จากวันแรกที่ UBC ซื้อลิขสิทธิ์รายการ Reality Show ของเม็กซิโกมาทำเป็น Academy Fantasia เพื่อต้องการสร้าง local content ให้กับตัวเอง สามารถสร้างความสำเร็จที่เรียกได้ว่าเกินคาด UBC ในฐานะเจ้าของสัญญาที่ผูกมัดนักล่าฝันทั้ง 12 คนจึงเหมือนมีเพชรในมือ
แต่การที่จะสร้าง value added จากนักล่าฝันให้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้น UBC เองต้องเอาเพชรที่ว่าไปเจียระไน โดยมอบหมายให้ GMM Media เป็นผู้ดำเนินการ แกรมมี่เองก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาโปรโมตหรือฝึกฝนอะไรกันใหม่ เพราะสินค้าอยู่ในสภาพพร้อมใช้ เรียกว่าจับแต่งตัวให้ถูก ก็สามารถวางขายได้เลย
นักล่าฝัน 6 คน จาก 11 คน ได้รับคัดเลือกให้มีอัลบั้มเพลงของตัวเอง และด้วยบุคลิกและลีลาการร้องเพลงได้ผ่านการรับรู้จากผู้ชมมาแล้ว นักล่าฝันทั้ง 6 ย่อมมีตลาดและแฟนคลับเป็นของตัวเอง ความเสี่ยงในการทำตลาดย่อมต่ำกว่าศิลปินหน้าใหม่ซึ่งไม่เคยผ่านตามาก่อน
ในมุมของแกรมมี่ รับหน้าที่เป็นผู้บริหารศิลปิน ได้รับผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจบันเทิงไปอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนผู้สนับสนุนหลัก หรือสปอนเซอร์อย่างเป็นทางการ Orange และ Trueได้ใช้ประโยชน์จากความดังของนักล่าฝันกลุ่มนี้เป็นตัวสร้างเนื้อหา และ value added ให้กับกลุ่ม True Corporation และ Orange
อัลบั้มคอลเลกชั่น V Friends ของนักล่าฝัน 6 หนุ่มสาว ออฟ, จีน, น้ำตาล, วิท, ซีแนม และปอ จึงเปรียบเสมือน value chain ตัวแรกระหว่าง True Orange และ Grammy ที่ถูกใช้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
Value Added ที่ได้จาก Academy Fantasia
GMM : Tape, CD, Show Business, eotoday content
True Corp : UBC, internet Kit, Hispeed internet Content (V Friends Communities)
Orange : Refill Card, Postcard, Mobile Content