เอเชียกับภูมิทัศน์การค้าที่กำลังเปลี่ยนแปลง

โดย เดวิด แอล คันนิ่งแฮม จูเนียร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และประธานบริษัทเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แต่นั่นเป็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว การปฏิวัติการค้าในเอเชียอยู่กำลังในช่วงวอร์มอัพ

ผมมาเอเชียครั้งแรกเมื่อ 20 ปีก่อน ในยุคที่เฟดเอ็กซ์ถูกขับเคลื่อนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศในขณะนั้นเป็นเรื่องของเสือเศรษฐกิจเอเชีย อันได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์และเกาหลีใต้

ในตอนนั้น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ผลิตออกมาจำนวนมากได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่อุปกรณ์สื่อสารส่วนบุคคล หรือที่เรียกว่า “โทรศัพท์เคลื่อนที่” เพิ่งจะเริ่มตั้งไข่ เนื่องจากขนาดและน้ำหนักที่ไม่อำนวย กอปรกับห่วงโซ่อุปทานก็เริ่มที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ  

ย้อนกลับไปในช่วงนั้น มีแต่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เท่านั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการเติบโตของการส่งออกและการค้าที่ขยายตัวออกไปนอกทวีปเอเชีย และเฟดเอ็กซ์เองก็ถือได้ว่าเป็นหัวหอกที่อยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรม โดยการให้ความช่วยเหลือในการขนส่งสินค้าที่เป็นการปฏิวัติวงการไปยังตลาดต่างๆ

หันกลับมามองที่ปี 2015 มีบางอย่างที่ไม่ได้เปลี่ยนไปเลย ประเภทของสินค้าที่เราส่งในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจมหภาคที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเรา ซึ่งก็เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา

เรายังคงวิ่งนำหน้าบนกระแสแนวโน้มที่ใหญ่ที่สุดในโลก นั่นคือ กระแสการปฏิวัติดิจิทัล โลกาภิวัตน์ทางการค้า และการพัฒนาของอินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ โดยที่เรายังคงขนส่งสินค้าประเภทเทคโนโลยีในปริมาณที่สูงเช่นเคย

ตามประมาณการอุตสาหกรรม ประมาณ 18-25% ของธุรกิจการขนส่งทางอากาศทั้งหมดประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าตอนนี้จะให้ความสำคัญต่อการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ใหม่ๆ ก็ตาม

แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปแล้วมันยังมีอะไรที่มากกว่านั้น สินค้าที่เราขนส่งโดยเครื่องบินของเรามีความหลากหลายพอๆ กับตลาดที่เราให้บริการอยู่ ซึ่งประกอบด้วยสินค้าหรูหราจำนวนมากมายมหาศาล อีคอมเมิร์ซ หรือไม่ก็สินค้าสำหรับอากาศยาน ยิ่งไปกว่านั้น ตอนนี้มีการขนส่งสินค้าสำหรับการดูแลสุขภาพและเวชภัณฑ์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมถึงตัวอย่างการทดลองทางคลินิก อุปกรณ์เทคโนโลยีชีวภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาคือการเกิดขึ้นของผู้เล่นหน้าใหม่ ธุรกิจขนาดเล็กขณะนี้มีอิทธิพลมากขึ้นทั่วโลก และพลังของปัจเจกบุคคลมีการเติบโตขึ้น แม้แต่ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าไฮเทคก็ไม่ได้มีบริษัทขนาดใหญ่เป็นเจ้าครองตลาดอีกต่อไป เพราะมีบริษัทที่มีขนาดเล็กกว่าจำนวนมากที่ต่างก็เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงยิ่งชัดเจนมากขึ้นเมื่อมาพิจารณาวิธีการขนส่งของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะว่าเราขนส่งทางอากาศ ทางบกและทางทะเล เราได้เห็นแนวโน้มของโลกที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของเรา สิ่งที่เราเห็นอยู่ตอนนี้คือการเปลี่ยนโหมดการขนส่งและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมของเรา ที่ซึ่งการขนส่งด่วนทางอากาศและการขนส่งสินค้าทางอากาศดำเนินการโดยผู้เล่นรายเดียว

ขณะเดียวกันผู้ส่งสินค้าก็ให้ความสำคัญมากขึ้นกับการขนส่งทางทะเล เนื่องจากการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมากมักจะใช้บริการการขนส่งทางทะเล ขณะที่เครือข่ายขนส่งด่วนที่ทุ่มเทจะรับหน้าที่ขนส่งสินค้าที่เบากว่าและด่วนกว่า

ศูนย์กลางแรงดึงดูดทางเศรษฐกิจก็กำลังเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยในภูมิภาคเอเชีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและจีน ต่างก็เป็นผู้นำ เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รายงานของธนาคารโลกระบุว่าเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกยังคงรักษาตำแหน่งเครื่องจักรขับเคลื่อนการเติบโตของโลกในปี 2013 คิดเป็น 40% ของการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจโลก ด้วยการค้าในภูมิภาคที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงเป็นการง่ายที่จะมองเห็นว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังกลายเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ

การเปลี่ยนแปลงบางอย่างในภูมิทัศน์การค้าในภูมิภาคเอเชียเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศจีนได้กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกไปแล้ว ทุกวันนี้ จีน กลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ และเป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งในบริบทการค้าโลก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเวทีการค้าโลกนี้คือ ปฏิกิริยาร่วมและการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างประเทศต่างๆ ทุกประเทศ ไม่ได้มีแต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ การผลิตในวันนี้ต้องมีห่วงโซ่อุปทานที่มีความซับซ้อนมาก ที่ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญนับร้อยๆ แพร่กระจัดกระจายอยู่กับซัพพลายเออร์ ซึ่งไม่ได้อยู่แต่ในประเทศในเอเชียเท่านั้น แต่กระจัดกระจายอยู่ตามทวีปต่างๆ ด้วยซ้ำ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือสมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในตอนนี้ ซึ่งมันอาจจะถูกออกแบบที่แคลิฟอร์เนีย โดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไต้หวัน ประกอบที่จีน ขนส่งผ่านสิงคโปร์ โหลดแอปพลิเคชันที่เกาหลี แล้วไปวางขายที่อินโดนีเซีย เป็นต้น

แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือคำถามที่ว่าอีก 5-10 ปีนับจากนี้ไปเราจะอยู่ตรงไหน จากที่ว่าเอเชียเพิ่งจะเริ่มเข้าเกียร์เดินหน้า แล้วประเทศไหนจะแจ้งเกิดเป็น “เสือแห่งอนาคต” ในเวทีการค้าของเอเชีย

นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากทำให้การค้าโลกเปลี่ยนเป็นการค้าอัจฉริยะ ในยุคปัจจุบัน ผู้ชนะคือผู้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ได้ดีที่สุดและเร็วที่สุด นั่นคือโลกที่มีการผสมผสานระหว่างประสิทธิภาพและนวัตกรรม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่มีความซับซ้อนสูงสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นั่นคือเหตุผลที่ผมทุ่มเงินลงไปที่ “เสือ” ไม่ว่าจะเป็นประเทศหรือธุรกิจที่มีความคล่องตัวมากที่สุดในการสร้างเงินทุนบนภูมิทัศน์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เหล่านี้ยังมาไม่ถึง