Trends from Trains: จับเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯด้วยรถไฟฟ้า

Traffic
 
คนกรุงเทพฯเกือบทุกคนคงเคยชินกับสภาพรถติด ตอกย้ำด้วยด้วย 5 ข้อมูลนี้
 
1. คนกรุงใช้เวลาเดินทางไปกลับ วันละเฉลี่ย เกือบ 2 ชั่วโมง 
2. เทียบเป็นเวลาหนึ่งปี คนกรุงเทพฯต้องอยู่ในรถเป็นเวลามากกว่า 800 ชั่วโมง! 
3. นโยบายรถคันแรกทำให้ มีรถป้ายแดงเพิ่มขึ้นถึง  1 ล้านคัน เป็นเกือบ 7 ล้านคัน บนถนน ขณะที่ กรุงเทพสามารถรองรับรถได้เพียง 1.6 ล้านคันเท่านั้น
4. World mapper ยกให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศที่ใช้เวลาเดินทางสูงที่สุดในโลก 
5. World mapper ยกให้เป็นอันดับ 8 ของเมืองที่รถติดที่สุดอันดับโลก
 

 
จะเห็นว่า คนกรุงเทพเสียเวลาอย่างมากไปกับรถติด แทนที่จะนำเวลาเหล่านั้นไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่มีประโยชน์ 
 
การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าดูจะเป็นทางออกที่ทำให้มีเวลามากขึ้น เพราะปัจจุบัน BTS ขยายเส้นทางครอบคลุมไปถึงย่านฝั่งธนบุรีและกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก จรดสมุทรปราการ ขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 1,000 คนต่อขบวน ช่วยให้ผู้โดยสารจากชานเมืองสามารถเดินทางเข้ามายังใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกำหนดเวลาเดินทางได้อย่างแม่นยำ มีความเร็ว ปลอดภัยสูง
 
Tolerance
 
ย้ายเพื่อโอกาสในการใช้ชีวิต
 
จากที่พูดมา เริ่มมีคนจำนวนมาก ทนไม่ได้กับ การที่ต้องเสียเวลากว่า 800 ชั่วโมงบนท้องถนน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้ลงหลักปักฐาน หรือเพิ่งเริ่มสร้างครอบครัว ที่ยังมีสิทธิ์เลือกทำเลสำหรับการใช้ชีวิต ยอมที่จะมองหาความสะดวกสบาย โดย ย้ายมาใกล้รถไฟฟ้ามากขึ้น เห็นได้ โดยคอนโดติดรถไฟฟ้าของทุก developer  ขายหมดอย่างรวดเร็ว และ ไม่หยุดเป็นที่ต้องการ  ไม่เฉพาะในตัวเมือง แต่ ตามรถไฟฟ้าเส้นใหม่ที่กำลังจะเปิดตัวหรือมีแผนด้วยเช่นกัน 
 
ถามว่าทำไมถึงต้องใช้ชีวิตติดเส้นรถไฟฟ้า
 
นอกจากสะดวกสบายกับการเดินทางแล้ว ยังมีงานวิจัยออกมา ว่า 
 
– คนที่เดินทางด้วยระบบขนส่งมีสุขภาพจิตดีขึ้น เนื่องจากไม่ต้องหงุดหงิดกับการจราจรติดขัด ปลอดภัยกว่า หากไม่ได้เดินทางโดยรถยนต์ 
– ได้เงินเหลือจากการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซที่ใช้ในรถยนต์
– ได้เวลากลับคืนมา สามารถเอาเวลาไปทำกิจกรรมอื่นหรืออยู่ร่วมกับครอบครัว
– ได้ช่วยลดมลพิษทางอากาศและทางเสียง 
– อีกสิ่งที่ไม่ทำให้เป็นกังวล คือ ค่าบำรุงรักษา สำหรับรถที่เสื่อมลงทุกปี หรือค่าผ่อนรถที่หากนำมารวมแล้ว สามารถซื้อคอนโดติดรถไฟฟ้าที่ราคาสูงขึ้นมาได้อีกด้วย 
 
TERMS
 
นับตั้งแต่มี BTS และ MRT ก็ทำให้เกิดการจำกัดนิยามของแต่ละย่านชัดเจนมากขึ้น
 
“ทำเลนักธุรกิจ” สีลม-สาทรที่ตั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ของธุรกิจการเงิน การธนาคารและธุรกิจข้ามชาติ หนาแน่นไปด้วยโครงการที่อยู่อาศัยระดับหรูและอาคารสำนักงานเกรด A
 
“ทำเลมรดก” พหลโยธิน : ที่พักของกลุ่มข้าราชการทหารนักการเมือง กลุ่มเจ้าขุนมูลนายเก่า รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของสถานที่ราชการสำคัญๆ กรมทหาร ททบ.5 และกระทรวงการคลัง คอนโดส่วนใหญ่อยู่ในซอยย่อยอารีย์ ราชครู สีลม
 
“ทำเลธุรกิจใหม่” รัชดาภิเษก : ที่ตั้งสถานฑูตจีน สถานบันเทิง และอาคารสำนักงาน เป็นทำเลเกิดใหม่ของคอนโดมิเนียมแบบ city และ luxury condo เป็นผลมาจากรถไฟฟ้า MRT, เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 9 และตลาดหลักทรัทย์ใหม่ 
 
“ทำเลเศรษฐี” สุขุมวิท : ย่านศูนย์การค้า มีความหลากหลายในรูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งศูนย์การค้าระดับซุปเปอร์ลักซ์ชัวรี่ โรงแรมห้าดาว ร้านอาหาร คอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยว
 
สำหรับ ย่านสุขุมวิท หากเจาะลึกลงไป จะเห็นว่าช่วง 2-3 ปีมานี้ มีความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า โรงแรม คอนโดมิเนียม จนไปถึงร้านรวงแนวบูทีค (boutique shops) co-working space โดยเฉพาะโซนทองหล่อ-เอกมัย-พระโขนง ที่หากเทียบกับต่างประเทศแล้ว ก็อาจพอเรียกได้ว่าเป็น “Bangkok’s SoHo” หรือ “โซโห” ย่อยๆ แห่งกรุงเทพฯ ซึ่งสำหรับคนที่เคยใช้ชีวิตในต่างประเทศหรือเดินทางบ่อยๆ อาจจะพอนึกภาพออกว่าย่านโซโหของเมืองนอกอย่างแมนฮัตตันของนิวยอร์กหรือเวสต์ เอนด์ของลอนดอนนั้นต่างโดดเด่นเรื่องแหล่งธุรกิจบันเทิง แฟชั่น ศิลปะและวัฒนธรรม สำหรับทองหล่อ-เอกมัย-พระโขนงเอง แม้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจะไม่หวือหวาเท่าสองเมืองใหญ่ฝั่งตะวันตก แต่อีกสิ่งที่เหมือนกันคือ เป็นย่านทางเลือกที่เปิดโอกาสให้กับคนหลากหลายเชื้อชาติทั้งการใช้ชีวิตและการเริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่คาเฟ่เล็กๆ art gallery ไปจนถึง SME ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นอีกสัญลักษณ์ซึ่งชี้ให้เห็นการขยายตัวของกรุงเทพฯ ที่เริ่มส่งต่อคาแรคเตอร์ความเป็นเมืองใหญ่ไปยังพื้นที่อื่นๆมากขึ้น