สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ได้เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อิเทอร์เน็ตในปี 2558
วิธีการสำรวจเป็นการสำรวจทางอินเทอร์เน็ต โดยได้นำแบบสำรวจดังกล่าวไปวาง (ติดแบนเนอร์) ในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้ความอนุเคราะห์ รวมทั้งการกระจายแบบสำรวจผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊กเพื่อให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
โดยมีผู้ให้เข้ามาตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 10,434 คน แบ่งเป็น เพศหญิง 55.8% เพศชาย 42.4% และเพศที่สาม 1.8% ได้จำแนกกลุ่มตัวอย่างตาม 4 เจนเนอเรชั่นด้วยกัน ได้แก่ Gen X 26.2%, Gen Y 64.4%, Gen Z 2.9% และ Baby Boomer 6.5%
ผลการสำรวจ พบว่า ผู้หญิงและผู้ชาย มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 50.4 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วน เพศที่สาม มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดคือ 58.3 ชั่วโมง/สัปดาห์ และกลุ่ม Gen Y มีการใช้อินเทอร์เน็ต 54.2 ชั่วโมง/สัปดาห์
สมาร์ทโฟนยังคงเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 81.8% โดยมีจำนวนชั่วโมงการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 5.7 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาเป็น 54.5% ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีการใช้งานเฉลี่ย 5.4 ชั่วโมง/วัน 45% ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์พกพาหรือโน้ตบุ๊ก มีการใช้งานเฉลี่ย 5 ชั่วโมง/วัน และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลุ่ม Gen X, Gen Y และ Gen Z ใช้สมาร์ทโฟนในการท่องเน็ตเป็นอันดับที่ 1 ในขณะที่กลุ่ม Baby Boomer ยังคงนิยมใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเชื่อมต่อเน็ตเป็น อันดับที่ 1
โดยที่ในยุคนี้พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตจะแตกต่างต่างกันระหว่างใช้บนมือถือ หรือสมาร์ทโฟน กับใช้งานบนคอมพิวเตอร์
ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน |
ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ |
82.7% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก |
62.2% สืบค้นหาข้อมูล |
56.6% สืบค้นหาข้อมูล |
53.7% รับ-ส่งอีเมล |
52.2% ใช้ติดตามข่าวสาร |
45.3% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก |
ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต
แต่อย่างไรก็ดีก็ยังพบปัญหาในการไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ จากผลสำรวจพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความล่าช้าของอินเทอร์เน็ต
– 72% ความล่าช้าของการเชื่อมต่อ
– 41.6% การถูกรบกวนจากโฆษณาออนไลน์
– 33.8% ความยากในการเชื่อมต่อ หรือสัญญาณหลุดบ่อย
สถานที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ต
บ้าน/ที่พักอาศัย และสถานที่ทำงาน ยังคงเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้งานอินเทอร์เน็ตบ่อยที่สุดเป็น อันดับที่ 1 และ 2 คิดเป็น 88.8% และ 43.2% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการใช้อินเทอร์เน็ตตามสถานที่ต่างๆ เทียบกับเพศของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ทุกเพศมีทิศทางการใช้งานโดยส่วนใหญ่ใน อันดับที่ 1 และ 2 สอดคล้องกับภาพรวม
นอกจากนี้ยังพบประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ คือ เพศที่สามจะใช้อินเทอร์เน็ตในออฟฟิศน้อยที่สุด (38.4%) เมื่อเทียบกับเพศชาย (57.7%) และเพศหญิง (52.4%) แต่เพศที่สาม (34.2%) จะใช้งานอินเทอร์เน็ตในระหว่างการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เช่น บนรถไฟฟ้า บนรถยนต์ส่วนตัว บนรถบริการสาธารณะ เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าเพศชาย (26.1%) และเพศหญิง (28.5%) รวมทั้งการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามที่สาธารณะต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม เป็นต้น เพศที่สาม (22.6%) ก็ท่องเน็ต คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าเพศชาย (13.6%) และเพศหญิง (11.7%) ด้วยเช่นกัน
ช่วงเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ
ช่วงเวลาที่มีการใช้สมาร์ตโฟนท่องเน็ตกันมากที่สุดคือช่วงหลังเลือกงาน ตั้งแต่ 4 โมงเย็น ไปจนถึง 2 ทุ่ม รองลงมาเป็นช่วง 2 ทุ่มไปจนถึงเที่ยงคืน ส่วนช่วงเวลาที่คนใช้สมาร์ทโฟนท่องเน็ตน้อยที่สุดคือ ช่วงตี 4 ไปจนถึง 8 โมงเช้า
อันดับ 1 52.0% ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น.
อันดับ 2 52.0% ช่วงเวลา 20.01 – 24.00 น.
อันดับ 3 44.5% ช่วงเวลา 12.01 – 16.00 น.
อันดับ 4 42.4% ช่วงเวลา 08.01 – 12.00 น.
อันดับ 5 8.8% ช่วงเวลา 00.01 – 04.00 น.
อันดับ 6 7.9% ช่วงเวลา 04.01 – 08.00 น.
โซเชียลเน็ตเวิร์กยอดนิยม
เฟซบุ๊กยังสามารถครองแชมป์โซเชียลเน็ตเวิร์กที่คนไทยนิยมใช้มากทุ่สดอันดับหนึ่ง ในขณะที่ไลน์ กลับกลายว่าเป็นกลุ่ม Baby boomer ใช้งานมากที่สุด สังเกตได้จากพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่มักส่งรูปภาพดอกไม้อรุณสวัสดิ์มาให้เป็นประจำทุกเช้า!