวจถึงความชอบ (Likeability ) จะพบว่า คนส่วนใหญ่ ชอบโฆษณาแบบที่เป็นหนังสั้นออนไลน์แล้วมีการ tied-in สินค้ามากที่สุด โดยกลุ่มคนอายุน้อยและกลุ่มคนต่างจังหวัด ยังให้คะแนนสูงในเรื่องของความชอบกับทุกๆ รูปแบบการโฆษณาแบบ non-conventional

 


 

Top 5 โฆษณา วีดีโอออนไลน์/เซเรบริตี้ถือสินค้าในอินสตาแกรมแชร์สูงสุด

 

 

ผลสำรวจสะท้อนว่า sponsorship ในรายการทีวีจะติด top 5 ในทุกๆ แง่มุม แต่การโฆษณาแบบ non-conventional ทางออนไลน์นั้นก็ติด top 5 ในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างในในประเด็นของการสร้างความผูกพันกับสินค้าและการแชร์/บอกต่อ สิ่งนี้เป็นการยืนยันมุมมองของเราที่ว่าการสื่อสารกับผู้บริโภคนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เพียงแค่traditional media ที่เป็น spot โฆษณาที่ทีวี หรือ สื่อสิงพิมพ์ แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว