เปิดตัว LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) ครีเอทีฟ เอเจนซี่เพื่อพัฒนาสังคมรายใหม่ มุ่งแก้ไขปัญหาการพัฒนาสังคมที่ท้าท้ายที่สุดในเอเชีย

LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) ครีเอทีฟ เอเจนซี่รายใหม่ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ประกาศถึงการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ จากการร่วมก่อตั้งโดยเหล่าหัวกะทิที่คว้ารางวัลจากแคมเปญต่อต้านการค้ามนุษย์ของMTV EXIT มาแล้ว LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยการสนับสนุนจากหนึ่งใน ครีเอทีฟ เอเจนซี่ระดับแนวหน้าของโลกอย่าง M&C Saatchiผ่านทางแผนก World Services ของเอเจนซี่

มาร์คัส เพฟเฟอร์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร World Services กล่าว “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับทีมงานของ LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) ในกรุงเทพฯ ผ่านการใช้ประโยขน์จากทรัพยากรระดับโลกของบริษัทฯ  ในเข้าถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม เรามีความเชื่อมั่นใน LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) ถึงจุดยืนที่แข็งแกร่งในการเป็นผู้นำที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมในภูมิภาคนี้ ด้วยความสามารถในการเข้าถึงพร้อมโน้มน้าวในเชิงบวกต่อผู้คนผ่านแพลตฟอร์มหลากหลายประเภท”

การเปิดตัว LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) ในเอเชียนับเป็นความก้าวย่างที่สำคัญในแวดวงครีเอทีฟ เอเจนซี่ LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) จะตอบสนองต่อปัญหาทางสังคมที่มีความท้าทายและการพัฒนาสังคมที่มีผลกระทบต่อประชากรทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านการนำเสนอด้วยดีไซน์และโปรดักชั่นของกลยุทธ์การสื่อสารที่ล้ำสมัย อันจะปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในเชิงบวก

แมตต์ เลิฟ และ รีเบคก้า แฟรงกี้ ม็อก เป็นหัวกะทิระดับแนวหน้าที่โด่งดังจากแคมเปญของ MTV EXIT ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในการช่วยส่งต่อความรู้ถึงปัญหาทาสในยุคสมัยใหม่สู่ผู้คนนับล้านทั่วโลก ผลงานของพวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีความครอบคลุมมากที่สุดในการมีส่วนร่วมด้านปัญหาการค้ามนุษย์ทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วย รายการสด โปรแกรมทีวี สารสนเทศที่มีรูปแบบดิจิทัล และโปรแกรมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่เยาวชน

แมตต์ เลิฟ กล่าว “วิสัยทัศน์ของเราคือการสนับสนุนในระดับทวิภาคี พหุภาคี มูลนิธิและ บริษัทต่างๆ ในการออกแบบและดำเนินการสื่อสารที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจและไม่ซ้ำแบบใครและการใช้สื่อเพื่อเข้าถึงผู้คนพร้อมสร้างกระแสที่ได้รับการตอบรับจากผู้คนในเชิงบวก”  แมตต์ เลิฟยังได้กล่าวเสริมอีกว่า “เป้าหมายของเราคือการให้ความรู้  ให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมผ่านแพลตฟอร์มทางการสื่อสารที่มีความหลากหลาย ซึ่งจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจริงที่ส่งผลดีต่อสังคมในที่สุด”

รีเบคก้า แฟรงกี้ ม็อก กล่าว “เรามุ่งใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีและสื่อต่างๆอย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมที่คล่องตัวฉับไวและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้คนต่อปัญหาต่างๆของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งลูกค้าของเราจะได้รับประโยชน์จากประวัติความร่วมมือของพันธมิตรที่ประสบผลสำเร็จมาแล้วจากทั่วทั้งภูมิภาค ด้วยเครือข่ายที่มีความครอบคลุมของเรา เราจะช่วยหาโอกาสในการสร้างพันธมิตรเพื่อลูกค้าของเราอันจะนำไปสู่การยกระดับและการขยายโปรแกรมหรือวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของตัวลูกค้า เพื่อความมั่นใจถึงขีดความสามารถในการเข้าถึงเป้าหมาย ความเป็นรูปธรรมและก่อให้เกิดผลลัพธ์มากที่สุด”

ทุกๆ ความคิดริเริ่มของ LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) มุ่งเน้นไปยังแนวทางที่มีหลักฐานพิสูจน์และก่อให้เกิดผลตอบรับ ทั้งนี้บริษัทฯจะใช้แนววิธีการเปลี่ยนแปลงสังคมและพฤติกรรมที่เปี่ยมประสิทธิภาพและวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในกระบวนการพัฒพัฒนาและสร้างกลยุทธ์  วิธีการวิเคราะห์ดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้ซึ่งจะเป็นจุดเด่นของ LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) ที่มีเหนือเอเจนซี่อื่นๆในภูมิภาคนี้

งานของ LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปยังการช่วยเหลือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว รีเบคก้า แฟรงกี้ ม็อก กล่าว “เราก็ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาคเอกชนอีกด้วย” และยังได้กล่าวเสริมต่อไปอีกว่า “การลงทุนเพื่อสร้างความเปลี่ยนต่อสังคมได้มีการพัฒนาไปอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราหวังว่าเราจะได้ช่วยเหลือบริษัทต่างๆในการสร้างโปรแกรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความหมายและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งไม่เพียงเพิ่มคุณค่าแก่แบรนด์และภาพลักษณ์ที่เด่นชัดแต่ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างแท้จริงอีกด้วย”

LOVE FRANKIE (เลิฟ แฟรงกี้) และ M&C Saatchi World Services ทำงานร่วมกับลูกค้าที่มีความหลากหลายจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development-USAID), กระทรวงการต่างประเทศและการค้า ของประเทศออสเตรเลีย (DFAT), Freedom Fund, องค์การยูนิเซฟ, มูลนิธิฟรีแลนด์, องค์การแอ็คชั่นเอด, ธนาคารโลก (World Bank), กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา(US Department of State), สหภาพแอฟริกา (African Union), สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร(DFID), UK Foreign and Communication Office (FCO) และ มูลนิธิไนกี้ (Nike Foundation)