ปรากฏการ “ฟับบิ้ง”: เมื่อเราเห็นโทรศัพท์สำคัญกว่าเพื่อน

ผลจากการศึกษาวิจัยทั่วโลก จัดทำโดย เวเบอร์ แชนด์วิค ซึ่งเป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ชั้นนำระดับโลกพบว่า 71% ของผู้ถูกสำรวจเคย ฟับ ในขณะที่ 96% เคยถูก ฟับ โดย 80% ของผู้ที่เคยโดน ฟับ รู้สึกหงุดหงิด โมโห รวมถึงรู้สึกเหมือนไม่ได้รับความสนใจจจากคู่สนทนา 80% เลือกให้การสนทนาแบบตัวต่อตัวเป็นสถานณการณ์ที่ไม่เหมาะสมที่จะ ฟับ มากที่สุด 90% ของผู้ถูกสำรวจ ฟับ เพราะความเบื่อหน่ายหรือเพราะมีเรื่องสำคัญทำให้ต้อง ฟับ สถานการณ์ที่การ ฟับ ถือเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้มากที่สุดคือระหว่างการเดินทาง ไม่ว่าเป็นทางรถยนตร์ หรือทางรถไฟฟ้าบีทีเอส/บีอาร์ที รองลงมาคือบาร์ 9% ของผู้ถูกสำรวจกล่าวว่าไม่มีสถานการณ์ใดที่การ ฟับ ถือเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ และ 84.31% ลงความเห็นว่าตนเองต่อต้านการ ฟับ

คาดว่าใครหลายๆ คน คงจะคุ้นเคยกับเพลงฮิต “โอมจงเงย” ของคุณแสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ที่มีเนื้อร้องว่า “แต่แล้วเธอก็ไม่มอง แล้วเธอก็ไม่มา ก้มหน้าก้มตาละเลงนิ้วมือลงบนเครื่องนั้น ยิ้มหัวเราะคนเดียว ไม่เหลียวข้างหน้าข้างหลัง ต้องจบลงที่ฉัน พนมนิ้วมือท่องคาถา…” กันดีอยู่แล้ว และใครหลายคน ก็คงจะเคยได้สัมผัสกับการ “ฟับ” (Phub) มาไม่มากก็น้อยเช่นกัน

ลองคิดดูสิว่า เวลาที่คุณกำลังเล่าให้เพื่อนสนิทฟังเรื่องที่คุณเพิ่่งจะะเลิกกับแฟน คุณเกือบจะร้องไห้อยู่ร่อมร่อ ในขณะที่เพื่อนของคุณกลับวุ่นอยู่กับการอัพสเตตัสผ่านโทรศัพท์มือถือ ถ้าคุณสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น ขอให้รู้ไว้ว่าคุณเพิ่งจะโดน “ฟับ”

ฟับบิ้ง (Phubbing) คืออากัปกริยาของการให้ความสนใจกับโทรศัพท์มือถือมากกว่าคนรอบข้างหรือสถานการณ์แวดล้อม ที่ประเทศออสเตรเลีย มีกลุ่มคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่ง นำโดย อเล็กซ์ ไฮย์ นักศึกษาปริญญาโทวัย 23 ปี ได้ริเริ่มแคมเปญ “Stop Phubbing” ผ่านทางเว็บไซต์ www.stopphubbing.com เพื่อรณรงณ์ให้คนเงยหน้าขึ้นมาจากจอโทรศัพท์และหันกลับมามองกันและกันให้มากขึ้น

หลังจากได้รับความสนใจจากทั่วโลก แคมเปญดังกล่าวก็มาถึงประเทศไทย ที่ซึ่ง ใครๆ ก็ ฟับ กันทุกที่ ทุกเวลา แม้แต่จะเดิน กิน เรียนหนังสือ หรือแม้แต่ในวินาทีเสี่ยงชีวิต อย่างการเดินข้ามถนนก็ตาม จากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีอายุตั้งแต่ 12 ถึง 45 โดยเวเบอร์ แชนด์วิค ประเทศไทย พบว่า คนส่วนใหญ่สารภาพว่าตนเองมีพฤติกรรม ฟับ ขณะที่ผู้ร่วมตอบแบบสำรวจท่านหนึ่งระบุว่า เพื่อนของผู้ถูกสำรวจเกือบจะถูกรถชนเนื่องจากเพลิดเพลินกับการ ฟับ ระหว่างการข้ามถนน!

นอกจากนี้ ผลสำรวจเผยว่า คนส่วนมาก ฟับ เพราะรู้สึกเบื่อ ไม่มีอะไรทำ หรือมีเรื่องสำคัญต้องจัดการ เด็กหญิงวัย 12 ปี ผู้ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า “บางครั้งหนู ฟับ เพราะหนูไม่สามารถพูดสิ่งที่หนูอยากพูดกับคนที่อยู่ตรงหน้าได้ แต่หนูสามารถระบายอารมณ์โกรธให้เพื่อนๆฟังได้ผ่านโลกออนไลน์”

“ผม ฟับ เพราะคนรอบข้างผมไม่รู้สึกอะไรกับสิ่งที่ผมทำ” ชายอายุ 35 ปีท่านหนึ่งกล่าว

ผู้ถูกสำรวจวัย 20 ปีอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อใดก็ตามที่ผมรู้สึกประหม่าเวลาอยู่ท่ามกลางผู้คน ผมก็จะ ฟับ การแชทกับเพื่อนก็สามารถทำให้ผมรู้สึกมั่นใจขึ้นได้”

เรา ฟับ ในร้านอาหาร ในบาร์ ระหว่างการสนทนา หรือแม้กระทั่งในงานแต่งงาน แต่เราเคยรู้หรือไม่ว่ามันส่งผลกระทบต่อคนรอบตัวเราอย่างไร การโดน ฟับ ทำให้หลายคนรู้สึกหงุดหงิด โมโห รวมไปถึงไม่ได้รับความสนใจจากคู่สนทนา

ด้วยความนิยมของสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นประกอบยอดขายที่เพิมขึ้นเท่าตัวในช่วงสองปีที่ผ่านมา แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะละสายตาไปจาก “ของเล่น” ชิ้นนี้ เราจะเห็นการการ ฟับ ได้ชัดที่สุดระหว่างการโดยสารรถยนตร์ร่วมกับเพื่อน หรือบนรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจถือว่าเป็นการ ฟับ ในสถานการณ์ที่ยอมรับได้มากที่สุด ส่วนการ ฟับ ที่คนส่วนใหญ่รับไม่ได้ที่สุด คือการ ฟับ ทั้งๆ ที่กำลังมีคู่สนทนาเพียงหนึ่ง หรือไม่กี่คน

“ฉัน ฟับ ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันทำให้ฉันมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ‘จริงๆ’ น้อยลง เพราะไม่ได้สื่อสารกับคนรอบข้าง ตอนนี้ฉันจึงพยายามจะ ฟับ ให้น้อยลง” เด็กสาววัย 15 ปีกล่าว “ฉันคิดว่าเราไม่ควรจะ ฟับ ในขณะที่ผู้อื่นพยายามจะคุยกับเรา แต่ถึงแม้ฉันจะรู้ว่าฉันไม่ควรจะ ฟับ ฉันก็ยัง ฟับ อยู่ดี”

พวกเราล้วนแล้วแต่ต่อต่านการ ฟับ แต่ถึงกระนั้นเราก็ทำอยู่ดี แล้วทำไมเราถึงหยุด ฟับ ไม่ได้ล่ะ?


**ผู้ตอบคำถามสามารถเลือกได้มากกว่า 1 คำตอบสำหรับคำถามนี้
คำตอบอื่นๆ: “ฉันรู้สึกเหมือนไม่ได้รับความเคารพ”
“มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเหตุผล”
“ที่จริงแล้วฉันรู้สึกโล่งใจ เพราะไม่ต้องพยายามคุยกับคนแปลกหน้า”