Au Bon Pain ฉลอง 7 ปีในไทย และ 26 ปีด้วยการปรับโฉมใหม่ทั้งภาพลักษณ์และบริการ
7 ปีที่ผ่านมา Au Bon Pain สร้างการรับรู้และจดจำให้กับผู้บริโภคชาวไทยที่ชื่นชอบเบเกอรี่ จากคาเฟ่คลาสสิกสไตล์ฝรั่งเศสแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
แต่ตอนนี้โลโก้เดิมที่คุ้นตา ตัวอักษรสีดำ บนพื้นขาว พร้อมแถบแดงอยู่ด้านบน กำลังจะถูกทำให้ลบเลือนไป ด้วยตัวอักษรสีฟ้า แบบ Art Deco ปี 1940 บนพื้นสีเหลืองนวลกระจ่างตา เฉกเช่นเดียวกับ Au Bon Pain ที่สหรัฐอเมริกา
การปรับโฉมของ Au Bon Pain มีขึ้นหลังเปลี่ยน CEO คนใหม่ ที่ระดมสำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเป็นการผลักดันยอดขาย
“ข้อมูลที่ได้เยี่ยมๆ มาก นำไปสู่การปรับโฉม Au Bon Pain แบบหัวจรดเท้าเลยทีเดียว” นาดีม ซาเวียร์ ซาลฮานี กรรมการบริหาร บริษัท รอยัล เอบีพี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับลิขสิทธิ์ Au Bon Pain จากสหรัฐอเมริกา
ทีมผู้บริหารจากไทยต้องบินไปเรียนรู้ใหม่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลากว่า 6 สัปดาห์ ก่อนจะกลับมาฝึกอบรมให้กับพนักงานระดับปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
สีเหลืองจากดอกทานตะวัน บ่งบอกถึงความสดใสทำให้ร้านรูปแบบเดิมที่ดูอึมครึม สว่างขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โต๊ะ เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายแบบ S-Shaped เพื่อให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
สีฟ้าแบบ French Blue มาจากสีของดอกอัญชัน ดูแล้วสบายตา เมนูบอร์ดหลากสีแยกตามประเภทของสินค้าและบริการ ทำให้อ่านง่าย สวยงาม ดูดีมีชีวิตชีวา
สีขาวสะอาดตาของชุดพนักงานที่ตั้งใจให้เหมือนชุดพ่อครัว สื่อถึงความใส่ใจในสุขอนามัยและความเชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่อย่างแท้จริง โดยมีนัยสอดรับกับความเป็น healthy food ของ Au Bon Pain เพื่อสอดรับกับกระแสสุขภาพ
ก่อนจะมาลงตัวที่คอนเซ็ปต์ดังกล่าว 5 เดือนที่แล้ว Au Bon Pain ริเริ่มโปรแกรม “Eat Fit” ทำเมนูเพื่อสุขภาพ เช่น ขนมปังไขมันต่ำ พบว่าเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า ล่าสุดเค้กซึ่งใช้น้ำตาลน้อย ก็เป็นอีกหนึ่ง product highlight และด้วยการชูจุดขายเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ ทำให้สาขาในโรงพยาบาลมีอัตราการเติบโตของยอดขายที่ดี
ร้าน Au Bon Pain โฉมใหม่ เริ่มจากสาขาเปิดใหม่อย่างสาขามาลีนนท์ ทาวเวอร์ และเซ็นทรัล ภูเก็ต เฟสติวัล ส่วนที่เหลือจะทยอย renovate SCB Park รัชโยธิน, อาคารเลค รัชดา และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมๆ กับ relocate คือ สาขาสยามดิสคัฟเวอรี่ (relocate ตามนโยบายของสยามพิวรรธน์ที่ปรับรูปแบบร้านค้าบริเวณด้านหน้าสยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามเซ็นเตอร์ให้เป็น life fashion ทั้งหมด)
สาขาเหล่านี้เป็น baking store หรือ mother store มี 10 สาขา อยู่ใน strategic location แต่ละสาขาทำรายได้กว่า 3 ล้านบาท/เดือน เป็นร้านแม่ที่มี back room กว้างขวางสำหรับทำเบเกอรี่สดใหม่ จำหน่ายในร้านและส่งต่อไปยังร้านลูกที่มีพื้นที่และอยู่ใน location ที่ทำรายได้ประมาณ 1-2.5 ล้านบาท/เดือน
Self Service Concept
ห้างสรรพสินค้า “จังซีลอน” หาดป่าตอง ภูเก็ต นอกจากจะเป็นสาขาใหม่ที่มีขนาดใหญ่สุดแล้ว ขนาด 20 x 20 เมตรนี้จะ synergy กับ CD Warehouse ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแล้ว พร้อมทั้งร้านหนังสือด้วย กลเม็ดที่ Au Bon Pain นำมาใช้สำหรับสาขาแห่งนี้คือ การเพิ่มบริการ Self Service ให้ลูกค้าได้เลือกหยิบจับสินค้าด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องยืนต่อคิวเพื่อรอดูหน้าตาของเบเกอรี่ก่อนจะตัดสินใจซื้อ เพื่อตอบสนองลูกค้าไลฟ์ที่ ต้องการความรวดเร็ว และเลือกสินค้าได้ด้วยตัวเอง
ส่วนหมากเด็ดที่ขาดไม่ได้คือ Show Kitchen อบขนมปังโชว์หน้าร้าน นาดีม “กลิ่นอันหอมหวน กรรมวิธีที่ดึงดูดจะเรียกความสนใจให้ผู้คนเข้ามาใช้บริการ”
การทำเช่นนี้ นั่นเป็นเพราะ Au Bon Pain ต้องการวาง positioning ตัวเองเป็น bakery caf? เน้นคุณภาพของขนมปังยุโรปตามชื่อซึ่งมาจากสำนวนฝรั่งเศส อันหมายความว่า “Place of good bread”
“เราเป็น bakery caf? เชี่ยวชาญเรื่องขนมปังเป็นหลัก มีแซนด์วิช สลัด ซุปเป็นกองทัพเสริม แต่กระนั้นเครื่องดื่มก็เป็นสินค้ามาตรฐานชั้นดีเช่นเดียวกับเบเกอรี่และขนมปัง สำหรับขนมปังเรา make fresh ทุกวัน หากเหลือต้องทิ้งเลย”
ปัจจุบัน (ตุลาคม) Au Bon Pain มี 30 สาขา สำหรับแผนการขยายสาขาจะเปิดอย่างน้อยอีก 4 สาขา คือ จังซีลอน ภูเก็ต,โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต, ทองหล่อ และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน งบประมาณไม่ต่ำกว่า 4 ล้านบาทต่อสาขา และอาจเป็นไปได้ที่สาขาสยามสแควร์จะเปิดบริการภายในสิ้นปีนี้เช่นกัน
ตั้งสติให้ดีก่อนก้าวเข้าไปใช้บริการ เพราะ Au Bon Pain เก่าและใหม่ คงให้ความรู้สึกและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Did you know?
แม้จะมีชื่อที่มาจากภาษาฝรั่งเศส แต่ Au Bon Pain กำเนิดที่เมือง Boston สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2521 โดย Louis Kane ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากร้านคาเฟ่แบบฝรั่งเศส ซึ่งอบอวลด้วยกลิ่นหอมของขนมปังและเบเกอรี่ที่อบแบบสดใหม่
ปัจจุบันมี Au Bon Pain กว่า 230 สาขาทั่วโลก Au Bon Pain สาขาแรกในไทยเปิดเมื่อ พ.ศ. 2540 (พร้อมๆ กับ Sao Paulo และ London) ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท รอยัล เอบีพี จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ Dunkin Donuts ในไทยด้วย
ทำไม Au Bon Pain ไม่มีของ premium ?
“เคยมีไอเดียที่จะนำเอาอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับขนมปังมาขายด้วย แต่มันไม่ใช่ concept ของเรา ไม่อยากจะ copy concept ของคนอื่น เราคิดว่า concept ของเราค่อนข้าง strong และก็ happy ดีกับตรงนี้ มีหลายบริษัทในเมืองไทยที่ต้องการสร้างแบรนด์ เริ่มแบบนี้ แต่เดี๋ยวเพิ่มนั่น เดี๋ยวเพิ่มนี่ กลายเป็น 7-eleven เลย เป็น convenience store ทำให้หลุด positioning ของตัวเองไปอย่างน่าเสียดาย” ผู้บริหารหนุ่มชาวเลบานอน ให้มุมมองที่น่าสนใจ”
Website