Trendy style by Swensen’s

ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยบอกว่าอัตราการบริโภคไอศกรีมจะต่ำ ดังนั้น Swensen’s จึงปฏิบัติการกระตุ้นยอดขายด้วยการปรับโฉมใหม่เอาใจคนล้ำสมัย ประเดิมที่สยามสแควร์เป็นสาขาแรก

อย่างไรก็ตาม concept ของแต่ละสาขาจะขึ้นอยู่กับ location เป็นหลักว่าตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่มี lifestyle แบบใด เช่น หากสาขานั้นตั้งอยู่ในบริเวณ resident area ก็จะออกแบบให้เหมาะกับการทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว หากเป็นสาขาที่ใกล้ทะเล เช่น หัวหิน ที่ใช้งบ 6 ล้านบาท ปรับปรุงพร้อมสร้าง aquarium ให้มีกลิ่นไอของทะเล เป็นต้น

โดยงบประมาณเฉลี่ยในการปรับปรุงตามแนวคิดใหม่นี้ อยู่ที่ 2.5-3.5 ล้านบาทขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละสาขา และตั้งเป้าปรับปรุงให้แล้วเสร็จทุกสาขาภายในปีนี้

ปี 2547 ใช้งบการตลาด 5-7% ของยอดขายที่ประมาณการว่าจะได้ 2,000 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนหน้าซึ่งปิดยอดขายที่ 1,000 ล้านบาท

Swensen’s ก่อตั้งขึ้นโดย Earle Swensen ซึ่งต้องการที่จะมีร้านไอศกรีมส่วนตัวจึงได้ทำการเปิดร้านไอศกรีมขึ้นที่ San Francisco ในปี 1948 เปิดให้บริการในเมืองไทยมาเป็นระยะเวลา 18 ปีแล้ว และเพิ่งต่อสัญญารอบใหม่อีก 40 ปี โดย The Minor Food Group เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ดำเนินการในไทยและอีก 14 ประเทศในตะวันออกกลาง

ถึงสิ้นปี 2547 สเวนเซ่นส์ (ไทย) มีสาขาของ Swensen’s มากที่สุดในโลก จำนวน 110 สาขา แบ่งเป็นแฟรนไชส์ 2 สาขา (และเตรียมการขายแฟรนไชส์อีก 10 สาขา)

ปัจจุบันมียอดสมาชิก 1,500,000 คน ขณะที่ปี 2546 มีสมาชิก 100,000 คน ความถี่ในการใช้บริการ 2 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 70 บาทต่อคนต่อครั้ง

Company : บริษัท สเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด
Project : เปิดร้าน Swensen’s สาขาสยามสแควร์ ด้วยภาพลักษณ์ใหม่ ลงทุน 6.5 ล้านบาท
Concept Detail : สไตล์ trendy image โฉบเฉี่ยว ล้ำสมัย ตกแต่งแบบเคาน์เตอร์บาร์ ประหนึ่งไอศกรีมคือบรรดาเครื่องดื่ม cocktail ระบบไฟที่ทันสมัยให้แสงสีอันสดใส บรรยากาศเหมือนอยู่ในผับ พื้นสีขาวเงาเด่นด้วยกระเบื้องนำเข้า
Positioning : ไอศกรีมระดับพรีเมียม ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย รสชาติของไอศกรีมถูกปาก และออกผลิตภัณฑ์ใหม่ทุกเดือน เช่น ไอศกรีมกลิ่นแอลกอฮอล์ รวมทั้งการบริการแบบเป็นกันเอง
Target : หนุ่มสาวยุคใหม่ ที่มี lifestyle ไม่เฉื่อยชา
Competitor : Haagen Dazs, Baskin Robbin, Ete เป็นต้น
Website : www.theminorfoodgroup.com

Did you know?

ข้อมูลจาก Euro International ในปี 2546 อัตราการบริโภคไอศกรีมในประเทศไทยเท่ากับ 0.599 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่สหรัฐอเมริการมีอัตราการบริโภคไอศกรีม 24 ลิตรต่อคนต่อปี สูงเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 คือ ออสเตรเลีย 18 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนญี่ปุ่น 7 ลิตรต่อคนต่อปี และมาเลเซีย 3 ลิตรต่อคนต่อปี

มูลค่าตลาดรวมของไอศกรีมประเทศไทย 9,000 ล้านบาท

ไอศกรีมระดับพรีเมียม 900 ล้านบาท
ไอศกรีมระดับกลาง 7,200 ล้านบาท
ไอศกรีมระดับล่าง 900 ล้านบาท

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

หมายเหตุ ข้อมูลจาก Swensen’s บอกว่า มูลค่าตลาดไอศกรีมรวม 8,000 ล้านบาท และไอศกรีมระดับพรีเมียม มีมูลค่า 1,500 บาท