ไทยเบฟฯ เปิดแลนด์สเคป บุกธุรกิจ Non Alcohol

นอกจากจะใช้โอกาส ของการจัดงาน “ไทยเบฟเอ็กซ์โป 2015”  โชว์ และให้ช้อปสินค้า ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ที่ผู้บริหารนำทัพโดย ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มไทยเบฟฯ พร้อมทีมผู้บริหารจาก 3 กลุ่มธุรกิจ  ใช้โอกาสนี้แถลงถึงยุทธศาสตร์ และทิศทางธุรกิจของไทยเบฟฯ ยังคงเดินไปตามวิชั่น 2020 ผ่านกลยุทธ์ 5 เสาหลัก 

 

ทิศทางต่อไป ธุรกิจเบียร์ และสุรา จะต้องเพิ่มโอกาสในบุกขยายตลาดไปต่างประเทศ  ในขณะที่เบียร์ ลดความหลากหลายของชนิดสินค้าลงให้เหลือ ช้างคลาสสิคเป็นหัวหอกหลัก ในการขยายตลาดทั้งใน และต่างประเทศ

ในส่วนของสุรา มุ่งไปที่การเพิ่มหลากหลาย โดยเฉพาะในตลาดพรีเมียมอีก 2 แรนด์ ราคาตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ราคา 70,000-80,000 บาท จะนำเข้ามาจากโรงงานผลิตในประเทศสก็อตแลนด์  เพื่อให้มีสินค้าครอบคลุมตั้งแต่ระดับล่าง กลาง และบนสุด

เพื่อให้รองรับกับการการขยายสินค้า จึงต้องจัดทัพใหม่ ด้วยการจัดตั้งบริษัทใหม่ 2 แห่ง คือ โฮเรเก้า แมเนจเม้นท์ เพื่อขยายช่องทางโรงแรม และร้านอาหาร ระดับหรู  และบริษัท แคช แวน แมเนจเม้นท์ เป็นทีมเจาะร้านโชวห่วย  โดยก่อนหน้านี้ได้จัดตั้ง บริษัท โมเดิร์นเทด แมเนจเมนท์ เพื่อขยายตลาดโมเดิร์นเทรด

ส่งผลให้ไทยเบฟฯ มีการกระจายสินค้าผ่าน 5 ช่องทางหลัก 1 ผ่านเอเยนต์ 400 รายทั่วประเทศ 2. ผ่านรถแคชแวน 1,100  ทีม ครอบลุมร้านโชวห่วย 270,000 ร้าน  3.ผ่านโฮเลก้า 4. โมเดิร์นเทรด และ5 เสริมสุข  เชี่ยวชาญช่องทางร้านอาหาร

ทั้ง 5 ช่องทางจำหน่าย จะรองรับสินค้าทั้ง สุรา เบียร์  รวมทั้งเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ที่เพิ่มสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสใหม่ในตลาดเครื่องดื่ม ภายใต้กลยุทธ “ไดเวอร์สซิตี้”  จะมีสินค้าเอฟแอนด์เอ็นเข้ามาทำตลาด เช่น  นมแมกโนเลีย นมข้นทีพอต 100 พลัส

ขณะเดียวกัน จะนำเครื่องดื่มปรากศจากแอลกอฮอล เช่น ชาเชียวโออิชิ  น้ำอัดลมเอส บุกออกไปทำตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน

มารุต บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยดริงค์ จำกัด และ บริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด บอกว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาการแข่งขันสูงในตลาดสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นตลาดชาเขียว และน้ำอัดลม มีการออกโปรโมชั่นต่างๆ มากมาย แต่ไทยเบฟฯ ก็ผ่านมาได้

สำหรับตลาดชาพร้อมดื่ม หรือชาเขียว การเติบโตของตลาดจะลดลง ซึ่งเป็นความตั้งใจของ โออิชิ ที่ต้องการให้ตลาดชาเขียวโตไปแบบมั่นคง ไปตามธรรมชาติ และกระแสของเครื่องดื่มสุขภาพ  ไม่ใช่โตด้วยแรง “โปรโมชั่น” เหมือนที่แล้วมา โดยโออิชิจะลดความถี่ในการทำโปรโมชั่น ไม่ทำ “พร่ำเพรื่อ” ตลอดทั้งปีเ อาจจะเหลือปีละครั้งกระตุ้นยอดขายปีละครั้ง

“คู่แข่งเขาจะจัดโปรโมชั่นก็ทำไป เพราะพอหมดโปรโมชั่นยอดขายเขาตกฮวบ เพราะเขาใช้โปรโมชั่นเป็นหลัก  แต่ของเราจะหันไปสร้างแบรนด์ เพราะยั่งยืนกว่า”

ส่วน “จับใจ” ชาเขียวผสมจับเลี้ยง เปิดตัวมาตั้งแต่มีนาคม ผ่านไป 5 เดือน ทำส่วนแบ่งตลาดได้ 10% ในขณะที่คู่แช่งส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือ 17%

100 พลัส แบรนด์ของเอฟแอนด์เอ็น นำเข้ามาทำตลาดในไทย เพื่อขยายกระตุ้นเครื่องดื่มอัดลม ด้วยการขยายพอร์ตเครื่องดื่ม “น้ำอัดลมผสมเกลือแร่” โดยใช้กลยุทธ์แจกสินค้าให้ชิม 10 ล้านตัวอย่าง เวลานี้ได้ส่วนแบ่งตลาด 1% ของตลาดน้ำอัดลม

“เดิมไม่มีใครทำตลาดนี้ได้ พอ 100 พลัสทำได้ เวลานี้คู่แข่งก็ส่งสินค้าเข้ามาทำแล้ว  มาช่วยกันขยายพอร์ตให้ใหญ่ขึ้น”

อีกตลาดที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ น้ำดื่ม ซึ่งเมื่อนำ คริสตัล และช้าง  สองแบรนด์รวมกันครองส่วนแบ่งตลาด 10%  จะเป็นอีกตลาดทีมีโอกาสขยายฐานลูกค้าได้อีก  

การเดินเกมของธุรกิจปราศากแอลกอฮอล์ จึงต้อง “เข้มข้น”ยิ่งขึ้น  ทั้งการเพิ่มสินค้าในพอร์ตเครื่องดื่มให้ครบ และเดินเกมการตลาด ทั้งมีต้องมีทั้งรุก และรับ เพือขยับสัดสวนรายได้ธุรกิจปราศากแอลกอฮอล์ จากที่ทำได้เวลานี้ 25%  ให้ได้เกิน 50%  ภายในปีอีก 5 ปีข้างหน้า