จากสินค้า ที่เคยใช้หัน“ฟังก์ชั่นแนล” ขายคุณสมบัติของสินค้ามาตลอด วันนี้ “คนอร์ “เปลี่ยนมาใช้“อีโมชันแนล”มาเป็นตัวขับเคลื่อนแบรนด์ ผ่านโฆษณาที่มีชื่อว่า “เมื่อปิ่นโตออกเดินทาง” มากระตุกต่อมน้ำตาคนไทยไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน และได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ชมด้วยยอดวิวในยูทิวบ์มากกว่า 3,000,000 ครั้ง ภายใน 2 สัปดาห์ ตามมาด้วยสติ๊กเกอร์ไลน์ ชุด “ป้าอ้วน และลุงอิ่ม” ลุยผ่านช่องทางโมบาย
คนอร์ หยิบเอาเรื่องจริงของคู่แม่ลูก 3 คู่ ที่ต้องอยู่ไกลกันมาถ่ายทอดเรื่องราวความรักและความผูกพันผ่าน ปิ่นโตกับข้าวของแม่ ที่เป็นตัวสื่อถึงความห่วงใยและความคิดถึง เพราะพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ ต้องออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ทานข้าวที่บ้านน้อยลง ทำให้หลายคนอาจจะลืมกับข้าวฝีมือแม่ หรือบางคนคิดถึงแต่ต้องทนกินกับข้าวที่ไม่ถูกปาก เพราะอยู่ห่างไกลครอบครัว
ในขณะที่แม่ยังคงเป็นห่วง และอยากทำกับข้าวให้ลูกกินตลอดเวลา แต่บางครั้งแม่ก็ไม่สามารถทำกับข้าวให้ลูกตลอดได้ แม่จึงอยากสอนให้ลูกทำกับข้าวเป็น เผื่อวันนึงที่แม่ไม่ได้ทำให้ ลูกจะได้ทำได้
นอกจากเนื้อหา ไม่ได้มุ่งเน้นโฆษณาสินค้ามากไป ตามสไตล์ของโฆษณาเน้นการดึงอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นตัวเดินเรื่อง จึงทำโฆษณาชุดนี้สามารถสร้างการรับรู้ แบรนด์ “คนอร์” ที่ผู้บริโภคอาจเคยชิน หรือลืมๆไปแล้ว ให้กลับมาอยู่ในสายตาผู้บริโภคได้อีกครั้งแล้ว ยังทำให้ “คนอร์”สื่อสารกับผู้บริโภคผ่าน “สูตรเมนูอาหาร” ชนิดต่างๆ ที่ถือเป็น คีย์แมสเสจหลักที่จะคนอร์ เคยใช้ในการสร้างกิจกรรม ออกอีเว้นท์ ให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ร่วมในโลกออฟไลน์ ขยับมาสู่โลกออนไลน์ โดยเริ่มจากหนังโฆษณาเพื่อกระตุกความสนใจเข้าถึงกลุ่มคนทั่วไป ผ่านโฆษณาซึ้งๆ ที่มีตัวละคร แม่ลูก 3 คู่ ทำหน
จากนั้นส่งต่อไปที่ “สติ๊กเกอร์ไลน์” เครื่องมือการตลาดออนไลน์ ที่ยังคงสื่อสารกับกลุ่มแมสได้อย่างดี โดยมีสูตรเมนูอาหารชนิดต่างๆ มาเป็น “คอนเท้นท์” สำคัญในการดึงดูดให้ผู้บริโภค สามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มเดิม และคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการปรุงอาหารด้วยตัวเองจะมี “คนอร์” เป็นทางเลือก หรือ อย่างน้อยๆ เมื่อโหลดสติ๊กเกอร์มาแล้วก็ไม่บล็อกไลน์ เมื่อคนอร์มีคอนเท้นท์ที่เขาต้องการ แน่นอนว่าสูตรอาหารเหล่านี้ย่อมต้องมี “คนอร์” เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มรสชาติ และนั่นหมายถึงยอดขาย ที่เป้าหมายหลักของแบรนด์