ฟูจิตสึเสริมนวัตกรรมชูจุดแข็งโซลูชันเพื่อการบริหารเพาะปลูก ด้วย Akisai Food and Agriculture Cloud

ฟูจิตสึเปิดเผยว่า ฟูจิตสึได้พัฒนานวัตกรรมเสริมบริการด้านการบริหารจัดการการผลิตสำหรับ “Akisai” คลาวด์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ด้วยการเพิ่มระบบการบริหารจัดการการผลิตให้กับ บริษัท โคบายาชิ ครีเอท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ริเริ่มปลูกและขายผักในรูปแบบ “อุตสาหกรรม” 
 
(1) โดยโซลูชันนี้จะบริหารจัดการกระบวนการปลูกพืชในระบบอุตสาหกรรมและในสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะชำ
 
(2) ฟูจิตสึยังพัฒนาโซลูชันใหม่ให้พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันอัจฉริยะของฟูจิตสึ คลาวด์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ภายใต้ชื่อ “Akisai” โดยจะเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะเริ่มให้บริการเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นก่อน 
 
โซลูชันใหม่นี้จะใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์อ่านโค้ดมือถือ เพื่อการเก็บข้อมูลและบริหารจัดการที่สะดวกง่ายดายในฟาร์ม โดยบริการนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการบริหารจัดการการเติบโตของพืชในระบบอุตสาหกรรมและในโรงเรือนเพาะปลูก ที่มีระบบการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากและแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือมีความหลากหลายของพืชที่แตกต่างกันไม่มาก 
 
ในอนาคต ฟูจิตสึตั้งเป้าหมายจะเชื่อมโยงข้อมูลจากบริการนี้ด้วยข้อมูลจากบริการอื่นๆ ใน Akisai เพื่อสร้างระบบซัพพลายเชนที่ครอบคลุมกระบวนการจัดซื้อ กระบวนการผลิต กระบวนการจัดส่งและการบริหารจัดการคลังสินค้าและนำไปสู่การมีส่วนร่วมสร้างการบริหารจัดการด้านการเกษตรเชิงองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้สูงและมีประสิทธิภาพ 
 
ข้อมูลพื้นฐานและปัญหา
 
ในโรงเรือนเพาะปลูกหรือการปลูกพืชในระบบอุตสาหกรรม จะมีแมลงรบกวนและสิ่งปนเปื้อนน้อย ซึ่งหมายถึงปัจจัยจากสภาพแวดล้อมได้ถูกควบคุมและส่งผลน้อย จึงสามารถวางรูปแบบการเพาะปลูกให้เป็นระบบและกำหนดกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่องเป็นรอบที่ชัดเจน จึงสามารถจัดระเบียบว่าอะไรที่จะปลูกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นผักผลิต ดอกไม้หรือการเก็บเมล็ดพันธุ์ ในทางตรงกันข้าม การปลูกพืชแบบทั่วไป ต้องอาศัยการบริหารจัดการพืชเฉพาะเป็นกลุ่มๆ และอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเพาะปลูกระหว่างการเติบโต ซึ่งอาจต้องเสียเวลา เสียแรงงานในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลการทำงานอย่างมาก 
 
ความสามารถใหม่ในระบบบริหารจัดการการเพาะปลูก
 
ด้วยบริการใหม่นี้ เกษตรกรสามารถหยิบอุปกรณ์อ่านโค้ดมือถือเข้าไปอ่านป้าย RFID หรือป้ายบาร์โค้ดที่ถูกกำหนดไว้จำเพาะในแต่ละกลุ่มหรือแยกจำเพาะอย่างเด่นชัด ก็สามารถป้อนข้อมูลการทำงานได้อย่างถูกต้อง จึงอำนวยความสะดวกให้กับการบริหารจัดการด้านประวัติการทำงาน ตั้งแต่การวางแผนการปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว จึงช่วยให้สำหรับการปลูกพืชในระบบอุตสาหกรรมก็จะสามารถปรับเปลี่ยนลำดับการเพาะปลูกไปตามวงจรกระบวนการปลูกได้อย่างเหมาะสม 
 
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ป้อนเข้าในอุปกรณ์อ่านโค้ดมือถือยังสามารถเก็บในคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ จึงช่วยให้สามารถตรวจสอบความคืบหน้าในการทำงาน และพิจารณาปัจจัยในการเติบโตเพื่อการบริหารพืชแต่ละล็อตได้ ซึ่งหมายถึงช่วยจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ความล่าช้าในการทำงาน การตอบสนองต่อเงื่อนไขของพืชแต่ละล็อต ผลลัพธ์คือการบริหารจัดการกระบวนการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ให้กับนักวิชาการด้านการเกษตร หรือผู้เพาะปลูกรายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดเทคนิคการปลูกที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไป 
 
ฟูจิตสึมีแผนจะเปิดให้บริการนี้ภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยเริ่มจากการนำไปใช้ในโรงเรือนเพาะปลูกระบบอุตสาหกรรมของเราเองในเมืองไอสึวากามัทสึ ที่ซึ่งปลูกผักกาดหอมโพแทสเซียมต่ำ ในขณะที่เก็บความต้องการจากผู้เพาะปลูกและชาวเกษตรกรตัวจริงนั้น ฟูจิตสึจะยังคงขยายและเสริมความสามารถของบริการคลาวด์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร Akisai ต่อไป ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมั่นใจได้ว่าในอนาคตเราจะมีความมั่นคงทางอาหารอย่างเหมาะสม 
 
[1] การปลูกพืชในระบบอุตสาหกรรม
ระบบอำนวยความสะดวกเพื่อการเพาะปลูกพืชได้ตามเป้าหมาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงฤดูกาลและจัดเตรียมสิ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตของพืชอย่างเหมาะสมภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมโดยมนุษย์ อาทิ ระบบแสงสว่าง LED, ระบบจ่ายปุ๋ยทางน้ำ และระบบสภาพอากาศ
 
[2] โรงเรือนเพาะชำ
สิ่งอำนวยความสะดวกให้การกิจกรรมการเพาะปลูกได้รับการดำเนินการอย่างเหมาะสม เช่น กระจก ไวนิล หรือโครงสร้างอื่นๆ ที่มีลักษณะก่อให้เกิดสภาพเรือนกระจกเพื่อรักษาและควบคุมอุณหภูมิและความชื้น