ขายสินค้าออนไลน์? ความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญ!

เฟดเอ็กซ์  เอ็กซ์เพรส บริษัทขนส่งด่วนรายใหญ่ที่สุดของโลกและบริษัทในเครือของเฟดเอ็กซ์ คอร์ป (NYSE: FDX) เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกในธุรกิจข้ามพรมแดนอีคอมเมิร์ซ ดำเนินการวิจัยโดยบริษัทวิจัยอิสระ Forrester Consulting การศึกษาที่รับมอบหมายจากเฟดเอ็กซ์ เผยให้เห็นถึงความลังเลใจที่สำคัญในหมู่นักช้อปออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ที่ซื้อสินค้าโดยตรงจากเว็บไซต์ของร้านค้าปลีกออนไลน์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)  ผู้ตอบแบบสอบถาม 57 % จัดอันดับธุรกิจประเภทนี้ให้เป็นธุรกิจที่พวกเขาชอบน้อยที่สุดสำหรับการช้อปปิ้งข้ามพรมแดน* จัดอันดับไว้ต่ำกว่าตลาดออนไลน์ที่ขายสินค้าหลากหลายยี่ห้อ เว็บไซต์ของแบรนด์หรือเว็บไซต์ของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกที่มีหน้าร้าน

ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการซื้อสินค้าโดยตรงจากร้านค้าปลีกออนไลน์ของ SME ปรากฏว่า 46% เกิดความลังเลจากความยุ่งยากในการตรวจสอบชื่อเสียงของผู้ขายหรือความน่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกเพียง 21% ที่อาศัยการซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้ **

การวิจัยแล้วเสร็จในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2014 ทำการสำรวจผู้ซื้อออนไลน์ทั่วโลกจำนวน 9006 คนใน 17 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

“ในบางประเด็นการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขาดความไว้วางใจเมื่อซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ของร้านค้าปลีกออนไลน์ SME จากตลาดภายนอกประเทศ” ดร.คาเรน เรดดิงตัน ประธานบริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าว “พวกเขาสับสนมากกว่าคู่ร่วมธุรกิจของพวกเขาในภูมิภาคอื่น ๆ เกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกที่พวกเขาอาจจะไม่คุ้นเคย หรือผู้ค้าปลีกที่อยู่ในตลาดที่ห่างไกลออกไป  อย่างไรก็ตาม การศึกษายังเผยให้เห็นโอกาสอีกมากสำหรับ SME ในพื้นที่ค้าปลีกออนไลน์และแสดงให้เห็นวิธีการที่พวกเขาเอาชนะความไว้วางใจที่เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักช้อปออนไลน์ในภูมิภาคนี้”

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์ร้านค้าปลีกออนไลน์ของ SME ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความอยากของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำหรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ในความเป็นจริงผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้จ่ายเฉลี่ยเกือบปีละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯในการซื้อสินค้าดังกล่าว เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี* ผู้บริโภคในตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจริงๆ แม้จะใช้จ่ายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสอบถาม 26% จากจีนแผ่นดินใหญ่รายงานว่าใช้จ่ายเงินมากกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี **

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นตลาดที่เกิดขึ้นใหม่ในการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนในปัจจุบัน คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซจะแตะหนึ่งล้านล้านบาทในปี ค.ศ. 2016 จากมูลค่าปัจจุบัน 7.44 แสนล้านบาท1โอกาสในการเติบโตของ SME ไทยมีนัยสำคัญ

เดฟ คาร์เด็น กรรมการผู้จัดการ บริษัทเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรสประเทศไทยและอินโดจีน กล่าวว่า “เมื่อเทียบกับตลาดที่อิ่มตัวมากในเอเชีย ภาคอีคอมเมิร์ซของไทยยังคงพัฒนาได้อีก อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าในอนาคตจะสดใสเมื่อรัฐบาลและผู้นำทางธุรกิจร่วมมือกันเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและเพิ่มการเข้าถึงตลาดและเร่งการเจริญเติบโตของอีคอมเมิร์ซ”

“เราตื่นเต้นแทนคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาทิ แฟชั่น เครื่องประดับ อุตสาหกรรมด้านงานศิลปะและงานฝีมือ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงโอกาสและการสนับสนุนมากขึ้นในการที่จะขายผลิตภัณฑ์ของตนในต่างประเทศ เช่น การนำตลาดนัดสวนจตุจักรสู่สายตาผู้บริโภคทั่วเอเชียและทั่วโลก”

จากการวิเคราะห์อย่างละเอียด แนวโน้มพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์เมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ การศึกษาได้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ 5 ประการ* สำหรับร้านค้าปลีกออนไลน์ SME ดังต่อไปนี้

1. ผู้ประกอบการ SME จะต้องใส่ใจกับการจราจรในเว็บระหว่างประเทศและธุรกิจจำนวนมาก พ่อค้าที่ทำการสำรวจพบว่าพวกเขาได้เริ่มต้นธุรกิจระหว่างประเทศโดยไม่ได้ตั้งใจผ่านลูกค้าต่างประเทศผ่านการค้นหาสินค้าในเว็บและการโฆษณาออนไลน์ การตรวจสอบการจราจรในเว็บนี้ช่วยให้ทราบกลยุทธ์ทางธุรกิจของ SME ในอนาคต
________________________

1หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับวันที่ 16 ธ.ค. 2014 อีคอมเมิร์ซมีมูลค่า 7.74 แสนล้านบาทและเติบโตได้อีก

http://www.bangkokpost.com/business/marketing/450098/e-commerce-worth-b7…

2. ผู้ประกอบการ SME ควรค้นหาวิธีที่พ่อค้ารายอื่นทำการตลาดสินค้าจนประสบผลสำเร็จ สำรวจว่าอะไรทำให้เว็บไซต์ SME อื่นๆ ประสบความสำเร็จรวมถึงดูข้อเสนอทางโลจิสติกส์และกระบวนการซื้อขายที่ได้ผล
3. ผู้ประกอบการ SME ควรตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจในวงกว้างหรือวงแคบ พยายามที่จะตอบสนองต่อตลาดจำนวนมากหรือมุ่งเน้นไปที่ตลาดที่สำคัญเพียงไม่กี่แห่ง กำหนดโอกาสโดยการขายสินค้าที่เป็นที่สนใจในวงกว้างและการพิจารณาโลจิสติกส์ที่ให้บริการตลาดบางส่วนที่ง่ายกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ผู้ประกอบการ SME ที่ตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลักจำนวนน้อยอาจตัดสินใจที่จะลงทุนในการให้บริการมากขึ้น เช่น การแปลเว็บไซต์เป็นภาษาต่างๆ การโฆษณาเว็บและการนำเสนอวิธีการชำระเงินที่กว้างขึ้น
4. ผู้ประกอบการ SME ควรเน้นพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่จำกัดในช่วงแรก ซึ่งช่วยให้พวกเขา ‘ทดสอบตลาด’ ที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ละประเทศจะมีความต้องการและความซับซ้อนเฉพาะตัว ความสามารถในการตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าในตลาดเริ่มต้นทำธุรกิจที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในขณะที่ SME ขยายการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ

5. ผู้ประกอบการ SME ควรระบุทรัพยากรที่ถูกต้อง กลยุทธ์ระหว่างประเทศและประเภทของธุรกิจจะเป็นตัวกำหนดสิ่งที่บริษัทต้องการจากทรัพยากรการขายและโลจิสติกส์โดยเน้นเป็นพิเศษในการให้บริการและข้อเสนอที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าในตลาดเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีบริการรับคืนสินค้าให้กับลูกค้าต้องการผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่สามารถจัดการกับการคืนสินค้าจากต่างประเทศได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

ดร เรดดิงตัน กล่าวว่า “การเข้าถึงตลาดต่างประเทศจะไม่สงวนเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่อีกต่อไป มีธุรกิจ SME จำนวนเพิ่มมากขึ้นทำการขายในต่างประเทศและการส่งเสริมอีคอมเมิร์ซเป็นวิธีที่จะสนับสนุนผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นแรงผลักดันของเศรษฐกิจมากมายในภูมิภาคนี้” ข้อมูลการวิจัยจะช่วยให้ผู้ให้บริการ เช่น เฟดเอ๊กซ์จะออกแบบการให้บริการของตนเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นกับสิ่งที่ลูกค้า SME ของเราต้องการ นอกจากนี้รัฐบาลประเทศต่างๆ ยังมีบทบาทในการสร้างความมั่นใจในการสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับอีคอมเมิร์ซให้เจริญเติบโต ในท้ายที่สุดจะยังประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการ SME ผู้บริโภคและเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย”

ดูบทความงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “คว้าโอกาสข้ามพรมแดน” การวิจัยที่ดำเนินการโดย Forrester Consulting ในนามของเฟดเอ็กซ์ ได้ที่ www.fedex/com/commerce

* “คว้าโอกาสข้ามพรมแดน” ดำเนินการโดย Forrester Consulting ในนามของเฟดเอ็กซ์เมื่อเดือนธันวาคม 2014*

** การสำรวจที่ดำเนินการโดย Forrester Consulting ในนามของเฟดเอ็กซ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2014

เกี่ยวกับการศึกษาวิจัย
ในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2014 Forrester Consulting ได้ดำเนินการสำรวจออนไลน์ ผู้บริโภคออนไลน์ทั่วโลกจำนวน 9006 คนและการสัมภาษณ์ 34 รายจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการดำเนินการ  อีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศในออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน โคลัมเบีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก เปอร์โตริโก สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เพื่อประเมินทัศนคติและประสบการณ์ที่มีต่อกับการช้อปปิ้งข้ามพรมแดนและการปฏิบัติตามคำสั่งซื้อรวมถึงความท้าทายและความกังวลที่ทั้งสองกลุ่มเผชิญในการขยายการธุรกิจนี้ ผู้บริโภคที่เป็นผู้เข้าร่วมในการสำรวจประกอบด้วยผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีการสั่งซื้อสินค้าทางกายภาพ โดยให้จัดส่งถึงตัวเองหรือส่งไปยังผู้รับรายอื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ให้สัมภาษณ์จากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถูกถามเกี่ยวกับปัจจัยที่นำไปสู่การตัดสินใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ ประสบการณ์และความท้าทายกับการปฏิบัติตามคำสั่งซื้อและปัจจัยที่อาจจะช่วยให้พวกเขาขยายการดำเนินธุรกิจเช่นนี้ การวิจัยเกิดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคมและกันยายนปี ค.ศ. 2014

เกี่ยวกับเฟดเอ็กซ์คอร์ป
เฟดเอ็กซ์คอร์ป (มีชื่อเรียกในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่าFDX)เป็นผู้ให้บริการขนส่งอี-คอมเมิร์ซและบริการเสริมอื่นๆให้แก่ลูกค้าและธุรกิจต่างๆทั่วโลกโดยมีรายได้ปีละ 37,000 ล้านเหรียญสหรัฐเฟดเอ็กซ์ให้บริการโซลูชั่นธุรกิจครบวงจรผ่านเครือข่ายบริษัทในเครือที่มีการบริหารงานและแข่งขันในตลาดภายใต้แบรนด์เฟดเอ็กซ์อย่างเป็นเอกภาพเฟดเอ็กซ์ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้จ้างงานที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่ชื่นชอบสูงสุดของโลกโดยได้รับการยอมรับจากพนักงานและผู้รับเหมามากกว่า285,000 รายให้เป็นผู้ให้บริการขนส่งที่ยึดถือและปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยหลักจริยธรรมและความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพอย่างเคร่งครัดตอบสนองความต้องการของลูกค้าและชุมชนต่างๆทั่วโลกได้อย่างครบถ้วน ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ news.fedex.com